Lightroom CC : การดูภาพที่นำเข้ามาในโปรแกรม

ก่อนการเริ่มต้นแต่งภาพด้วย Lightroom เราจำเป็นต้องให้เวลากับการพิจารณาภาพหลังจากนำเข้ามาในโปรแกรม Adobe Lightroom CC เพื่อที่จะจัดแยกหรือกำหนดระเบียบของภาพที่คัดแยกออกมาจากกองภาพ (ซึ่งอาจจะเป็นภาพขยะที่เราต้องกำจัดทิ้งก็ได้) ส่วนนี้จำเป็นตรงที่ว่าเราจะรู้ภาพไหนควรเก็บไว้และภาพไหนควรทิ้งไปนั่นเอง

ส่วนพรีวิวและการกำหนดขนาด

หลังจากดำเนินการนำภาพเข้ามาในโปรแกรมแล้วหน้าตาของโปรแกรมจะเป็นอย่างที่เห็น ส่วนที่เป็นภาพเรียงแบบตารางเราเรียกว่าส่วนการ ‘พรีวิวภาพ’ ตรงนี้เราสามารถกำหนดขนาดภาพย่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ด้วยการเลื่อนสเกลทางด้านขวาล่างตรงคำว่า Thumbnails ให้มีขนาดได้ตามที่เราต้องการ อยากให้เล็กลงก็เลื่อนไปทางซ้าย อยากให้ใหญ่ขึ้นก็เลื่อนไปทางขวา (หน้าจอลักษณะนี้เราเรียกว่า Grid View หมายถึง การชมภาพรวมแบบตาราง มีคีย์ลัด ‘G’)

การรับชมแบบตาราง (Grid View – ‘G’)

ที่มุมขวาล่างมีสเกล Thumbnails เพื่อลดเพิ่มขนาดรับชม

โฟกัสภาพที่สนใจให้มากขึ้น

เมื่อต้องการพรีวิวภาพใดภาพหนึ่งให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีหลายวิธีที่สลับเข้ามาอยู่ในโหมดนี้ได้ เช่น ดับเบิลคลิกภาพที่อยากรับชมใน Grid View ภาพจะแสดงเพียงภาพเดียวคือภาพที่เราสนใจแบบเต็มพื้นที่ (เราเรียกการรับชมภาพแบบนี้ว่า Loupe View มีคีย์ลัด ‘E’) อันที่จริงกด Spacebar สลับระหว่างมา Loupe View ก็ได้

นอกไปจากนี้ในการรับชมแบบ Loupe View ยังซูมภาพดูรายละเอียดแบบมากๆได้สูงสุดถึง 11 เท่า (ดูแปลกหน่อยถ้าจะซูมมากขนาดนั้น) โดยการคลิกที่สัดส่วนที่พาเนล Navigator เพื่อนำทางไปยังรายละเอียดปลีกย่อยของภาพ เช่นสัดส่วนแบบ 1:1 เป็นต้น

เมื่ออยู่ใน Grid View แบบนี้ ถ้ากดปุ่ม Spacebar
จะกระโดดไปโหมดรับชม Loupe View แต่กดอีกทีจะกลับมาไม่ได้

โหมดรับชมแบบ Loupe View (คีย์ลัด – ‘E’)

ปรับเปลี่ยนรายละเอียดรับชมที่ Navigator

จำเป็นต้องพูดถึงสิ่งที่เป็นปลีกย่อยของพาเนล Navigator สักนิดหนึ่ง เพราะส่วนดังกล่าวนี้อำนวยความสะดวกเวลาที่เราต้องการขยายภาพเพื่อดูว่ามีสิ่งปกติในภาพที่กำลังพรีวิวหรือเปล่า พาเนลดังกล่าวอยู่ทางซ้ายบนของอินเตอร์เฟซของโปรแกรม Lightroom โหมดรับชมจะมีสองแบบ ได้แก่ โหมดรับชมปกติแบบ Fit to Windows (ชมแบบเต็มกรอบพื้นที่เท่าที่ส่วนแสดงภาพมีให้) และ โหมดรับชมอีกแบบที่ขยายมากขึ้น โดยเลือกได้หลายขนาด ไม่ว่าจะเป็น 1:2, 1:3, 1:4, 1:8 และอื่นๆ

การสลับในการรับชมใช้ปุ่ม Spacebar ได้ระหว่างการรับชมปกติ และการรับชมแบบขยาย

รับชมแบบขยายเท่าพื้นที่แสดงผล

รับชมแบบเต็มขนาดภาพแบบ 1 ต่อ 1

ปรับแต่งภาพทัมบ์เนลของส่วนแสดงภาพ

ส่วนรับชมภาพที่แสดงเป็นลักษณะตารางที่ Grid View เราเรียกว่า ‘เซลล์’ นอกไปจากการแสดงภาพแล้วยังมีการแสดงชื่อไฟล์, ข้อมูล, วันที่ หรือข้อมูลอื่นๆที่นำมาแสดงได้อีกหลายอย่าง Lightroom มีรูปแบบการจัดแสดงข้อมูลภาพอยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่ Expanded, Compast และ Compact เราสามารถสลับวนการรับชมแบบต่างๆได้ด้วยคีย์ ‘J’

Expanded View

Compast View

Compact View

DozzDIY แหล่งเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน

หลักสูตรคุณภาพเรียนจากเว็บไซต์และคลิปวิดีโอ Adobe Lightroom CC จาก DozzDIY
เรามีการจัดสารบัญเนื้อไว้ให้อย่างชัดเจนเป็นขั้นตอน ได้ผลลัพธ์จริง
กรุณาติดต่อทางเพจ facebook.com/dozzdiy หรือทาง LineID : @DozzDIY
โทรศัพท์ : 08-8753-5742, 08-7730-0981 และ 08-0782-4423 ตั้งแต่เวลา 6:00 – 22:00 น ทุกวันไม่มีวันหยุด

Lightroom CC : Reverse-Learning Course
ดูเนื้อหา | เข้าเรียน
เรียนรู้ Lightroom ขั้นพื้นฐานด้วยกระบวนการย้อนกลับ

Lightroom CC : Master Class Workshop
ดูเนื้อหา | เข้าเรียน
หลักสูตร Lightroom CC ภาคต่อเนื่องและหลักสูตรประยุกต์

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

การใช้งาน Masking Tools ฉบับสมบูรณ์

บทความสอนการใช้งานเครื่องมือกลุ่ม Masking Tools ทุกตัวอย่างละเอียดในแบบของ DozzDIY ที่กระชับและเข้าใจง่ายและครอบคลุมการเลือกพื้นที่ทุกรูปแบบ

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า