LR Classic 7.4 : ระบบ Profile และความเข้าใจพื้นฐาน

เมื่อพูดถึง Profile ใน Lightroom Classic เรามักจะนึกไปถึง Lens Profile แต่หลังจากอัปเดตเวอร์ชั่น 7.3 เป็นต้นไปจะไม่สามารถพูดแบบนั้นได้อีกแล้ว ทำไมน่ะเหรอ? เพราะ Profile ก็คือ Profile แล้วน่ะสิ แล้วมันเป็นยังไงในเวอร์ชั่นใหม่ อยากให้ลองอ่านบทความนี้กันครับ

หลังจาก Adobe ได้ทำการปล่อยอัปเดตที่นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อกันระหว่างระบบพรีเซ็ตเดิมใน Lightroom Classic กับปลั๊กอิน Adobe Camera RAW ใน Photoshop ได้โดยตรงผ่านไฟล์ .XMP ระบบใหม่อีกอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้ต้องเรียนรู้ก็คือในขณะนี้ไฟล์ภาพดิบที่นำเข้ามาในโปรแกรมสามารถใช้งานโปรไฟล์สีในรูปแบบ LUT ได้อีกด้วย ทำให้การทำภาพใน Lightroom Classic เปลี่ยนแปลงไปมากเสียจนเรียกได้ว่าเพิ่มขีดความสามารถด้านลูกเล่นสีได้อีกเยอะเลยทีเดียว

โปรไฟล์เลนส์, โปรไฟล์สีกล้อง, โปรไฟล์ Adobe และ โปรไฟล์สร้างสรรค์

เวลาที่เรานำไฟล์จากกล้องถ่ายภาพดิจิตอลที่ Adobe มีการอัปเดตและรู้จักไฟล์จากกล้องดังกล่าว โหมดสีต่างๆในกล้องนั้นก็จะถูกถอดรูปแบบเข้ามาอยู่เป็นตัวเลือกหนึ่งใน Lightroom Classic ทันที รวมไปถึงข้อมูลของเลนส์ที่ใช้และตัวโปรไฟล์ที่ใช้แก้ไขปัญหาเลนส์นั้นๆด้วย และนอกเหนือไปจากนั้น Adobe ก็ได้เพิ่มส่วนของ Color Profile ที่นอกเหนือจากการแก้ไขและสีเลือกมากตรฐาน เป็นรูปแบบสีที่กำหนดเองจากทาง Adobe โดยที่อาจจะดีกว่าของเดิมที่มีอยู่ของค่ายไฟล์นั้นก็เป็นได้ ก่อนอื่นเราต้องสรุปโปรไฟล์แบบต่างๆออกก่อน ดังนี้

Lightroom Classic CC 7.4

โปรไฟล์เลนส์

โปรไฟล์ที่ใช้แก้ไขข้อผิดพลาดจากเลนส์ที่ใช้บันทึกไฟล์นั้นๆ เช่น อาการคลาดสี หรือ อาการผิดเพี้ยนของทัศนมิติเบื้องต้น Adobe ได้ทำการอัปเดตโปรไฟล์เลนส์เพิ่มขึ้นๆในทุกๆครั้งที่มีการอัปเดตเวอร์ชั่น และก็ยังมีผู้พัฒนาภายนอกช่วยสร้างโปรไฟล์เลนส์เพิ่มเติม กรณีนี้ Adobe ไม่ซัพพอร์ทค่ายกล้องและเลนส์เจ้านั้นด้วย

โปรไฟล์สีกล้อง

โปรไฟล์ที่ทางค่ายผู้ผลิตนั้นมีเอาไว้ให้สำหรับไฟล์กล้องค่ายนั้นที่ Adobe เองก็ทำไว้รองรับด้วย เช่น โหมด Astia, Provia หรือ Velvia ของกล้องจาก FujiFilm โหมดสี Standard, Portrait หรือ Landscape จากกล้องของ Sigma โปรไฟล์ดังกล่าวจะปรากฏเฉพาะค่ายกล้องดังกล่าวเท่านั้น ไม่ปรากฏบนกล้องอื่น

โปรไฟล์สีจาก Adobe

โปรไฟล์สีทางเลือกจาก Adobe ที่คิดว่าน่าจะมีความเป็นไปได้ในการเข้ากันกับไฟล์ภาพดิบของกล้องค่ายนั้น เช่น Adobe Standard, Adobe Color, Adobe Landscape, Adobe Portrait และ Adobe Monochrome ซึ่งโปรไฟล์สีดังกล่าวนั้นในบางครั้งก็ทำงานได้ดีและน่าสนใจกว่าโปรไฟล์จากค่ายกล้องกำหนดให้มาด้วยซ้ำไป

โปรไฟล์สีสร้างสรรค์

โปรไฟล์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของสีหรือรูปแบบสีเอกลักษณ์เดิม สิ่งที่แตกต่างระหว่าง โปรไฟล์ และ พรีเซ็ต คือโปรไฟล์จะไม่มีการใช้งานของสเกลใดๆใน Lightroom Classic เหมือนพรีเซ็ต และยังมีสเกล Amount ที่ใช้ลดระดับความแรงของเอฟเฟกโปรไฟล์ คล้ายๆกับฟิลเตอร์ที่ใช้บนแอปพลิเคชั่นมือถือเลยทีเดียว

นี่จึงเป็นความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบโปรไฟล์ที่มีใน Lightroom Classic ตั้งแต่เวอร์ชั่น 7.3 เป็นต้นไป ผู้สอนเชื่อว่าระบบโปรไฟล์ดังกล่าวจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขีดจำกัดการเล่นกับสีและน้ำหนักภาพใน Lightroom Classic ได้อีกมากเลยครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

การใช้งาน Masking Tools ฉบับสมบูรณ์

บทความสอนการใช้งานเครื่องมือกลุ่ม Masking Tools ทุกตัวอย่างละเอียดในแบบของ DozzDIY ที่กระชับและเข้าใจง่ายและครอบคลุมการเลือกพื้นที่ทุกรูปแบบ

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า