เพราะภาพถ่ายดิจิตอลนั้นต่างภาพภาพถ่ายฟิล์ม เราจึงต้องทราบกระบวนการที่ถูกต้องในการกำหนดขนาดเสียใหม่ไม่ว่าจะขยายหรือย่อให้เหมาะสมก่อนนำไปใช้งาน
การเรียกใช้เครื่องมือ Image Size เพื่อกำหนดขนาดใหม่

เราสามารถเรียกเครื่องมือกำหนดขนาดได้โดยไปที่เมนูบาร์ด้านบน เลือก Image > Image Size… หรือใช้คีย์ลัด Control + Alt + I [win] | Command + Option + I [mac] เพื่อเรียกหน้าต่างดังกล่าวขึ้นมา โดยที่หน้าต่างนี้จะเป็นตัวที่ใช้กำหนดขนาดใหม่ของภาพ, ความละเอียดของภาพ และ ความรูปแบบความเฉียบแหลมของภาพด้วยการเรียงตัวพิกเซลใหม่ตามปัญญาประดิษฐ์ในรูปแบบคำสั่งที่มีไว้ให้เลือก

Image > Image Size…

เกี่ยวกับตัวเลือกและความหมายต่างๆของกล่องเครื่องมือ Image Size

การทำความเข้าใจตัวเลือกต่างๆใน Image Size ควรมีพื้นฐานเกี่ยวกับความเข้าใจของ ‘ภาพถ่ายดิจิตอล’ แล้วจะผ่านส่วนนี้ไปได้ไม่ยาก

Image Size – กำหนดขนาดของภาพใหม่

Image Size : ผลคูณของมิติภาพ กว้าง x สูง

Dimensions : ทิศทางของภาพ มี 7 ตัวเลือกได้แก่ เปอร์เซ็นต์, พิกเซล, นิ้ว, เซ็นติเมตร, มิลลิเมตร, จุด และ ไพก้า

Fit to : รูปแบบของภาพหลังจากปรับขนาดว่าจะให้ตรงตามแบบใด มีแม่แบบหลายตัวเลือกให้ใช้ซึ่งมีประโยชน์ในกรณีที่เรียกใช้บ่อย เช่นจะย่อภาพพิมพ์โปสการ์ด สามารถบันทึกและเรียกข้อมูลเก่าที่เคยตั้งเอาไว้ในส่วนนี้มาใช้งานในภาพยหลังได้

Width : ความกว้างของภาพ

Height : ความสูงของภาพ

Resolution : ความหนาแน่นของพิกเซล มีสองหน่วยให้เลือก คือ ต่อ 1 นิ้ว และ ต่อ 1 เซนติเมตร

เกี่ยวกับ Resample

ตัวเลือกการจัดเรียงพิกเซลหลังมีการปรับขนาดเพราะถ้าขยายจะต้องมีพิกเซลที่สร้างใหม่ขึ้นมาโดยอ้างอิงข้อมูลเดิมที่มี หรือย่อขนาดก็ต้องมีการลบพิกเซลออกไปซึ่งจะส่งผลกระทบของภาพอย่างแน่นอน การจัดเรียงพิกเซลใหม่จึงมีผลต่อค่า ‘ความเฉียบแหลม’ (Acutance) ของภาพโดยตรง โดยที่ Adobe มีมาให้ 8 ทางเลือก แยกตามหมวดดังต่อไปนี้

ประเภทขยายขนาดภาพ
Preserve Details (Enlargement)

เหมาะสมกับภาพที่มีความละเอียดต่ำและต้องการขยายใหญ่ขึ้นเช่นภาพโปสเตอร์ ผลกระทบของตัวเลือกนี้คือความเปรียบต่างที่เพิ่มขึ้นของสีส่วนกลาง (Clarity) รายละเอียดและความคมชัดจะรักษาไว้ได้ดีแต่จะต้องมีการปรับลดอาการคลื่นรบกวนในภาพเพิ่มเติม

Preserve Details 2.0

เทคโนโลยีแบบใหม่ที่ใช้ในการขยายภาพแบบ Deep-Learning ของปัญญาประดิษฐ์ที่พยายารักษาค่าเฉลี่ยของภาพไม่ให้คมหรือเบลอมากจนเกินไป

Bicubic Smoother (Enlargement)

เน้นความเรียบเนียนและความนุ่มของภาพโดยส่วนมาก เนื่องจากการขยายภาพจะทำให้พิกเซลแตกออกและมองเห็นความแตกต่างของสีในแต่ละจุดได้ แต่ข้อเสียก็มีอยู่บ้างตรงที่ทำให้จุดความคมชัดของภาพหลายจุดเสียหายไป

ประเภทย่อภาพ
Bicubic Smoother (Reduction)

เป็นประเภทที่ไม่ค่อยแนะนำจะให้ใช้นักเนื่องจากจะทำให้ภาพคมเพิ่มซึ่งโดยปกติเรามักจะทำกระบวนการปรับคมอยู่แล้ว ให้ย่อภาพด้วยวิธีการปกติ

ประเภทอื่นๆ
Bicubic (Smooth Gradients)

เหมาะกับภาพถ่ายทุกประเภทและเป็นตัวเลือกที่ควรเลือกใช้หากไม่รู้ว่าจะใช้ Bicubic Smoother หรือ Bicubic Sharper แต่จะประมวลผลช้ากว่าทั้งสองแบบนิดหน่อยเพื่อแลกกับความแม่นยำในการจัดระเบียบพิกเซลใหม่ขึ้นมา

Nearest Neighbor (Hard Edges)

เหมาะกับภาพกราฟฟิกที่มีเส้นสายชัดเจนเพราะตัวเลือกนี้จะทำการเน้นหนักบริเวณขอบภาพเป็นหลัก ทำงานรวดเร็วแต่ไม่ละเอียด ความแม่นยำต่ำและคุณภาพต่ำ

Bilinear

เป็นตัวเลือกแบบให้ผลลัพธ์ของภาพกลางๆไม่ค่อยเป็นที่นิยม กระบวนการทำงานคือโปรแกรมจะวิเคราะห์พิกเซลตัวอย่างขึ้นมาและเทียบกับพิกเซลซ้ายและขวา โดยอาศัยแนวคิดการดุลน้ำหนักภาพและสีสัน

กำหนดกระบวนการทดแทนพิกเซลมาตรฐานให้กับภาพ

ไปที่ Photoshop CC > Preferences > General [mac] หรือ File > Preferences > General [win] หรือกดคีย์ Control + K [win]/Command + K [mac] เพื่อเปิดกล่องการตั้งค่าทั่วไปขึ้นมา จากนั้นให้เลือกค่าที่ต้องการใช้เป็นประจำในแบบอัตโนมัติที่ Image Interpolation โดยที่กระบวนการที่เลือกนี้จะปรากฏขึ้นเป็นค่ามาตรฐานทุกครั้งเมื่อเรียกใช้

กำหนดค่าตั้งต้นการเรียงพิกเซลใหม่ได้ที่ Preferences

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
แนวคิดการแต่งภาพ ตอนที่ 02/99

แนวคิดในกระบวนการตั้งแต่เริ่มถ่ายภาพไปจนถึงการตกแต่งภาพถ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายโดยจะกล่าวถึงในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้นอย่างง่าย

แนวคิดการแต่งภาพ ตอนที่ 01/99

แนวคิดในกระบวนการตั้งแต่เริ่มถ่ายภาพไปจนถึงการตกแต่งภาพถ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายโดยจะกล่าวถึงในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้นอย่างง่าย

ความเข้าใจเกี่ยวกับภาพ 8 บิต และ 16 บิต

ศึกษาความแตกต่างของภาพถ่าย 8 บิต และ 16 บิต เพื่อทำความเข้าใจว่าทำไมเราจึงควรทำงานกับภาพที่มีข้อมูลสูงก่อนนำมาแปลงเป็นข้อมูลที่เหมาะสมกับแหล่งเผยแพร่ต่างๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า