โปรไฟล์สีกับการใช้งานพรีเซ็ตรูปแบบใหม่
ความเปลี่ยนแปลงและข้อได้เปรียบของพรีเซ็ตจาก DozzDIY ที่วางขายตั้งแต่ช่วงกลางปี 2021 แตกต่างไปจากพรีเซ็ตก่อนหน้าอย่างไร และมีวิธีการใช้ที่ยากขึ้นหรือไม่สามารถอ่านได้นบทความนี้

ตั้งแต่เราเริ่มวางขายพรีเซ็ตสำหรับโปรแกรม Lightroom Classic, Lightroom CC และ Adobe Camera RAW สำหรับ Photoshop CC จนถึงปลายปี 2020 มีความพยายามที่จะแก้ปัญหา ‘โทนภาพที่ไม่มีความแม่นยำ’ โดยโปรไฟล์ที่ต่างกันออกไปตามค่ายกล้องและซีรี่ย์ของกล้องที่ใช้

Color Checker เป็นอุปกรณ์จานสีที่ใช้ร่วมกับโปรแกรมเพื่อทำให้ความเพี้ยนสีจากค่าปกติของกล้องไม่ว่าค่ายใดก็ตามมีความแม่นยำสมจริง

ความยากของวิธีการนี้ หนึ่งคือกล้องที่วางขายอยู่ตามท้องตลาดนั้นมีเป็นจำนวนมาก ทำอย่างไรจึงจะมีโปรไฟล์ของกล้องพวกนั้นทั้งหมดอยู่ในมือ จึงเป็นเรื่องยากแน่นอนที่ต้องซื้อมาเพื่อคาลิเบรตสีให้ตรงหรือแม้แต่วิธีที่ง่ายกว่านั้นคือการนำเอาไฟล์ของกล้องที่ถ่ายกับ Color Checker ตัวละ 1 ภาพ ก็ยังมีกล้องอีกมากที่เราไม่มีอยู่ดี

ความคลาดเคลื่อนของสีคือเรื่องปกติ

ไม่ใช่ว่ายอมรับกับความพ่ายแพ้ แต่เป็นความเข้าใจที่แท้จริงว่าเลนส์แต่ละตัวก็มีการให้สีกับภาพที่แตกต่างกัน ดังนั้นความคลาดเคลื่อนไม่ใช่เรื่องน่าเกลียดอะไรถ้าไม่มากจนดูไม่รู้ อีกทั้งการจูนสีของกล้องแค่ละค่ายก็ยังคงเป็นพื้นฐานของสีที่นำไปเคลือบทับด้วยพรีเซ็ตอีกที สิ่งที่เกิดขึ้นคือ พรีเซ็ตที่กดใช้ก็จะเป็นการทำงานร่วมกับเอกลักษณ์ของกล้องดิจิตอลตัวนั้นไปโดยปริยาย เช่น กล้อง Sony A7R ให้สีผิวอมเหลืองนิดๆ ในขณะที่ Canon แทบทุกตัวผิวอมชมพู ถ้าหากว่ากล้องสองค่ายนี้กดใช้พรีเซ็ตตัวเดียวกันยังไงภาพไม่เหมือนกันแน่นอน

ภาพจากกล้องแต่ละค่ายเมื่อกดใช้พรีเซ็ตยังไงผลลัพธ์ก็ไม่เหมือนกันแบบ 100%
Source : https://www.signatureedits.com/free-raw-photos/

'โปรไฟล์' คือสิ่งใหม่ที่เรานำมาใช้

ตั้งแต่ Adobe ได้แยกเอา ‘โปรไฟล์’ (Color Profile)  มาไว้เป็นส่วนบนสุดของ Basic Panel ข้อจำกัดของสเกลที่มีในโปรแกรมก็ถูกกำจัดออกไป เราไม่ต้องมานั่งพะวงหน้าพะวงหลังกับสีที่เพี้ยนมากเท่ายุคก่อนที่ไม่มีคุณสมบัตินี้ การรองรับ Color Lookup และ Mapping สีหลายๆแบบช่วยให้อะไรๆเป็นไปในทางที่ดีขึ้น แต่ก็แลกกับการทำสีที่ต้องละเอียดขึ้นมาก

คอนเซ็ปต์การใช้พรีเซ็ตแบบมีโปรไฟล์เป็นพื้นฐาน

ทุกๆแพคเกจที่ DozzDIY วางขาย (กรณีพรีเซ็ตฟิล์มที่ต้องใช้งานในลักษณะนี้) จะมีสองโฟลเดอร์ ได้แก่โฟลเดอร์พรีเซ็ตปกติของฟิล์มตัวนั้น และพรีเซ็ตโปรไฟล์ การนำเข้าคงไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรไปมากนักแต่ในรูปแบบการทำงานนั้นพรีเซ็ตจะเรียกหาโปรไฟล์อยู่เสมอ ถ้าหากนำเข้าไปไม่ครบสีที่ใช้ก็จะไม่สมบูรณ์แบบ สรุปได้ดังนี้

1. นำเข้าพรีเซ็ตในโฟเดอร์ของพรีเซ็ตตามปกติ
2. นำเข้าโปรไฟล์ในโฟเดอร์โปรไฟล์ ด้วยวิธีเดียวกับการนำเข้าพรีเซ็ตอีกครั้ง แต่คราวนี้โปรไฟล์จะไปปรากฎอยู่เป็นตัวเลือกใน Color Profile ที่ Basic Panel เอง

เกี่ยวกับความยืดหยุ่นในการใช้งาน

เนื่องด้วยโปรไฟล์สีมีสเกลให้ใช้งานในเรื่องของความหนักเบาของสี ตรงนี้ผู้ใช้กำหนดเองได้อย่างอิสระและเพิ่มความหลากหลายต่อไปได้อีกในส่วนการรื้อสเกล สำหรับเนื้อหาที่ว่า Profile สร้างขึ้นมาอย่างไรคงลึกเกินกว่ามือใหม่ที่จะศึกษาในตอนนี้ จำในส่วนที่ต้องใช้ให้ได้ไปก่อนแล้วเนื้อหาเชิงลึกจะเขียนให้อ่านอีกครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

การใช้งาน Masking Tools ฉบับสมบูรณ์

บทความสอนการใช้งานเครื่องมือกลุ่ม Masking Tools ทุกตัวอย่างละเอียดในแบบของ DozzDIY ที่กระชับและเข้าใจง่ายและครอบคลุมการเลือกพื้นที่ทุกรูปแบบ

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า