Lightroom CC : แก้ไขสมดุลแสงขาวด้วย Split Toning

การใช้ Split Toning แก้ไขปัญหาสมดุลแสงขาวนั้นจำเป็นที่จะต้องมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฮิสโตแกรมของภาพถ่ายเสียก่อน จึงจะสามารถแก้ไขหรือสร้างอารมณ์ภาพด้วยวิธีการดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามเพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจสำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานผู้สอนก็ได้อธิบายรายละเอียดปลีกย่อยลงในเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของบทความนี้เอาไว้แล้ว

ปัญหาของสมดุลสีขาวจากกล้องที่ไม่สามารถแก้ไขภาพให้ถูกต้องได้ 100%

ถ้าคุณกำลังอยู่ในคอนเสิร์ตที่มีจากแสงไฟโฉบไปมา จนทำให้สีสันต่างๆที่ควบจะเป็นถูกเคลือบด้วยสีเหล่านั้น หรือการอยู่ในสภาวะของสมดุลแสงขาวที่มากกว่า 1 ก็คงเป็นเรื่องลำบากที่จะทำให้เกิดความถูกต้อง 100% ของภาพได้ เพราะว่าสมดุลแสงขาวของกล้องมีเพียงหนึ่งเดียว วิธีที่เราใช้กันในปัจจุบันจึงเป็นการกำหนดสมดุลแสงขาวในสิ่งที่สนใจให้ถูกต้องเท่านั้น ไม่สามารถกำหนดให้ทุกส่วนถูกต้องได้เลยจากหลังกล้อง

เราทำให้แสงขาวถูกต้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น

ตัวอย่างเช่นแสงด้านนอกกับในที่ไม่ใช่อุณหภูมิเดียวกัน

ปัญหาของสมดุลสีขาวจากกล้องที่ไม่สามารถแก้ไขภาพให้ถูกต้องได้ 100%

ถ้าคุณกำลังอยู่ในคอนเสิร์ตที่มีจากแสงไฟโฉบไปมา จนทำให้สีสันต่างๆที่ควบจะเป็นถูกเคลือบด้วยสีเหล่านั้น หรือการอยู่ในสภาวะของสมดุลแสงขาวที่มากกว่า 1 ก็คงเป็นเรื่องลำบากที่จะทำให้เกิดความถูกต้อง 100% ของภาพได้ เพราะว่าสมดุลแสงขาวของกล้องมีเพียงหนึ่งเดียว วิธีที่เราใช้กันในปัจจุบันจึงเป็นการกำหนดสมดุลแสงขาวในสิ่งที่สนใจให้ถูกต้องเท่านั้น ไม่สามารถกำหนดให้ทุกส่วนถูกต้องได้เลยจากหลังกล้อง

ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับ Split Toning จากหลักสูตรพื้นฐาน

ผู้เรียนในคลาสคงทราบดีแล้วว่า Split Toning ใน Lightroom CC จากหลักสูตร Lightroom CC Reverse-Learning Course ของ DozzDIY กล่าวว่า พาเนลจะยุ่งเกี่ยวอยู่กับข้อมูลสีส่วนสว่าง (Highlights) และ สีส่วนเงา (Shadows) ยกตัวอย่างเช่นการทำภาพเซเปียให้กับภาพนั้นจะต้องลดความเข้มสี (Saturation) ของสีในทุกๆเฉดให้เหลือ 0 แล้วกำหนดค่า Split Toning ให้เป็นสีน้ำตาลในทั้งสองโซน

ภาพปกติ

ดูดสีออกจนหมด

ย้อมสีแบบเซเปีย

การนำมาพลิกแพลงเพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์โทนภาพในสมดุลแสงขาว

หลักการของแสงในสมดุลแสงขาวเราจะทำงานอยู่กับแกนตรงกันข้ามสองแกน ซ้าย-ขวา-บน-ล่าง นั่นคือ แกนอุณหภูมิ น้ำเงิน-เหลือง และแกนของสี คือ เขียว-ม่วงแดง ดังกล่าวนี้คือแกนที่ตรงกันข้าม ถ้าในภาพมีลักษณะอมเขียวมากเกินไปก็ให้เพิ่มค่าสีสมดุลแสงไปทางม่วงแดง หรือถ้าภาพอุ่นมากเกินไปก็ให้เพิ่มแกนอุณหภูมิไปทางสีเหลือง เป็นต้น

ตัวอย่างสีในระบบที่ตรงกันข้ามสามารถใช้อธิบายสมดุลแสงขาวได้

ตัวอย่างการแก้ปัญหา

จากภาพ สังเกตว่าสีผิวของคนจะเป็นกลุ่มสีที่อยู่ในข้อมูลส่วนสว่างซึ่งพิจารณาจากฮิสโตแกรมก็พบว่าสีน้ำเงินค่อนข้างเหลื่อมไปทางด้านขวา ถ้าจะชดเชยต้องใช้สีเหลืองเพิ่มเข้าไปในส่วนของ Highlights ก็จะช่วยให้สีสันส่วนสว่างมีความรุนแรงขึ้นได้ นี่จึงเป็นตัวอย่างเบื้องต้นที่ Split Toning เองก็สามารถถูกนำมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาสถานการณ์แบบพลิกแพลงได้

ก่อนและแก้ไขปัญหาเบื้องต้น

จะมัวนั่งเรียนเนื้อหาโดดไปมาอยู่ทำไม?

หลักสูตรคุณภาพเรียนจากเว็บไซต์และคลิปวิดีโอ Adobe Lightroom CC จาก DozzDIY
เรามีการจัดสารบัญเนื้อไว้ให้อย่างชัดเจนเป็นขั้นตอน ได้ผลลัพธ์จริง
กรุณาติดต่อทางเพจ facebook.com/dozzdiy หรือทาง LineID : @DozzDIY
โทรศัพท์ : 08-8753-5742, 08-7730-0981 และ 08-0782-4423 ตั้งแต่เวลา 6:00 – 22:00 น ทุกวันไม่มีวันหยุด

Lightroom CC : Reverse-Learning Course
(รายปี 1,690 บาท)
ดูเนื้อหา | เข้าเรียน
เรียนรู้ Lightroom ขั้นพื้นฐานด้วยกระบวนการย้อนกลับ

Lightroom CC : Master Class Workshop
(รายปี 2,990 บาท)
ดูเนื้อหา | เข้าเรียน
หลักสูตร Lightroom CC ภาคต่อเนื่องและหลักสูตรประยุกต์

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

การใช้งาน Masking Tools ฉบับสมบูรณ์

บทความสอนการใช้งานเครื่องมือกลุ่ม Masking Tools ทุกตัวอย่างละเอียดในแบบของ DozzDIY ที่กระชับและเข้าใจง่ายและครอบคลุมการเลือกพื้นที่ทุกรูปแบบ

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า