Lightroom Classic : พรีเซ็ตสำหรับภาพถ่ายบุคคลควรเป็นอย่างไร

พรีเซ็ตที่เกิดจากการออกแบบเป็นอย่างดีกับพรีเซ็ตที่เราอาจคิดเอาเองว่าสามารถใช้ได้ดีกับภาพถ่ายบุคคลนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้คือความหมายที่เข้มข้นเพื่อแสดงว่าทุกขั้นตอนที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้มีมาเพราะการคาดเดา เราจะได้รู้กันว่าในภาพถ่ายบุคคลนั้นปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ใช้พรีเซ็ตได้ดีหรือไม่ดีบ้าง

แนวของภาพถ่าย มีอยู่ด้วยกันสองรูปแบบ

1. ภาพถ่ายแบบสมจริง (Realism) : การปรุงแต่งภาพถ่ายที่หมายความควบรวมทั้งระบบเพื่อความสมจริงและเป็น ธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นการตกแต่งภาพถ่ายโดยยึดหลักความสมจริงสมจังของภาพจะมีข้อจำกัดหลายๆประการเพื่อความเป็นธรรมชาติ

2. ภาพถ่ายแบบเหนือจริง (Surrealism) : สำหรับภาพถ่ายในลักษณะดังกล่าวจะค่อนข้างหลุดออกไปจากกรอบของธรรมชาติ กล่างคือมีความไร้ขีดจำกัดทางความคิดและผสานเอาจินตนาการใหม่ๆเข้าไปประกอบ เช่น ความผิดสัดส่วนของร่างกายมนุษย์ หรือ การตกแต่งที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง

ภาพถ่ายสมจริง

ภาพถ่ายเหนือจริง

การตกแต่งภาพถ่ายในปัจจุบันนี้ มีพรีเซ็ตจำนวนมากที่สร้างขึ้นโดยอาศัยความรู้สึกเป็นตัวตัดสินเพียงอย่างเดียว ทำให้มีปัญหาเกิดขึ้นภายหลังหลายประการ ซึ่งจะขอกล่าวโดยสังเขป ดังนี้

  1. ไม่สามารถใช้กับภาพที่มีความแตกต่างแสงเพียงเล็กน้อยได้

  2. ไม่สามารถใช้กับภาพที่แตกต่างเพียงสมดุลแสงขาวเพียงเล็กน้อยได้

  3. ไม่สามารถใช้กับภาพที่บันทึกรายละเอียดด้วยค่ากลาง (กลุ่มแสงในโซนเทากลาง) ซึ่งเป็นค่าปกติของภาพทั่วไปในสภาวะแสงนุ่มได้

  4. ไม่มีความชัดเจนในปริมาณสเกลที่เกิดขึ้นด้วยความสัมพันธ์ทางจุดล้นของสีได้

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อผิดพลาดเบื้องต้นสำหรับพรีเซ็ตที่พบเห็นได้โดยทั่วไป

พรีเซ็ตที่บังคับใช้ทุกสเกลเช่นนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นพรีเซ็ตที่มีความเฉพาะตัว
สามารถใช้ได้แคบๆและจะให้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีกับภาพนอกเงื่อนไขโดยส่วนใหญ่

พรีเซ็ตสำหรับภาพถ่ายบุคคลที่สร้างขึ้นด้วยหลักการแบบภาพถ่ายสมจริง

การออกแบบพรีเซ็ตสำหรับภาพบุคคลมีข้อจำกัดในเรื่องของสีสันในบางสี กล่าวคือกลุ่มสีร้อนซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ประกอบกันเป็นสีผิวของมนุษย์ อันได้แก่ อันได้แก่ สีม่วงแดง, สีแดง,​ สีส้ม, สีเหลือง และสีข้างเคียง การใช้แล้วสีผิวจะต้องไม่มีความเปลี่ยนแปลงไปมากจนผิดแผกไปจากความเป็นมนุษย์

การออกแบบพรีเซ็ตมีแนวทางดังนี้

  1. ไม่มีการใช้สเกลสมดุลแสงขาว

  2. ไม่มีการใช้การปรับคม

  3. ไม่มีการใช้สเกลลดคลื่นสัญญาณรบกวน

  4. มีการบังคับสีในทิศทางของผิวได้อย่างมีทิศทาง

สเกลหลักและสเกลรองถูกใช้หรือปล่อยไว้ก็เพื่อรองรับภาพจากกล้องอื่นด้วย

ตัวอย่างการจำแนกสีที่ใช้กับภาพบุคคลจากกล้องฟิล์ม

ค่ายที่ผลิตฟิล์มสำหรับกล้องฟิล์มรู้ได้อย่างไรว่าฟิล์มตัวไหนใช้กับภาพอะไร ถ้าไม่ใช้สีเป็นตัวกำหนดดังที่กล่าวมา เนื้อหาทั้งหมดนี้จึงเป็นข้อสรุปในการออกแบบพรีเซ็ตไปด้วย ตัวอย่างที่นำมาเสนอให้เห็นนี้ จึงเป็นพรีเซ็ตที่ถอดแบบออกมาจากภาพของกล้องฟิล์มให้ได้พิจารณาอย่างมากมายในซีรี่ย์ฟิล์มกับภาพบุคคล ไม่ว่าจะเป็นซีรี่ย์ Portra ของ Kodak, ซีรี่ย์​ Pro จาก FujiColor และซีรี่ย์ ​Optima จาก AgfaColor ล้วนแล้วเป็นสีที่ใช้กับภาพถ่ายบุคคลได้อย่างยอดเยี่ยมในหลายสภาวะตามที่ระบุไว้

พรีเซ็ตฟิล์มเกรดพรีเมียมจาก DozzDIY
สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าตรวจสอบอัปเดตพรีเซ็ตที่รองรับทั้ง Lightroom Classic CC และ Photoshop CC ทั้งเวอร์ชั่นเก่าและใหม่ได้ทางร้านค้าของเพจทางการ DozzDIY เชิญที่ >> https://facebook.com/pg/dozzdiy/shop/

การตกแต่งภาพถ่ายบุคคลไม่ว่าจะเป็นการส่งงานให้กับลูกค้าหรือเอาไว้ดูเอง ความเป็นธรรมชาติและสีเอกลักษณ์คือแนวทางที่สวยงามและปลอดภัยมากที่สุด เพราะสีที่ใช้จะไม่มีการแหวกขีดจำกัดออกไปมาก และยังคงให้ความสบายตาในการรับชมมากกว่าการทำสีแบบฉุดจากหรือการแต่งแบบเหนือจริง หากไม่สามารถควบคุมทุกอย่างได้อย่างชำนาญ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

การใช้งาน Masking Tools ฉบับสมบูรณ์

บทความสอนการใช้งานเครื่องมือกลุ่ม Masking Tools ทุกตัวอย่างละเอียดในแบบของ DozzDIY ที่กระชับและเข้าใจง่ายและครอบคลุมการเลือกพื้นที่ทุกรูปแบบ

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า