‘โทนญี่ปุ่น’.. โทนที่ไม่มีคำตอบจริงหรือ?

หลายคนติดอกติดใจกับภาพถ่ายลักษณะฟุ้งๆ สีหวานๆที่พบได้บ่อยในประเทศญี่ปุ่นจนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากได้ภาพในลักษณะดังกล่าว ซึ่งพอสืบค้นข้อมูลกันจริงๆแล้วกลับไม่มีใครสามารถอธิบายคำว่า “โทนญี่ปุ่น” ให้เข้าใจกระจ่างชัดได้เลย บทเรียนในหลักสูตร เนื้อหาส่วนนี้คือสิ่งที่จะอธิบายถึงคำจำกัดความ ความหมาย และที่มาของคำว่า “โทนญี่ปุ่น” ครับ


เนื้อหาสำหรับผู้สนับสนุน
สนับสนุนเราเพื่อเข้าชมทุกเนื้อหา
Facebook Page : DozzDIY

‘โทนญี่ปุ่น’ คืออะไร?

โทนญี่ปุ่นก็คือภาพถ่ายที่มาจากประเทศญี่ปุ่น พูดแบบนี้แล้วชวนให้ปวดหัวเพราะภาพที่มาจากประเทศญี่ปุ่นแต่ละภาพเกิดจากช่างภาพหลายล้านคน การตกแต่งหรือกระบวนการบันทึกก็ต่างกันออกไปหลายล้านแบบ ยิ่งในยุคการบันทึกภาพในระบบดิจิตอลด้วยแล้วความอิสระในการเลือกแนวทางภาพถ่ายของตนเองเป็นหน้าที่ของผู้บันทึกก็ยิ่งยากในการให้คำจำกัดความเข้าไปใหญ่ เราจึงต้องย้อนไปยังยุคที่ช่างภาพยังใช้กล้องฟิล์ม ซึ่งมีข้อจำกัดของการล้างอัดและเป็นการเล่นกันในกลุ่มที่ไม่กว้างเท่าปัจจุบัน

เราจะทำโทนภาพแบบญี่ปุ่นได้ต้องเข้าใจอะไรบ้าง

การค้นหาต้นกำเนิดของภาพถ่ายโทนญี่ปุ่น

อิทธิพลการทำภาพที่สวยงามคลาสสิคในแบบญี่ปุ่นนั้น ไม่ต่างอะไรกับการถวิลหาเสน่ห์ของภาพถ่ายยุคเก่าที่สวยงามและอาจจะไม่คมชัดหรือมีสีสันจัดจ้านแบบภาพถ่ายดิจิตอล ทว่านุ่มนวลและดูได้ไม่มีเบื่อ สิ่งเหล่านี้เราจะมาหากันใน Flickr.com เกี่ยวกับข้อมูลของฟิล์มที่ผลิตขึ้นในประเทศญี่ปุ่นสองค่ายด้วยกัน นั่นคือ Fuji และ Agfa ครับ

เริ่มต้นสืบค้นภาพโทนฟิล์มของญี่ปุ่นจาก Flikr

ภาพถ่ายจากฟิล์ม Fuji

เท่าที่พิจารณาจากข้อมูลฟิล์มที่ใช้สืบค้นภาพถ่ายกลางแจ้ง พบว่าสีสันของฟิล์มจาก Fuji ไม่ว่าจะเป็น FujiColor 400H, FujiColor 800Z, FujiColor 160C และอื่นๆ มีความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์คล้ายกันคือความอิ่มตัวของสีที่ค่อนข้างมาก คอนทราสต์ที่แรงไปทางสีพาสเทลซึ่งเป็นสีในกลุ่มสว่าง และสีสันของฟูจิที่มักทำให้สีเขียวที่ควรจะมีในภาพออกไปทางเหลือง เช่น เขียวอมเหลือง เป็นต้น

ภาพจากฟิล์ม Fuji 400H [ที่มา]

ภาพถ่ายจากฟิล์ม Agfa

Agfa เองแม้เป็นฟิล์มสัญชาติเยอรมันแต่ก็ไม่น้อยที่ผลิตขึ้นในประเทศญี่ปุ่น (โดยใช้คาแรกเตอร์ Agfa) ไม่ว่าจะเป็น Agfa Vista ที่เหาะสำหรับถ่ายภาพวิวที่สีสันสดใสหรือกลุ่ม Optima ที่ยกระดับขึ้นมาในเกรดมืออาชีพมากขึ้น ซึ่งเท่าที่ลองสำรวจดูในฟิล์มหลายๆซีรี่ย์ของ Agfa อมจะให้โทนภาพที่ร้อนแต่กลับหวานในแบบของสีฟ้าที่เป็นฟ้าเข้ม และสีแดงอมชมพู

ภาพจากฟิล์ม Agfa Vista Plus 400 [ที่มา]

ทิศทางของแสงในประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในละติจูดที่ 20 ซึ่งนับว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันออกสุดในโลก ในแต่ละวันพระอาทิตย์จะชึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก และอยู่ทิศที่ไม่ได้ทำมุมเจิดจ้าเท่าแสงอาทิตย์ในประเทศเขตศูนย์สูตรอย่างประเทศไทย ดังนั้นท้องฟ้าที่ประเทศญี่ปุ่นจึงมีความเข้มข้นของฟ้าน้ำเงินค่อนข้างจัด และถ่ายภาพได้นุ่มนวลกว่าในสภาพเวลาที่เท่ากัน อย่างไรก็ตามการถ่ายภาพให้เหมือนกับที่ญี่ปุ่นนั้นก็ทำได้เพียงแค่หลีกเลี่ยงช่วงเวลาแดดจัดหรืออยู่ในที่ๆมีการกระจายแสงนุ่มกว่า เช่น แสงจากกระจกบานใหญ่

ต่อให้ไม่มีเมฆอยู่เลย ท้องฟ้าที่ประเทศญี่ปุ่นก็ยังคงมีสีฟ้าเข้มสวยงามอยู่ดี [ที่มา]

แล้วเราจะทำภาพแบบนั้นได้ไหม?

ตอบว่า ‘ได้’ เพราะภาพถ่ายดิจิตอลในปัจจุบันมีการเก็บช่วงข้อมูลแสงที่มากกว่ากล้องฟิล์ม การลดทอนข้อมูลบางอย่างและการตกแต่งแก้ไขจึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับผู้ที่มีทักษะประสบการณ์ในเครื่องมือที่ตนใช้ หรือในรูปแบบฟิลเตอร์สำเร็จรูปที่มีอยู่ทั่วไปก็ใช้งานได้ไม่ยาก เพียงไม่กี่คลิกเท่านั้น


เนื้อหาสำหรับผู้สนับสนุน
สนับสนุนเราเพื่อเข้าชมทุกเนื้อหา
Facebook Page : DozzDIY

สำหรับ DozzDIY เราได้จัดทำส่วนของพรีเซ็ตสำหรับ Lightroom Classic CC ในหมวดฟิล์มแยกเป็นค่าย ไม่ว่าจะเป็น Agfa หรือ Fuji ต่างก็เลียนเสมือนสีที่มีความแม่นยำสูงเช่นเดียวกัน หากสนใจอาจจะต้องติดต่อทางข้อความเพจหรือ Line Official : “@DozzDIY” เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการทำภาพเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

การใช้งาน Masking Tools ฉบับสมบูรณ์

บทความสอนการใช้งานเครื่องมือกลุ่ม Masking Tools ทุกตัวอย่างละเอียดในแบบของ DozzDIY ที่กระชับและเข้าใจง่ายและครอบคลุมการเลือกพื้นที่ทุกรูปแบบ

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า