การวัดแสงเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่ช่างภาพควรทราบเป็นเรื่องแรกเมื่อต้องเรียนถ่ายภาพ เพราะมันช่วยให้กล้องดิจิตอลรู้ว่าปริมาณแสงที่พอเหมาะและตรงตามความต้องการของผู้บันทึกควรมีทิศทางอย่างไรในเฟรมภาพ หากขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแสงที่ปรากฎในภาพก็จะขาด ๆ เกิน ๆ จนผิดวัตถุประสงค์การนำเสนอได้
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดแสงนั้นช่างภาพจำเป็นต้องเข้าใจตัวแปรในการถ่ายภาพขั้นพื้นฐาน อาทิ ความไวแสง รูรับ และความเร็วชัตเตอร์เสียก่อน โดยการทำความเข้าใจภาพรวมเรื่องของ ‘ความสัมพันธ์ 3 ปัจจัยในการรับแสง’ ซึ่งได้กล่าวถึงผลกระทบซึ่งกันและกันหากมีความเปลี่ยนแปลงในค่าใดค่าหนึ่ง
โหมดกึ่งอัตโนมัติ “ความเร็วชัตเตอร์กำหนดเอง” และแผนการเรียนจากหลักสูตรหลักการถ่ายภาพพื้นฐานในปี 2025
สำหรับมือใหม่ทุกท่านที่เรียนกับ DozzDIY เราจะสอนสิ่งที่จำเป็นเบื้องต้นในการวัดแสงให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดโดยการฝึกใช้งานโหมดกึ่งอัตโนมัติอย่างโหมด รูรับแสงกำหนดเอง – Aperture Priority หรือ ความไวชัตเตอร์กำหนดเอง – Shutter Priority ซึ่งจะไม่มีการกล่าวถึงโหมดกำหนดเองเต็มรูปแบบ – Manual Mode เหตุผลก็เพราะว่าโหมดกึ่งอัตโนมัติจะทำให้ผู้เรียนลดความกังวลจากผลกระทบตัวแปรต่าง ๆ ที่เรียนไปแล้วยังจำได้ไม่ทั้งหมด ทำให้เรียนได้ง่ายขึ้น
ซึ่งเมื่อผู้เรียนของเราทุกท่านได้ศึกษาการวัดแสงด้วยโหมดกึ่งอัตโนมัติ จะสามารถต่อยอดความรู้เหล่านี้ไปสู่ทักษะที่สูงขึ้น และสามารถใช้งานโหมดกำหนดเองที่มีความซับซ้อนมากกว่าได้โดยไม่หลงทาง
ฮิสโตแกรมเป็นกราฟหลาย ๆ แท่งที่แสดงข้อมูลจากจุดที่มืดที่สุดของภาพไปยังจุดที่สว่างที่สุดของภาพ มือใหม่ทุกท่านไม่จำเป็นต้องรูว่าฮิสโตแกรมที่ดีควรมีรูปร่างอย่างไร เพียงแต่ต้องพิจารณสิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าเทียบกับสิ่งที่กล้องเห็นอยู่เสมอ ถ้าสว่างกว่าหรือมืดกว่ามีความเป็นไปได้ที่จะต้องกำหนดตัวแปรใหม่แค่นั้น
ฮิสโตแกรมของภาพถ่าย
กล้องไม่รู้ว่าอะไรขาวอะไรดำ รู้แค่ว่าจะทำให้ส่วนที่เลือกคำนวนจากโหมดวัดแสง ถ้าสว่างหรือมืดกว่าเทาจะถูกปรับให้กลายเป็นเทา ให้จินตนาการง่าย ๆ ว่าถ้าเรากำลังเล็งไปบนผืนผ้าสีกรมท่าก็ให้จินตนาการว่าสีกรมท่านั้นเมื่อถูกดูดสีสันออกไปหมดแล้ว สิ่งที่เหลือสว่างหรือมืดกว่าเทา เราจะพบว่ามันมืดกว่าเทาพอประมาณ ผลลัพธ์ก็คือกล้องจะทำให้สีกรมท่าสว่างขึ้น ทำให้กล้องไม่มีทางได้ค่าสีกรมท่าที่ตรงตามความเป็นจริง
สีกรมท่าที่กล้องปรับให้เราจะสว่างกว่าความเป็นจริง ถ้าจะบันทึกค่าสีนี้ต้องชดเชยลบ
การวัดแสงที่ถูกต้อง จึงต้องอาศัยการชดเชยแสงเพื่อควบคุมปริมาณให้ตรงตามการมองเห็นด้วยสายตาของเรานั่นเอง