Lightroom CC : แฟลร์ประดิษฐ์ ใน Lightroom CC

แฟลร์ (Flare) คือปรากฏการณ์ที่แสงสะท้อนในเลนส์เนื่องจากมีการหันเข้าสู่แหล่งกำเนิดแสงที่มีความเข้มมากๆ อาการของแฟลร์ทำให้เกิดแสงลักษณะต่างๆแทรกในภาพ แน่นอนว่าบางคนมองอาการเหล่านี้เป็นข้อดีเสียอย่างนั้น ซึ่งในบทความนี้เราจะมาสร้างแฟลร์เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับการแต่งภาพ Lightroom  กันครับ

แฟลร์คืออะไร? 

เชื่อว่าสักครั้งหนึ่งในชีวิตการถ่ายภาพหรืออาจจะอีกหลายๆครั้ง ผู้เรียนจะต้องทำความรู้จักกับแฟลร์ (จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามที) แฟลร์เป็นอาการของแสงที่สะท้อนไปมาในระบบกลไกของเลนส์เนื่องจากมีการหันหน้าเข้าหาแสงที่มีความเข้มสูงในมุมที่พอเหมาะ เมื่อแสงดังกล่าวตกกระทบไปยังเซ็นเซอร์จะทำให้เกิดลักษณะเหมือนจุดของแสงใหญ่ๆ รายละเอียดในนั้นจะมีความซีดจางและเปรียบต่างต่ำ

รูปร่างของแสงแฟลร์ขึ้นอยู่กับรูปร่างของไดอะแฟรมรูรับแสงของเลนส์ เลนส์ชนิดไหนให้โบเก้อย่างไรแฟลร์ก็จะเป็นอย่างนั้น จึงมีแฟลร์หลากหลายรูปแบบมากมาย ตั้งแต่วงกลมไปจนถึงลักษณะเป็นเหลี่ยมๆ

หลายคนมองว่าข้อบกพร่องนี้หรือปรากฏการณ์นี้เป็นสิ่งที่สวยงามเพราะช่วยเพิ่มอารมณ์ให้กับภาพจึงหาวิธีสร้างขึ้นมา บางคนพยายามทำให้มันเกิดขึ้นแต่ก็ยากเนื่องจากเลนส์ดีๆในปัจจุบันเคลือบสารเคมีต่อต้านการสะท้อนภายในเลนส์ ทำให้เราพบอาการนี้น้อยลงเรื่อยๆนั่นเอง

flare

_DSF6123_flare

แสงแฟลร์จากเลนส์ที่เกิดขึ้นจริง

แฟลร์ประดิษฐ์ใน Lightroom CC

แฟลร์ที่เกิดขึ้นจากเลนส์โดยตรงอาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นที่น่าพอใจสำหรับช่างภาพหลายๆคน พวกเขาจึงเลือกถ่ายภาพมาให้สมบูรณ์ครบถ้วนแล้ววางแผนว่าควรมีแฟลร์ในจุดที่กำหนดเอาไว้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ผิดในการขยายขีดความสามารถเพื่อสร้างสรรค์ภาพ แต่ถึงอย่างนั้นการศึกษาทิศทางของแสงหรือการวางตำแหน่งของแสงแฟลร์ประดิษฐ์อย่างไรในภาพให้แนบเนียนที่สุดก็นับเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่ง

และตอนนี้เราได้เรียนรู้แล้วว่าทิศทางของแฟลร์นั้นมักเกิดเป็นเส้นตรง มีความฟุ้งกระจาย และเกิดความเปรียบต่างที่ต่ำในบริเวณแสงเหล่านั้น นอกจากนี้การสังเกตสีลักษณะธรรมชาติของแสงแฟลร์ที่เกิดขึ้นทำให้เราเลือกสีที่จะใช้เลียนแบบได้ใกล้เคียงความจริงเข้าไปอีกด้วย

ในแสงแฟลร์จริงๆมีอะไรซ่อนอยู่นะ ใช้การสังเกตให้เป็นประโยชน์สิ!

แฟลร์จริงๆนั้นมีความเปรียบต่างต่ำ (-Contrast) มีลักษณะเป็นวง (ค่า Feather ไม่มาก) ทำให้บริเวณเอฟเฟคมีความฟุ้งเบลอ (-Sharpness และ -Clarity) มีความสว่างมากกว่าบริเวณอื่น (+Exposure) และมีสีที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นสีส้ม, ม่วงแดง, เหลือง, เขียว ฯลฯ (ใช้ตัวเลือก Color) และข้อสังเกตอีกอย่างก็คือวงแฟลร์หลักที่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงจะขนาดเล็ก, ทึบและสีเข้มข้นกว่าวงแฟลร์ด้านนอก เป็นต้น


 

ขั้นตอนการสร้างแฟลร์ประดิษฐ์ใน Lightroom

1 กำหนดคุณสมบัติของพู่กันเฉพาะจุด

งานนี้เราจะใช้ Adjustment Brush (K) เพื่อการสร้างวงรัศมีขึ้นมา อย่าแปลกใจว่าทำไมจะสร้างวงแล้วไม่ใช้ Radial Filter (Shift + M) เหตุผลก็คือมันเร็วกว่า เอาล่ะ.. เริ่มปรับค่าจากข้อมูลที่เราได้มา โดยที่เริ่มจาก Exposure เป็นบวก, Contrast เป็นลบ, Highlight อาจจะบวกหรือลบก็ได้, Saturation เป็นลบ (ความอิ่มตัวต่ำกว่า), Clarity เป็นลบ (ความชัดเจนต่ำกว่า)

ส่วนค่าความฟุ้งกระจาย Feather ให้มีค่าเป็น 0 ไว้เพื่อที่จะแสดงวงของแฟลร์ได้ชัดเจน หรือจะบวกลบเท่าไหร่ก็ได้ตามต้องการ และสุดท้ายคือค่า Color ที่เอาไว้ใส่สี

*หมายเหตุ : ใน Lightroom CC เวอร์ชั่น 2015.2.1 (อัพเดทเมื่อตุลาคม 2558) จะมีสเกล White, Black และ Dehaze แทรกมาด้วย อาจจะใช้ Dehaze เป็นลบด้วยก็ได้ครับ

brush

brush3

ขอขอบคุณภาพสำหรับการทดสอบจาก Diamond Image

2. สร้างแฟลร์ให้กลมกลืนกับภาพ

ภาพที่จะใส่แฟลร์แล้วสวยต้องเป็นภาพที่เอื้ออำนวยต่อการมีแสงแฟลร์ในภาพด้วย ไม่ใช่ว่าภาพอะไรๆก็เอามาใส่แฟลร์ได้ไปทั้งหมด ตัวอย่างภาพที่เหมาะสำหรับการเกิดแฟลร์ ได้แก่ ภาพถ่ายย้อนแสงหรือภาพที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ (แต่กลับไม่มีแฟลร์) หรือภาพในโทนสว่างมากๆ เป็นต้น

การใส่แฟลร์นั้นมักจะมีการไล่วงเล็กใหญ่ ถ้าไม่เข้าใจทิศทางก็ควรสังเกตและศึกษาจากแหล่งค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับแฟลร์ ลักษณะโดยธรรมชาติของแฟลร์ก็ดีครับ เช่น Wikipedia ภาคภาษาอังกฤษ หรือบทความเกี่ยวกับเลนส์

ข้อจำกัดอย่างหนึ่งที่จะไม่พูดเสียไม่ได้เลยนั่นคือ Lightroom ทำได้แต่แสงแฟลร์ที่เป็นวงกลมซึ่งถ้าผู้เรียนจะสร้างแฟลร์ที่มีความหลากหลายมากกว่านี้ต้องศึกษา Photoshop เพิ่มเติมนะครับ

3. เก็บรายละเอียดและตรวจสอบ

DSC_2141-2

ภาพต้นฉบับ (Before)

DSC_2141

เมื่อปรับแต่งเพิ่มเติมและใส่แสงแฟลร์แล้ว (After)


 

ถ้าเราหมั่นสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการทำภาพเราก็จะค้นพบเทคนิคใหม่ๆที่น่าตื่นเต้น ใครจะรู้ว่าการใส่แฟลร์ง่ายๆทำใน Lightroom ก็ได้ อย่าลืมฝึกฝนพื้นฐานและใช้งานเครื่องมือต่างๆให้คล่อง แล้วพบกับเทคนิคดีๆในส่วนของ Lightroom CC : Master Class Workshop ครับ


บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า