หลักของดุลยภาพแบบทิศทางอย่างง่าย
ดุลยภาพแบบทิศทาง (Directional Balance) เป็นหนึ่งในรูปแบบจาก ดุลยภาพที่ไม่เท่ากัน (Asymmetrical Balance) เพราะเราคงคาดหวังให้สิ่งสองสิ่งเท่ากันทั้งในเชิงของขนาดและทิศทางแบบ 100% ได้ยากในชีวิตจริง ดังนั้นการนำหลักการมาใช้กับความไม่สมบูรณ์แบบซึ่งพบได้บ่อยในชีวิตประจำวันนั้นจึงมีความน่าสนใจและควรศึกษาเรียนรู้ไว้ใช้
ดุลยภาพที่ไม่เท่ากันเป็นอย่างไร?

หลักสูตร ‘ศิลปะแห่งการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย’ (The Art of Composition) ได้กล่าวไว้ว่า ชีวิตจริงเราไม่สามารถคาดหวังการเท่ากันแบบ 100% ในทุกๆมิติที่มีในภาพ ไม่ว่าจะเป็น มิติของความลึก (Depth), ความสว่าง (Luminance), สีสัน (Hue), ความอิ่มตัว (Saturation) ปริมาณ (Volume), ทิศทาง (Direction) ฯลฯ แต่ก็สามารถทำให้รู้สึกว่าไม่หนักในทางใดทางหนึ่งมากเกินไปด้วยการถ่วงน้ำหนัก

ดุลยภาพที่ไม่เท่ากัน หรือดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetrical Balance)

ทิศทางของวัตถุส่งผลต่อภาพอย่างไร?

หากวัตถุที่เป็นจุดสนใจ หรือองค์ประกอบร่วมอื่นที่มีอิทธิพลมากพอในภาพหันไปในทิศทางใดก็ตาม ความรู้สึกของผู้รับชมที่คล้อยตามทิศทางนั้นย่อมเกิดขึ้น ส่งผลให้รู้สึกว่าภาพกำลังดำเนินไปในทิศทางนั้น เช่น ถนนสัญจรที่มีการเคลื่อนตัวของรถไปทางขวา หรือการพุ่งเข้าออกแบบสามมิติ

ทิศทางการเดินของนักท่องเที่ยวในภาพที่เป็นการเดินลึกเข้าไปทางขวาเล็กน้อยแบบสามมิติ ถูกวางภาพให้เยื้องมาซ้ายเล็กน้อย

เทคนิคในการวางจุดสนใจให้มีสมดุลของภาพต่อทิศทาง

วิธีการเริ่มต้นสำหรับผู้ที่อยากเริ่มจัดองค์ประกอบแบบไม่ให้ผู้รับชมภาพรู้สึกหนักซ้ายหรือขวามากเกินไป มีหลักการง่ายๆให้วางไว้ในทิศทางตรงข้ามเล็กน้อย เช่นรถที่กำลังวิ่งไปทางขวาก็ให้วางไว้ซ้ายเพิ่มขึ้นแล้วเหลือพื้นที่ทางขวาไว้เยอะกว่าเดิม เพียงเท่านี้ก็เป็นการถ่วงน้ำหนักและช่วยเพิ่มดุลยภาพให้กับภาพถ่ายได้ดีขึ้น

จำง่ายๆว่าถ้าวัตถุหันขวาให้วางเยื้องซ้าย หันซ้ายให้วางเยื้องขวา โดยที่พื้นที่ว่าง (Negative Space) อาจจะเป็นตัวขยายเรื่องราวว่าวัตถุกำลังจะมุ่งไปสู่อะไร

หลักสูตร ‘ศิลปะแห่งการจัดองค์ประกอบ’ จาก DozzDIY จะยังคงมีการขยายเนื้อหาต่อออกไปอีกเพื่อความครอบคลุม และหากต้องการเรียนจริงๆจังๆหรือรับชมแบบวิดีโอก็สามารถติดต่อเพื่อลงเรียนกับเราได้ตามช่องทางที่สะดวกครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ลำดับความสำคัญภาพแบบกฎสามส่วน

กฏสามส่วนเป็นกฏที่ใช้งานง่ายและยืดหยุ่นมากกฏหนึ่งในบรรดากฏโครงสร้างเพื่อจัดองค์ประกอบภาพถ่าย กฏดังกล่าวเหมาะกับคนที่เริ่มเบื่อกับการวางจุดสนใจไว้กลางจอ แต่ก็มีคนจำนวนมากใช้งานมันโดยไม่คำนึงถึงสิ่งพึงระวังนั่นคือดุลยภาพของพื้นที่ส่วนที่เหลือ ผู้สอนเห็นว่าเนื้อหาส่วนนี้ไม่ได้เป็นความลับอะไรมากจึงเขียนในทุกแง่มุมของมันแบบสาธารณะซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า