‘Kodachrome’ คอลเลกชันพรีเซ็ตแรกแห่งปี 2021 จาก DozzDIY
ที่มาที่ไปและเหตุผลว่าทำไม DozzDIY จึงทุ่มเทกับพรีเซ็ตคอลเลกชันนี้เกือบ 1 ปีเต็มในการจำลองสีเพื่อใช้เป็นพรีเซ็ตในโปรแกรมตกแต่งภาพถ่ายอย่าง Lightroom Classic

Kodachrome คือซีรี่ย์ของฟิล์มรุ่นหนึ่งจาก Kodak (ค.ศ. 1935-2010)ในยุคกล้องถ่ายภาพฟิล์มนับว่าเป็นฟิล์มที่มีอิทธิพลในการขับเคลื่อนงานศิลปะ อีกทั้งยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์จนได้รับการยกย่องว่าเป็นฟิล์ม ‘สีสวยที่สุดในโลก

ความยิ่งใหญ่ของ ‘Kodachrome’ ทำให้ทุกวันนี้มีแต่ช่างภาพกล่าวถึงและก็หวังว่าสักวันหนึ่งทาง Kodak อาจเห็นใจและนำกลับมาทำอีกครั้ง (ซึ่งความหวังนี้ริบหรี่มาก) บทความนี้จึงเป็นการสรุปถึงเหตุผลที่สามารถพิสูจน์ได้ในทางวิทยาศาสตร์ และเหตุผลที่ต้องใช้ความรู้สึกของคุณเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่า Kodachrome ควรค่าแก่การเป็นฟิล์ม 1 ในฟิล์มที่เลือกใช้หรือไม่หากมีโอกาส..

การกล่าวถึง Kodachrome ในมุมมองของ DozzDIY จะกล่าวออกเป็น 3-4 หัวข้อหลัก ได้แก่ ความสำคัญในแง่ของประวัติความเป็นมา, วิทยาศาสตร์สีในเชิงจิตวิทยา, การเก็บรวบรวมข้อมูล และจบด้วยหลักในการออกแบบพรีเซ็ตเพื่อใช้ในโปรแกรม

1. ประวัติศาสตร์และที่มา

กล่าวถึงสิ่งที่รวมกันเพื่อเป็นเหตุผลว่าทำไม Kodachrome จึงมีความสำคัญต่อการเป็นฟิล์มสีที่ทรงคุณค่าแห่งยุคสมัย

1.1 จุดเริ่มต้นของฟิล์ม 'Kodachrome'

เพราะความคิดที่ว่า ‘เราน่าจะทำฟิล์มที่มีสีสวยกว่านี้ได้’ ของสองนักวิจัย ลิโอโปลด์ โกโดว์สกี จูเนียร์​ (Leopold Godowsky Jr.) และ ลีโอโปลด์ แมนเนส (Leopold Mannes) ที่มีต่อภาพยนตร์เรื่อง Our Navy ในปี ค.ศ. 1918 ด้วยความที่ชอบถ่ายภาพกันอยู่แล้วทั้งคู่จึงเริ่มร่วมกันค้นคว้าวิธีการทำฟิล์มสีจากห้องสมุดโดยพัฒนาการสร้างฟิล์มสีแบบ 2 เลเยอร์ (ม่วงแดง + เขียว = ภาพสี) เป็นแบบมัลติเลเยอร์ซึ่งมีจำนวนชั้นในการกรองที่มากขึ้น

ลิโอโปลด์ โกโดว์สกี จูเนียร์​ (Leopold Godowsky Jr.) และ ลีโอโปลด์ แมนเนส (Leopold Mannes) ขณะที่กำลังเล่นไวโอลินและเปียโน | Source : https://collections.eastman.org

แต่งานวิจัยนั้นใช้เงินทุนจำนวนมากจนเงินส่วนตัวของทั้งสองไม่เพียงพอ ทำให้การเสนอโครงการต่อบริษัทอีสต์แมนโกดักที่รัฐนิวยอร์กเกิดขึ้น การจดสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1924 จึงเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งในการพัฒนาฟิล์มสีอีก 11 ปีต่อมา (Two-Layer Process ไปเป็น Multi-Layer Process)

บริษัทอีสต์แมนโกดักที่เมืองรอเชสเตอร์
Source : https://en.wikipedia.org/wiki/Kodak/

Kodachrome ในช่วงแรกมีความไวแสงที่ต่ำมาก | Source : https://retinarescue.com/kodachrome.html

ฟิล์ม Kodachrome วางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนเมษายน ค.ศ. 1935 ในรูปแบบฟิล์มหนัง 16mm

1.2 ความสำคัญต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

ตลอดระยะเวลา 75 ปี ของ Kodachrome ที่ได้โลดแล่นอยู่ในวงการถ่ายภาพอย่างแพร่หลาย จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาพถ่ายเหตุการณ์สำคัญๆอย่างชุดภาพถ่ายประชาสัมพันธ์กองทัพสหรัฐในการเข้าร่วมรบสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยช่างภาพ อัลเฟรด ที.พาล์มเมอร์ (Office of War Information ตั้งแต่ปี 1942 ถึง 1943) , พระราชพิธีของราชินีเอลิซาเบทที่ 2 แห่งอังกฤษ​ นอกจากนี้ยังได้ใช้บันทึกภาพถ่ายบุคคลสำคัญเอาไว้มากมาย

Kodachrome photo by Chalmers Butterfield of Shaftesbury Avenue from Piccadilly Circus, in the West End of London, c. 1949 | Source : https://en.wikipedia.org/wiki/Kodachrome

Alfred Palmer (American, 1906-1993), ‘Crane operator at Tennessee Valley Authority’s Douglas Dam’, June 1942
4 x 5 Kodachrome transparency | Alfred Palmer/OWI | Source : https://artblart.com/tag/alfred-palmer/

Alfred Palmer (American, 1906-1993), ‘Lieutenant ‘Mike’ Hunter’, October 1942
4 x 5 Kodachrome transparency | Alfred Palmer/OWI | Source

และในปี ค.ศ. 1984 ฟิล์มสี Kodachrome 64 ม้วนสุดท้ายได้ตกอยู่ในมือของช่างภาพระดับโลก สตีฟ แมคเคอรี (Steve mcCurry) เขาได้บันทึกภาพเด็กสาวชาวอัฟกันซึ่งมีดวงตาสีเขียวดุจมรกตวัย 12 ปี มีการตีพิมพ์ลงบนนิตยสาร National Geographic รวมถึงได้ทำเป็นสารคดีในตอนที่มีชื่อว่า ‘The Last Roll of Kodachrome’

ภาพของเด็กสาวชาวอัฟกัน (Afghan Girl) ชาร์บาต กูลา (شربت ګله‎) ปี 1984 โดยช่างภาพ Steve mcCurry ด้วยฟิล์ม Kodachrome 64 บนกล้อง Nikon FM 2 เลนส์ AI-S Nikkor 105mm f/2.8 | Source : https://publicdelivery.org/steve-mccurry-afghan-girl/

สารคดี The Last Roll of Kodachrome ซึ่งเป็นการใช้ฟิล์ม Kodachrome 64 ครั้งสุดท้ายโดย Steve mcCurry

ภาพถ่ายดังกล่าวโด่งดังไปทั่วโลกชนิดที่ไม่มีช่างภาพในวงการคนไหนไม่รู้จัก เป็นการปิดตำนานฟิล์มสีที่ยิ่งใหญ่อย่างไม่มีวันหวนกลับ

1.3 การยอมรับในฐานะงานศิลปะ

หลังจากที่ทางบริษัทอีสต์แมนโกดักได้วางจำหน่ายฟิล์ม Kodachrome สำหรับภาพนิ่งที่ 35mm ในปี ค.ศ. 1936 (ปี 1935 เป็นฟิล์มสำหรับภาพเคลื่อนไหว) และได้เริ่มมีการใช้งานบันทึกภาพนิ่ง ด้วยความที่ยุคนั้นการบันทึกภาพถ่ายซึ่งถือเป็นงานศิลปะจะนิยมชมชอบภาพถ่ายขาวดำกันมากกว่าจึงถูกมองว่าฟิล์มสีไม่มีความเป็นศิลปะมากเท่า อีกทั้งฟิล์มสีในยุคนั้นสีสันที่ได้หลังจากล้างแล้วก็ไม่น่าประทับใจเท่าไร

Harry Gruyaert – Magnum Photo | Source

Robert Herman’s Vibrant Kodachrome Street Photography Of NYC | Source

ยิ่งมีข้อกังขามากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ Kodachrome เปล่งแสงแห่งยุคใหม่ของฟิล์มสีมากยิ่งขึ้นด้วยฝีมือของช่างภาพศิลปินยุคบุกเบิก (พุ่งสู่จุดสูงสุดช่วง 1960-1970 เรียกว่าใช้กันอย่างแพร่หลายทุกครัวเรือน) จนกล่าวกันว่าสิ่งที่ฟิล์มตัวนี้ทำได้คือความก้าวหน้าของการบันทึกภาพนิ่ง (โมเดิร์นฟิล์ม) แห่งศตวรรษ

1.4 ค่านิยมทางสังคม

เงินจำนวน 3.5 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐในยุคนั้นคือสนนราคาของฟิล์ม ซึ่งถ้านึกไปถึงยุคที่ค่าเงินแข็งมากๆแล้ว ฟิล์ม 1 กลักอาจจะแตะ 1,000 กว่าบาทในปัจจุบัน ราคาที่สูงขนาดนี้พอทำให้นึกถึงคนที่กล้าจะซื้อไปใช้ถ่ายภาพในชีวิตประจำวันหรืองานที่ทำได้อย่างไม่ยากเย็น และแน่นอน Kodachrome ก็เป็นแบบนั้น มันถูกใช้ในกลุ่มคนมีอันจะกินหรือช่างภาพระดับแนวหน้าของวงการเสียเป็นส่วนใหญ่

1.5 การผูกขาดทางการค้า

หากคิดว่าราคาของฟิล์ม 1 กลักนั้นยากจะครอบครองแล้ว ยังต้องใช้น้ำยาชนิดพิเศษชื่อว่า K-14 ที่ผู้บันทึกภาพจะต้องส่งไปยังห้องแล็ปของทาง Kodak เท่านั้น (เป็นเหตุผลว่าราคาขายจะรวมล้างและค่าส่งฟิล์มไป-กลับเอาไว้ด้วย) เทียบกับฟิล์มอื่นที่สามารถล้างที่ไหนก็ได้ Kodachrome จึงถูกฟ้องร้องว่าเป็นการผูกขาดทางการค้าอยู่ยาวนานถึง 20 ปี โดยที่หลังจากนั้นกำไรของบริษัทก็ลดลง

แผ่นป้ายโฆษณาของ Kodachrome | Source

จนถึงยุคที่ FujiFilm เริ่มผลิตฟิล์มสีที่มีราคาถูกกว่าจนครอบครองใจกลุ่มช่างภาพระดับทั่วไปเพราะสนนราคาที่ไม่สูงเท่า และราคานี้เองก็ทำให้ผลประกอบการของโกดักย่ำแย่ลงเรื่อยๆ แม้เทียบในแง่ของสีสันและน้ำหนักภาพแล้วจะสู้ Kodachrome ไม่ได้ก็ตามที

อีกทั้งการใช้งานฟิล์มในช่วงนั้นซึ่งมีแต่ฟิล์มความไวแสงต่ำ เช่น ASA10 ทำให้โอกาสในการใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นไปได้ยากมากถ้าไม่มีการจัดแสงให้ดี

2. วิทยาศาสตร์สีของ Kodachrome

ส่วนนี้กล่าวถึงความรู้ในการวิเคราะห์สิ่งที่ได้จากฟิล์ม Kodachrome ว่าทำให้ภาพถ่ายแตกต่างไปจากภาพถ่ายจากฟิล์มอื่นอย่างไร เป็นเพียงค่านิยมที่ทำตามกันมาหรือว่าดีจริง ซึ่งจะมีความเห็นของทางผู้สอน DozzDIY อธิบายเอาไว้ด้วย

2.1 ไดนามิกเรนจ์

Kodachrome ให้ช่วงกว้างของแสงอยู่ที่ 12 สต็อป หากนึกไม่ออกให้ลองจินตนาการง่ายๆว่าแถบสีจากดำไปขาวค่อยๆสว่างขึ้นแบ่งเป็น 12 ช่อง (ตัวอย่างง่ายๆนะครับความจริงซับซ้อนกว่านี้ : ผู้สอน) เทียบกับฟิล์มตัวอื่นในยุคนั้นที่มีจำนวนสต็อปต่ำกว่า ผลลัพธ์คือการไล่รายละเอียดของเฉดสีเทาที่มีมากขึ้น และเมื่อแปลงมาเป็นสีสันของภาพๆหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยโทนต่างๆของสีที่มีอยู่มากมายจะทำได้ดีแค่ไหนนั่นคือสิ่งที่ Kodachrome ทำได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุด

เปรียบเทียบระหว่างภาพที่มี Dynamic Range ต่ำ (ครึ่งซ้าย) และ สูง (ครึ่งขวา) ยิ่งมีมากก็ยิ่งแสดงรายละเอียดได้มากกว่า

2.2 ความเป็นธรรมชาติ

เหตุผลหนึ่งที่คนเลือกใช้คือสีที่ได้และฟิล์มในยุคนั้นส่วนใหญ่ก็ให้สีที่เพี้ยนเสียจนถ่ายภาพบางอย่างที่ต้องการความสมจริงสมจังของวัตถุได้ลำบาก เช่น สีของอาหาร หรือ สีผิวคน สิ่งเหล่านี้ Kodachrome ก็ตอบโจทย์ทั้งหมด ช่วงการใช้ประโยชน์จากฟิล์มจึงกว้าง ช่างภาพจะนำไปใช้บันทึกภาพถ่ายภูมิทัศน์หรือภาพถ่ายบุคคลความถูกต้องโดยส่วนใหญ่ของสีจากฟิล์มก็กลายเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ปฏิเสธได้ยาก

ภาพถ่ายคอร์นบีฟที่บันทึกด้วยฟิล์ม Kodachrome 200 สีสันที่เพี้ยนไปโดยปกติของฟิล์มยังอยู่ในช่วงที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งฟิล์มบางกลุ่มทำได้ยาก | Source : https://www.flickr.com/photos/aged_accozzaglia/4909443937

2.3 ความหนักเบาของน้ำหนักภาพ

คุณลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของ Kodachrome ก็คือการเป็นฟิล์มที่ให้รายละเอียดยิบย่อยอย่างสังเกตได้ยอดเยี่ยมมาก ดังภาพตัวอย่างที่ภาพแรกแสดงให้เห็นว่ามีการไล่รายละเอียดภาพถ่ายแบบปกติซึ่งในความจริงอาจจะเป็นแบบนั้นก็ได้ กับภาพถ่ายที่มีการใส่น้ำหนักขึ้นลงตามความสว่างมืดของสีอย่างละเอียดในทุกๆจุด การขึ้นๆลงๆของสีที่น่าสนใจมากในฟิล์ม Kodachrome สร้างแรงดึงดูดต่อผู้รับชมภาพได้มากกว่า เปรียบเสมือนบทเพลงที่มีการผ่อนหนักเบาของเครื่องดนตรีในโน้ตตัวนั้นซึ่งไม่มีเขียนบอกเอาไว้ในรูปแบบสัญลักษณ์

ตัวอย่างนี้เทียบให้เห็นภาพว่า การแยกแยะโทนสว่างมืดในรายละเอียดปลีกย่อยช่วยให้หลายๆอย่างในภาพเตะตามากขึ้น เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่โทนภาพของฟิล์ม Kodachrome ทำได้ (แต่ภาพนี้ไม่ใช่ฟิล์ม Kodachrome นะแค่ยกตัวอย่างเฉยๆ)

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

ยังพอมีภาพถ่ายของชุมชนผู้หลงไหลในฟิล์มตัวนี้อยู่พอสมควร การเก็บข้อมูลว่าบันทึกด้วยกล้องอะไรหรือช่วงเวลาไหนสามารถสืบค้นได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นทาง Wikipedia หรือแม้แต่ทางอีสต์แมนโกดักเองก็ตาม นอกจากนี้ไทม์ไลน์ของฟิล์มและเหตุการณ์สำคัญๆยังหาศึกษาได้ในสำนักข่าวชื่อดังมากมาย ความยากของการเก็บข้อมูลจึงอยู่ในระดับกลางๆ เพราะชื่อเสียงของฟิล์มนั้นดีมาก

เนื่องจากฟิล์มตัวนี้ดังมาก แหล่งข้อมูลอ้างอิงก็ไม่ยากอะไรขนาดนั้นแค่นำมาจัดกลุ่มและเทสกราฟข้อมูล กับเอกสารทางฟิล์มและข่าวของสำนักพิมพ์ชื่อดังต่างๆ ทั้งในกลุ่มช่างภาพฟิล์มบ้านเราก็มีข้อมูลเยอะพอสมควร

ยากที่สุดคงไม่พ้น Kodachrome ASA10 ซึ่งเป็นตัวแรกของซีรี่ย์ที่วางขาย เราข้อมูลน้อยมากจนต้องศึกษาเอาจากหนังสือจนทำให้ใช้เวลานานกว่าปกติ แยกเป็นโทนที่คล้ายคลึงกันจนนำไปสู่การหาคาแรกเตอร์ที่ดีที่สุดของฟิล์มตัวนั้น ออกมาเป็นข้อสรุปว่าจะทำอย่างไรต่อไป

4. หลักการออกแบบพรีเซ็ต

การออกแบบพรีเซ็ตในคอลเลกชันนี้มีพื้นฐานมาจากเครื่องมือในโปรแกรม Adobe Lightroom Classic ส่วนของ Color Profile (อัปเดตปี พ.ศ. 2561) คุณสมบัติใหม่นี้เองทำให้ขอบเขตความสามารถในการควบคุมสีกับภาพหลากหลายแบบทำได้ง่ายขึ้นมาก

โปรไฟล์จะช่วยบีบช่วงสีให้เป็นค่าพื้นฐานก่อนทำการปรับเพิ่มเติมด้วยสเกลจากพรีเซ็ตอีกที ผลลัพธ์จึงดีมากขึ้นและไม่ยุ่งยากเหมือนกับการใช้โปรไฟล์แยกกล้องเหมือนก่อน

เทียบกับแต่ก่อนที่ต้องใช้โปรไฟล์แยกแต่ละกล้องนับเป็นปัญหาในการออกแบบของผู้พัฒนาอย่างมาก เพราะเราไม่รู้เลยว่ากล้องที่วางขายในท้องตลาดทั้งหมดมีกี่รุ่น ยังไม่รวมที่ออกใหม่และค่าโปรไฟล์สีที่แยกแต่ละตัว (ในทางเทคนิคจะมีบทความอย่างละเอียดอธิบายอีกครั้ง)

4.1 การติดตั้งพรีเซ็ตแบบใหม่

ชุดพรีเซ็ตจะแยกโฟลเดอร์อย่างชัดเจน โดยที่มีโฟลเดอร์ Profile และ Presets เอาไว้ การติดตั้งนั้นไม่ยุ่งยากเพียงแค่นำเข้าด้วยตัวเลือก Import ปกติที่ Presets Panel ในโปรแกรม ไฟล์ไหนเป็นพรีเซ็ตไฟล์ไหนเป็นโปรไฟล์จะถูกย้ายไปวางไว้ตามบทบาทหน้าที่ของมันเอง และถูกเรียกใช้แบบเชื่อมกันทันทีเพื่อใช้งาน

นำเข้าผ่านช่องทางเดียวกันได้เลย ไฟล์ของโฟลเดอร์ ‘Profile’ จะปรากฎใน Profile Browser เอง

4.2 คุณลักษณะของ Kodachrome

พรีเซ็ตคอลเลกชัน Kodachrome จำลองสีจริงของฟิล์มที่ได้อย่างมากที่สุดเท่าที่เราจะออกแบบได้ มีสองสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เด่นดังนี้

4.2.1 : การออกแบบให้มีไดนามิกเรนจ์กว้าง

เหตุผลหนึ่งที่คนเลือกใช้คือสีที่ได้และฟิล์มในยุคนั้นส่วนใหญ่ก็ให้สีที่เพี้ยนเสียจนถ่ายภาพบางอย่างที่ต้องการความสมจริงสมจังของวัตถุได้ลำบาก เช่น สีของอาหาร หรือ สีผิวคน สิ่งเหล่านี้ Kodachrome ก็ตอบโจทย์ทั้งหมด ช่วงการใช้ประโยชน์จากฟิล์มจึงกว้าง ช่างภาพจะนำไปใช้บันทึกภาพถ่ายภูมิทัศน์หรือภาพถ่ายบุคคลความถูกต้องโดยส่วนใหญ่ของสีจากฟิล์มก็กลายเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ปฏิเสธได้ยาก

แนวการออกแบบเพื่อเพิ่มไดนามิกเรนจ์โดยสังเขป

4.2.2 : การออกแบบสีสันที่อิ่มตัวแต่มีรสนิยม

คำว่า ‘มีรสนิยม’ ไม่ใช่การเร่งสีแบบเร่งค่าความสดใสหรือความอิ่มตัวโดยไม่ดูว่าสีในขณะนั้นแรงจนซ้อนทับสีที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ยกตัวอย่าง เช่น สีส้ม ที่อาจมาจากสีแดงและเหลือง และคาแรกเตอร์สีของ Kadachrome มีความดราม่าในตัวโทนภาพมาก กล่าวคือสีจะมืดกว่าความเป็นจริง (พบสีลักษณะนี้ได้ในกล้องถ่ายภาพดิจิตอลไลก้า : ผู้สอน) เช่นนำไปบันทึกสีแดงก็จะได้สีแดงที่ดำลงกว่าความเป็นจริง ทำให้รายละเอียดในภาพดูเด้งขึ้นมา

ตัวอย่างที่ทำให้สีในภาพมืดลงเป็น Dark Palette ซึ่งมีหลายวิธี และ HSL/Color ก็เป็น 1 ในนั้น

DozzDIY2021 – Kodachrome Series ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลและราคาล่าสุดได้กับบัญชีทางการของ DozzDIY ทุกช่องทาง

บทสรุป

Kodachrome มีอดีตที่ยิ่งใหญ่และยังเป็นวันวานแห่งความสุขของช่างภาพที่เคยสัมผัส พวกเขาภาคภูมิใจและเชื่อว่าไม่มีฟิล์มตัวใดตราบจนถึงปัจจุบันที่จะทำได้ดีแบบนั้นอีก สิ่งที่ทาง DozzDIY ทำได้คือการชุบชีวิตฟิล์มความรู้สึกนั้นให้กลับมาโลดแล่นได้อีกครั้งในร่างดิจิตอล และวันนี้ก็ออกมาเป็นคอลเลกชันสำคัญในปี 2021 เรียบร้อยแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า