Lightroom CC : ภาพขาวดำที่อ้างอิงกฏของแอนเซลอดัมส์

ทุกวันนี้ยังคงมีคนอ้างอิงกฏ Zone System ในการทำภาพถ่ายขาวดำที่ทรงพลัง แต่ว่ายังมีคนอีกจำนวนมากไม่เข้าใจว่าเมื่อรู้แล้วว่าแต่ละโซนคืออะไร แต่จะนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำภาพยุคดิจิตอลได้อย่างไร วันนี้ DozzDIY ขอนำเสนอหลักคิดในการทำภาพและตัวอย่างง่ายๆในการกำหนดโซนขาวดำครับ

ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ Zone System

ถ้าหากทุกคนลองเลือก ตั้งค่าโหมดวัดแสงของตัวกล้องเป็นแบบจุด แล้วใช้ จุดๆนั้นจิ้มไปยังบริเวณใดในภาพก็ตาม กล้องจะไม่รู้ว่าแสงในบริเวณนั้นขาวหรือดำแต่จะปรับภาพให้ตรงนั้นได้รับแสงอย่างพอดี ซึ่งก็คือสีเทากลาง สีที่ว่านี้เมื่อเทียบกับระบบโซนที่กำหนดให้การไล่สีดำไปยังสีขาวแบ่งเป็น 11 ช่องนั้น จะได้ช่องที่ 5

กฏ Zone System ได้ถูกนำมาใช้อ้างอิงเพื่อระบุว่าโซนใดคือโซนสายตามนุษย์มองเห็น จะได้ว่าโซนที่ 0 และ X คือโซนที่เราควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด จึงกลายมาเป็นวิธีการในการทำโทนภาพขาวดำที่อ้างอิงกฏดังกล่าวนั่นเอง

หลักทำภาพขาวดำที่อ้างอิงกฏ Ansel Adams ใน Lightroom CC

การที่เราจะตกแต่งภาพขาวดำตามกฏของ Ansel Adams ได้อย่างถูกต้องสำหรับการมองเห็นภาพแบบ 256 ช่อง เราจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าจำนวนช่องที่ว่าอยู่ตรงไหน ในขั้นตอนแรกให้ผู้เรียนเปิดภาพใดๆก็ตามขึ้นมา 1 ภาพ แนะนำว่าควรเป็นภาพที่แสดงแสงได้ครบตั้งแต่สีดำไปจนถึงสีขาว จากนั้นแปลงเป็นภาพขาวดำให้เรียบร้อยด้วยการกด V

เปลี่ยนภาพสีเป็นภาพขาวดำใน Lightroom CC ได้ด้วยการกดคีย์ ‘V’

แบ่งพิกัดบนเครื่องมือจัดการเส้นเคิร์ฟด้วยสายตา

สิ่งต่อมาที่ต้องทำคือการกำหนดว่าโซนไหนบนเส้นเคิร์ฟคือพิกัดที่ 26 ซึ่งเป็นการนับโซนที่ 1 (สีดำที่เริ่มมองเห็น) และโซนใดคือ 230 ที่ถือเป็นจุดสิ้นสุดของของสีขาว ตรงนี้ผู้เรียนจะต้องเป็นคนกำหนดเองโดยที่พอจะมีเส้นไกด์ปรากฏในในเครื่องมือเส้นเคิร์ฟบน Lightroom CC ซึ่งแบ่งให้รายละเอียดถูกตีเป็น 4 ช่องในแกนตั้ง ดังนี้

เส้นเคิร์ฟปกติที่เราระบุเลขลงแต่ละโซน

เปลี่ยนเป็นโหมด Point เพื่อเลื่อนตำแหน่งได้อิสระ

เราจะต้องดึงจุดลิมิตเส้นทะแยงสีขาวที่อยู่ทางขวาบนลงมาที่ราวๆเปอร์เซ็นต์ที่ 90.2% (ประมาณโซน 9) และจุดล่างซ้ายดึงขึ้นไปที่ 10.2% (ประมาณโซน 1) ถ้าภาพที่มีลิมิตดำขาวครบถ้วนก็จะถูกกำหนดโซนใหม่ดังภาพ

ปรับภาพเพิ่มเติมภายใต้โซนที่จำกัด

จากนี้ก็เป็นการนำเทคนิคในการใช้งานเครื่องมือเล็กๆน้อยๆปรับแต่งภายใต้โซนที่จำกัด โดยยังคงความเป็นภาพขาวดำที่มีรายละเอียดครบถ้วน เช่นการใช้สีกลางที่ลดตัวลงหรือการทำ S-Curve เพื่อเพิ่มความเปรียบต่างแตกแยกให้ภาพดูน่าสนใจเพิ่มขึ้น ใช้เทคนิคตามที่ถนัดได้เลยครับ

ถึงภาพจะได้ตามโซนก็ยังไม่ใช่ภาพที่สวยอยู่ดียังไงก็ต้องทำเพิ่ม

หลักสูตรออนไลน์คุณภาพสูงจาก DozzDIY

หลักสูตรคุณภาพเรียนจากเว็บไซต์โดยมีการจัดสารบัญไว้ให้อย่างชัดเจน สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกซื้อแบบออนไลน์ กรุณาติดต่อทางเพจ facebook.com/dozzdiy หรือทาง LineID : @DozzDIY
โทรศัพท์ : 08-8753-5742, 08-7730-0981 และ 08-0782-4423 ตั้งแต่เวลา 6:00 – 22:00 น ทุกวันไม่มีวันหยุด

Lightroom CC : Reverse-Learning Course
หลักสูตร Lightroom CC สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน
1,690 บาท/ปี

Lightroom CC : Master Class
หลักสูตร Lightroom CC สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานแล้วต้องการต่อยอดความรู้
2,990 บาท/ปี

Zone System เป็นเพียงสิ่งที่คอยแนะนำแนวทางให้เราทำภาพขาวดำได้อย่างมีหลักการซึ่งหลักการเหล่านี้อาจจะเป็นแค่ความหมายเพียงเสี้ยวหนึ่งของความงามที่เกิดในภาพขาวดำ อย่างไรก็ตามหวังว่านี่จะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ Lightroom CC ทุกท่าน ขอให้โชคดีครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

การใช้งาน Masking Tools ฉบับสมบูรณ์

บทความสอนการใช้งานเครื่องมือกลุ่ม Masking Tools ทุกตัวอย่างละเอียดในแบบของ DozzDIY ที่กระชับและเข้าใจง่ายและครอบคลุมการเลือกพื้นที่ทุกรูปแบบ

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า