Lightroom CC : 6 วิธีในการกู้คืนรายละเอียดภาพ

เวลาที่ถ่ายภาพมาแล้วรายละเอียดในส่วนมืดมองไม่ค่อยเห็น เรามักจะนึกถึงสเกล Shadows เป็นลำดับแรก แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นมีวิธีการอีกมากมายในการกู้รายละเอียดภาพให้กลับมาได้ โดยที่ใน DozzDIY Live Show วันที่ 16 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมาก็ได้อธิบายไปพอสังเขป และเนื้อหาในบทความนี้คือภาคขยายของเทคนิคดังกล่าวครับ

“ฮิสโตแกรมของภาพถ่าย” สิ่งจำเป็นในการพิจารณารายละเอียด

ฮิสโตแกรมของภาพถ่าย (Image Histogram) มีไว้เพื่อแสดงปริมาณข้อมูลของพิกเซลสีในช่วงค่าแสงต่างๆไล่จากส่วนที่มืดที่สุด (ด้านซ้ายสุด) ไปยังส่วนที่สว่างที่สุดของภาพ (ด้านขวาสุด) โดยที่ใน Lightroom CC มีการแบ่งส่วนต่างๆโดยกำหนดชื่อเรียกในแต่ละโซนออกเป็น 5 ช่วงโซน ได้แก่ Blacks (สีส่วนมืดดำ), Shadows (สีส่วนเงา), Exposure (สีส่วนกลางและค่าการรับแสง), Highlights (สีส่วนสว่าง) และ Whites (สีส่วนขาวจ้า)

หากข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏในกราฟนี้เป็นความสามารถของเซ็นเซอร์ที่บันทึกภาพได้ในขณะนั้น ข้อมูลพิกเซลที่หลุดออกไป (Clipping) ไม่ว่าจะซ้ายหรือขวาก็ดี เราจะถือว่าเป็นสิ่งที่นอกเหนือความสามารถเบื้องต้น ซึ่งต้องใช้วิธีการกู้ข้อมูลส่วนดังกล่าวด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพถ่าย และเนื้อหาต่อไปนี้จะแสดงวิธีที่ผู้สอนใช้บ่อยๆในการพิจารณาการกู้รายละเอียดของภาพกลับมาด้วย Adobe Photoshop Lightroom CC ครับ

วิธีที่ 1 : สมดุลแสงขาว (White Balance)

สมดุลแสงขาวมีผลอย่างมากกับสีตั้งต้นที่มีในภาพ เช่น ท้องฟ้าที่มีสีฟ้าเข้มหรือในวันแดดแรง การเลื่อนสเกลที่มากเกินไปย่อมไม่ส่งผลดีต่อรายละเอียดที่ปรากฏดังภาพตัวอย่าง สีแดงบริเวณท้องฟ้านั้นมีไว้เพื่อแจ้งเตือนการหลุดของรายละเอียดจนเป็นสีขาวจ้า (ข้อมูลทางด้านขวาของฮิสโตแกรมหลุดออกไปจำนวนมาก) วิธีแก้ไขเบื้องต้นต้องเพิ่มอุณหภูมิสีให้อุ่นมากกว่านี้เพื่อทำให้เมฆบนท้องฟ้ากลับมา

อย่างไรก็ตามการแก้ไขสมดุลแสงขาวกับภาพภูมิทัศน์ให้ผลลัพธ์แบบกลางๆ ควรคำนึงถึงความแตกต่างของพื้นที่ในโซนภาพเพื่อแยกทำงานในระดับที่ละเอียดกว่านี้สำหรับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลสีน้ำเงินและสีฟ้าหลุดออกทางขวา

วิธีที่ 2 : ค่าการรับแสงโดยรวม (Exposure)

Adobe Lightroom มีสเกล Exposure เพื่อใช้ควบคุมสีส่วนกลางภาพ ในปัจจุบันสเกลดังกล่าวมีความชาญฉลาดมากขึ้นในการเพิ่มลดความสว่างของเม็ดพิกเซลในแต่ละโซนโดยคำนึงถึงความเหมาะสมทำให้เกิดความนุ่มนวลของโทนภาพเมื่อใช้ สเกลนี้ค่อนข้างง่ายดายในการเพิ่มลดความสว่างให้กับภาพ และเป็นตัวทดสอบความยืดหยุ่นของไฟล์ RAW จากกล้องดิจิตอลในการไล่โทนได้เป็นอย่างดี

ปรับค่า Exposure เป็นลบมากๆ

ปรับ Exposure เป็นบวกมากๆ

เมื่อปรับแก้ไขให้ถูกต้องกับสเกลอื่น

วิธีที่ 3 : คู่สเกลสีส่วนสว่างกับสีส่วนเงา (Highlights & Shadows)

Highlights & Shadows ถือเป็นสเกลคู่แบบ HDR ปลอมๆเลยก็ว่าได้ เพราะเพียงแค่ใช้งานสองสเกลที่ว่ามานี้เราจะได้ภาพที่มีรายละเอียดสูงขึ้นทันที เริ่มจากกำหนดให้ Highlights เป็นลบมากที่สุดเท่าที่จะได้รายละเอียดในส่วนสว่างกลับมามากที่สุดและเพิ่มปริมาณสเกล Shadows สวนไปให้มากที่สุดเช่นกัน ภาพที่ได้จะดูแปลกตาเพราะปริมาณรายละเอียดที่เพิ่มขึ้นจากการทำงานควบสองสเกล

เริ่มจากภาพที่มีความเปรียบต่างสูงของแสง

กู้รายละเอียดมากเกินนั้นก็ไม่ดี หาจุดที่เหมาะสมให้ดีนะครับ

วิธีที่ 4 : คู่สเกลสีส่วนมืดดำกับสีส่วนขาวจ้า (Blacks & Whites)

สเกล Blacks และ Whites นิยมใช้กู้ข้อมูลรายละเอียดภาพที่หลุดในโซนเล็กๆแต่มีความรุนแรงของความขาวและดำมากๆ ข้อเสียของสเกลสองสเกลนี้คงเป็นปริมาณข้อมูลที่กู้กลับมาได้น้อยกว่า Highlights และ Shadows แต่เมื่อใช้ประสานกันได้อย่างเหมาะสมแล้วจะช่วยให้เกิดความกลมกลืนของลำดับโซนภาพได้เป็นอย่างดี

รังสีดวงอาทิตย์ที่แรงจนเกิดการแผ่ออกมารอบๆ ต้องแก้ด้วยสเกลลดส่วนสว่าง

เมื่อลดสเกล Whites ลง สีส่วนสว่างจ้าดูดรอปลงชัดเจน

วิธีที่ 5 : ความเปรียบต่างสมมาตรและเส้นเคิร์ฟ (Contrast & Tone Curve)

สเกล Contrast นั้นเหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานเบื้องต้นที่ต้องการลดความเปรียบต่างโดยรวมของโซนภาพ สเกลตัวนี้ทำงานเท่าๆกันทั้งในส่วนที่สว่างสุดให้มืดลงและมืดสุดให้สว่างขึ้นโดยไม่มีทางเลือกอื่น เมื่อไรที่ต้องการอิสระมากกว่านี้จึงจำเป็นต้องใช้ Tone Curve เพราะเราเลือกกำหนดจุดใดให้มีความสว่างหรือมืดได้ โดยที่เส้นเคิร์ฟจะรักษาสมดุลโทนภาพเอาไว้อย่างพอดี

Contrast เป็นลบ ส่งผลทั้งภาพ

Contrast เป็นบวกก็ส่งผลทั้งภาพ

เส้นเคิร์ฟรักษาโซนภาพเอาไว้ได้ดีกว่าสเกล Contrast

วิธีที่ 6 : มิติของสีสันในภาพ (Vibrance – Saturation – HSL)

สีหนึ่งสีมีทั้งมิติของสีสัน (Hue), ความสว่าง (Luminance) และความอิ่มตัว (Saturation) ใน Lightroom CC ให้ทำการปรับแต่ง ทั้งหมดนี้นั้นยังขึ้นอยู่กับการกำหนดกรอบของสีที่ไม่เท่ากันในแต่ละสเปซสี เริ่มจากความเข้าใจง่ายๆอย่างสีส้มที่เกิดจากสีเหลืองและสีแดง การที่เราไปเร่งทั้งสามสีพร้อมๆกันนั้นสีส้มจะเกิดการล้นขึ้นก่อนเป็นแรก (เพราะการเพิ่มของสีแดงและเหลืองทำให้สีส้มเพิ่มขึ้นด้วย)

สเกล HSL คือความอิสระที่อาจควบคุมได้ยากสักเล็กน้อยถ้าไม่เข้าใจมากพอ ในขณะที่การเลื่อนสเกล Vibrance นั้นง่ายกว่าเพราะมีการตรวจสอบการล้นของสี ส่วน Saturation เป็นการเพิ่มความเข้มดื้อๆให้กับภาพโดยไม่คำนึงถึงอะไรเลย การลดสเกลดังกล่าวนี้จึงทำให้ได้รายละเอียดกลับมานั่นเอง

Hue กำหนดสีสัน

Saturation กำหนดความอิ่มตัว

Luminance กำหนดความสว่าง

Vibrance เป็นทางเลือกที่ดีกว่า Saturationในหลายกรณี
(เครดิตภาพที่มา จาก Ron Chartcharat)

นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆที่ช่วยให้เก็บกู้รายละเอียดได้มากขึ้น เช่น การเพิ่มช่วงกว้างของแสงด้วยการรวมภาพ หรือที่รู้จักกันในชื่อ HDR (High-Dynamic-Range Image) หรือวิธีการแก้ไขส่วนสว่างภาพตามพื้นที่ (Luminosity Mask) เทคนิคอื่นๆนั้นจะได้พูดต่อไปในโอกาสหน้าครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า