LR Classic : เทคนิคการแกะพรีเซ็ตไว้ใช้เอง

กลัวเหมือนกันว่าบทความนี้จะเป็นการฆ่า DozzDIY หรือไม่ เพราะเราเองก็ทำพรีเซ็ตขายอยู่แล้ว คิดไปคิดมาก็ตัดสินใจเขียนจนได้ เพราะถึงยังไงคนส่วนมากที่ทักษะ Lightroom ระดับงูๆปลาๆก็อ่านไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว (555) เว้นเสียแต่ว่าจะมีคนจำนวนหนึ่งที่เข้าใจหลักการขั้นพื้นฐานต่างๆและมีประสบการณ์ในระดับหนึ่ง นี่จะเป็นทริกที่มีค่าสำหรับการสร้างพรีเซ็ตขั้นเทียบเคียงเลยทีเดียว

คำแนะนำก่อนอ่านบทความ : เนื้อหานี้อยู่ในหลักสูตร LR Classic : Master Class

เป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเนื้อหาระดับนี้คงไม่ปรากฏอยู่ในหลักสูตร Lightroom Classic CC ตัวพื้นฐานของ DozzDIY หรอก เพราะไม่อย่างนั้นคงต้องมีคนธาตุไฟแตกแล้วจะพาลว่าสอนไม่รู้เรื่องเปล่าๆ หลักสูตรในระดับ Master Class จะเป็นการประยุกต์ความรู้ขั้นพื้นฐานเข้ากับศาสตร์ความรู้ในด้านอื่นๆ เช่น เรียนคณิตศาสตร์แล้วไปเป็นวิศวกร ไม่ใช่นักคณิตศาสตร์ (เราจึงเรียกมันว่าสายประยุกต์ไงล่ะ) ถ้าสนใจเรียนก็ <คลิกที่นี่>

เตรียมภาพที่คล้ายคลึงภาพที่อยากทำ

ข้อดีของการเตรียมภาพที่มีความคล้ายกันในด้านน้ำหนักของภาพที่อยากทำนั้นจะช่วยให้การดึงสเกลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแสงเป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ดีข้อหนึ่งในการทำสเกลพรีเซ็ตที่มีความยืดหยุ่นสูงขึ้นมา ไม่เช่นนั้นสเกลของพรีเซ็ตที่ออกแบบขึ้นมาทั้งหมดจะใช้กับภาพได้ค่อนข้างน้อย และต้องมาปรับค่าการรับแสงกันในทุกๆครั้ง

ภาพจาก https://filtergrade.com/product/maddy-welk-lightroom-presets/

สิ่งที่ดีที่สุดควรถ่ายภาพมาให้มีคอนทราสต์ที่ต่ำ หมายถึงแสงที่แบนและนุ่มนวลเป็นหลัก พิจารณาได้จากกราฟฮิสโตแกรมควรเป็นภูเขาสูงอยู่ภายในของเขตกราฟ อย่าเตรียมภาพที่มีคอนทราสต์แรงอยู่แล้วมาทำ เพราะการตกแต่งภาพนั้นความหมายมากกว่าครึ่งคือการดึงข้อมูลไฟล์ให้ยืดหยุ่นน้อยลง

ภาพที่จะนำมาทำสีตามนั้นรายละเอียดต้องครบและแสงนุ่มเอาไว้ก่อน

สังเคราะห์ให้ออกว่าสิ่งที่มีในภาพ เกินกำลังของ Lightroom หรือไม่

มีคนจำนวนมากดูไม่ออกว่าสิ่งที่มีในภาพไม่ได้เกิดขึ้นจาก Lightroom เช่น แฟลร์ลักษณะแปลกๆ หรือสิ่งแปลกปลอมพิเศษที่ต้องใช้การแก้ไขภาพจากเครื่องมือที่ละเอียดกว่าอย่างเช่นโปรแกรม Photoshop จงจำไว้สิ่งที่ Lightroom ทำได้ดีคือการพลิกแพลงสีและน้ำหนักภาพเป็นหลัก

มีสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ใน Lightroom เกิดขึ้นในภาพเต็มไปหมด
Cr : https://www.instagram.com/nick_asphodel/

ดังนั้นการออกแบบสเกลจึงต้องตัดในส่วนที่ทำไม่ได้ทิ้งออกไปให้หมดก่อน ซึ่งการจะรู้ว่าสิ่งใดที่ Lightroom ทำได้หรือไม่ได้ก็คือประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมมานานพอสมควรแล้วนั่นเองครับ

เริ่มต้นที่เส้นเคิร์ฟ

การออกแบบพรีเซ็ตใดๆก็ตาม การเริ่มต้นด้วยการจำกัดวงน้ำหนักภาพด้วยเส้นเคิร์ฟกำหนดขาวดำ (RGB Curve) ขึ้นมาก่อนเป็นสิ่งที่ควรทำมากที่สุด ซึ่งตรงนี้เองผู้สร้างจะได้ใช้ทักษะเรื่องน้ำหนักภาพจากฮิสโตแกรมในการควบคุมให้เป็นไปตามภาพที่อยากทำตาม

ภาพเทียบ ที่มา : https://filtergrade.com/product/nathan-jesko-lightroom-presets/

ข้อดีของการใช้ RGB Curve กำหนดน้ำหนักภาพ จะทำให้เราหลีกเลี่ยงการใช้ 5 สเกลในการกำหนดลักษณะแสงในภาพได้ นั่นคือ Exposure, Hightlights, Whites, Shadows และ Blacks นั่นเอง ซึ่งพรีเซ็ตที่ถูกสร้างโดยการปล่อยสเกลเอาไว้อย่างนั้นจะช่วยให้การใช้งานมีความยืดหยุ่นในแต่ละภาพอย่างมากเลยทีเดียว

นี่คือแนวทางในการดำเนินชีวิต สำหรับคนอยากทำน้ำหนักภาพแบบนี้ อิอิ

การกำหนดเส้นเคิร์ฟระดับแชนเนลสี

ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของเส้นเคิร์ฟในแต่ละแชนแนลต่างๆด้วย มันจะยากตรงที่เราต้องนึกถึงสีสองสีไปพร้อมๆกับการปรากฏขึ้นในภาพด้วยเส้นเคิร์ฟเพียงเส้นเดียว ยกตัวอย่างเช่นแชนเนลแดง จะควบคุมสีแดงและสีฟ้าไปตามโทนภาพ ถ้าเราปักหมุดยึดไว้ตรงกลางแล้วดึงเส้นจากจุดกลางไปซ้ายล่างลงมา จุดกลางไปยังจุดขวาบนจะโค้งขึ้นเพื่อรักษาสมดุลของน้ำหนักแทน ทำให้เราได้สีของส่วนสว่างจนถึงสีกลางเป็นสีแดง และสีส่วนมืดจนถึงสีกลางเป็นสีฟ้า

การผสมสีตามช่วงน้ำหนักจาก RGB Curve โดยตรง

นอกจากนี้แล้วความยากในระดับที่ 2 คือการผสมกันของขั้นลำดับสีทุติยภูมิ ตรงนี้ต้องอาศัยความรู้เรื่องของทฤษฎีสีประกอบขึ้นมา

วรรณะของสีที่นำไปสู่การกำหนดดุลยภาพของภาพถ่าย

ในหลักสูตร ‘ทฤษฎีสีในการถ่ายภาพดิจิตอล’ ของ DozzDIY เราได้พูดกันถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ใน สีสัน (Hue) ซึ่งเป็นหนึ่งมิติของสี ก็คือ ‘วรรณะของสี’ (Color Temperature) การที่ภาพจะดูไม่โอนเอียงไปยังสิ่งหนึ่งสิ่งใด และดูได้นานมากขึ้น ก็คือการใช้ความร้อนความเย็นในภาพได้อย่างกลมกลืน เช่น ส่วนของสีร้อนจะปรากฏอยู่ในสีส่วนสว่าง และส่วนของสีเย็นจะปรากฏอยู่ในส่วนสีมืดโดยธรรมชาติของภาพถ่ายที่ใช้สีได้ตรงตามหลักการเสมอ (มีหลายกรณีที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเหล่านี้) วิธีการนี้เป้นหลักในการออกแบบที่รองรับกับการทำงานของเส้นเคิร์ฟได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

คู่สีตรงข้ามไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปสีที่ตรงกันเป๊ะเกินก็ได้ เช่น เหลืองกับม่วง,​ ส้มกับน้ำเงิน, เขียวกับแดง และอื่นๆ
แต่ขอให้มีเฉดในระดับที่ตรงกันข้ามของความร้อนเย็นก็น่าสนใจแล้ว (ภาพแรกต้นฉบับ)

เครื่องมือที่สามารถพลิกปรากฏการณ์วรรณะสีของภาพได้ง่ายดายที่สุดคือ White Balance และ Split Toning แต่ก็ต้องระวังด้วยว่าความยืดหยุ่นของพรีเซ็ตที่สร้างจะลดลง

HSL และ Camera Calibration คือตัวกำหนดขั้นละเอียด

ถ้าเครื่องมือเส้นเคิร์ฟ คือสิ่งที่เรียกว่า ‘สเกลหลัก’ (Major Scales) ‘สเกลรอง’ คือการแก้ไขสีในส่วนต่างๆที่เป็นส่วนเล็กส่วนน้อยในภาพ อย่างมิติของสีสันสามมิติที่เราควบคุมได้เองไม่ว่าจะเป็น Hue, Saturation และ Luminance มีข้อพึงระวังนิดหน่อยเกี่ยวกับสเกลเหล่านี้ก็คือการซ้อนทับของความเข้มสีที่อาจเกิดขึ้นได้ จนกลายเป็นพรีเซ็ตคุณภาพต่ำไปอย่างเสียไม่ได้ ให้พิจารณาจากฮิสโตแกรมไปพร้อมๆกันด้วย

มีติของสีและเครื่องมือในการจูนที่ต้องระวังสีซ้อนทับให้ดี

ตัวอย่างการแกะพรีเซ็ตจากหลักการที่กล่าวมา

ตัวอย่างนี้เริ่มต้นโดยการเลือกเอาภาพที่อยากทำขึ้นมา 1 ภาพ แล้วทำตามลำดับที่ได้อธิบายไป ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นจากเส้นเคิร์ฟ ไล่ไปจนสเกลระดับรองในที่สุด เราไม่มีทางรู้อย่างแน่ชัดว่าเขาใช้สเกลอะไรบ้างแต่สามารถทำตามได้อย่างเทียบเคียงเลยทีเดียว และยังมีสเกลเหลือเอาไว้ทำต่อได้อีกด้วย

นี่คือตัวอย่างจากพรีเซ็ตที่เรากำลังจะทำตาม
ที่มา : https://www.shoptezza.com/pages/before-after

การพรีเซ็ตแบบเทียบจากภาพต้นฉบับ

การมีความเข้าใจในศาสตร์อย่างรอบด้านไม่ว่าจะเป็นการทำงานส่วนต่างๆของสเกล หรือ ความสัมพันธ์ของสี ช่วยให้ปัญหาในระดับที่ลึกลงไปอย่างการทำพรีเซ็ตมีคุณภาพมากกว่าพรีเซ็ตที่ทำแจกกันทั่วไปอย่างเทียบไม่ติด ผู้เรียนจะรู้ได้เองว่าพรีเซ็ตไหนดีและไม่ดี เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการลดระยะเวลาการทำงานลงอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า