เหตุผลที่ไม่ควรแปลง RAW ให้อยู่ในรูป DNG

หลายๆสถาบันซึ่งรวมไปถึง DozzDIY เองเราก็เคยยกยอปอปั้นถึงคุณสมบัติดีๆเมื่อผู้เรียนเริ่มแปลงไฟล์ภาพ RAW ให้อยู่ในรูปแบบ DNG มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการรองรับไปเผื่อถึงอนาคตของค่ายกล้องที่ล่มสลาย หรือการที่ไฟล์ภาพมีขนาดเล็กลงเผื่ออนาคตไม่มีที่จะเก็บ แต่ก็มีอีกหลายเหตุผลที่ไม่ควรแปลงให้เป็น DNG ส่วนเหตุผลจะฟังขึ้นหรือไม่นั้นต้องตามมาแล้วล่ะครับ

การแปลงไฟล์จาก RAW เป็น DNG ก่อนนำเข้าภาพใช้เวลามากกว่าปกติ

การนำไฟล์ภาพจากกล้องถ่ายภาพดิจิตอลเข้ามายังโปรแกรม Adobe Lightroom Classic CC ด้วยการแปลงไฟล์​ RAW ให้อยู่ในรูปของ DNG นั้นใช้เวลาในการแปลงประมาณหนึ่ง อาจจะ 5 วินาทีต่อภาพหรือน้อยกว่า ตรงนี้ยังไม่เท่าไรหากผู้เรียนนำเข้าไฟล์ภาพที่ละ 10-20 ภาพ แต่ถ้าเกิดว่าไม่ใช่ขึ้นมาล่ะ (เป็นสถานการณ์โดยส่วนใหญ่ซะด้วยสิ) ก็จะใช้เวลานานโขอยู่ทีเดียว ซึ่ง Workflow ของผู้เรียนถ้าไม่ใจเย็นมากขนาดนั้นก็ต้องทำให้เกิดความหงุดหงิดขึ้นมากันบ้างล่ะ

 

คิดดีแล้วหรือไม่ที่จะแปลงภาพถ่ายให้เป็น DNG

ไม่สามารถใช้ซอฟท์แวร์ของทางค่ายได้อีกต่อไปกับภาพนั้น

ปัญหานี้จะเกิดขึ้นทันทีหากแปลงไฟล์ต้นฉบับให้อยู่ในภาพ DNG เอาง่ายๆอย่างโปรแกรมที่ผู้สอนใช้ในการเปิดไฟล์ภาพอย่าง Sigma Photo Pro ที่เอาไว้เปิดไฟล์ RAW นามสกุล .X3F ซึ่งถ้าเล่นบันทึกเป็นไฟล์ DNG มาตั้งแต่หลังกล้องไม่เพียงแค่ค่าความยืดหยุ่นในการตกแต่งไฟล์จะลดลงแลกกับเปิดใน Lightroom ได้ นอกนั้นก็ไม่มีข้อดีอะไรแล้ว หรืออย่างค่าย Nikon ที่ไม่สามารถใช้คุณสมบัติพิเศษอย่าง Nikon Active D-Lighting เมื่อแปลงเป็น DNG นั่นก็เช่นกัน

อ่านข้อมูลลิขสิทธิ์ภาพไม่ได้ถ้าใช้โปรแกรมอ่าน XMP ตัวอื่น

อย่างที่บอกว่าโปรแกรมอื่นก็มีคุณสมบัติในการอ่านไฟล์พ่วง XMP ซึ่งถ้าแปลง RAW เป็น DNG ไปแล้วก็จะไม่มีไฟล์ที่ว่านี้ทันที ทีนี้ล่ะให้ดาวกับภาพไว้กี่ดวงหรือข้อมูลไฟล์ภาพที่เปลี่ยนแปลงเอาไว้ครั้งอยู่ใน Lightroom ก็จะถูกอ่านไม่ได้แล้วจะทำยังไงล่ะทีนี้

ราคาของพื้นที่จัดเก็บลดลงอย่างมากในทุกๆปี

หลายปีก่อนผู้สอนเดินไปร้านคอมพิวเตอร์เพื่อซื้อเครื่องเล่น MP3 ขนาด 128MB ง่อยๆเครื่องหนึ่งในราคา 1,650 บาท หลังจากนั้นไม่กี่ปีราคาเอามาเลหลังขายไม่ถึง 100 บาท ก็ไม่รู้ว่าการเพิ่มขึ้นของพื้นที่หรือเทคโนโลยีที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็วจนเราตามแทบไม่ทันเนี่ย จะส่งผลอะไรกับการลดลงของพื้นที่เล็กๆน้อยๆเมื่อแปลง RAW เป็น DNG กันล่ะ แทบไม่ต้องพูดต่อเลยว่าเดี๋ยวนี้เราจะเข้าสู่ยุคเทระไบต์ในการเก็บข้อมูลกันไปแล้ว

DNG เป็นแค่มาตรฐานของ Adobe เท่านั้นในตอนนี้

นึกไว้เสมอว่า DNG ไม่ใช่มาตรฐานอุตสาหกรรม หากแต่เป็นมาตรฐานของ Adobe เพียงเท่านั้น ถามว่าคุณรัก Adobe มากแค่ไหนมันก็ขึ้นอยู่ตราบเท่าที่คุณยังคงรู้จักและใช้งานมันใช่ไหมล่ะ ผู้สอนเองบางทีก็เกลียดขี้หน้าโปรแกรมของ Adobe ที่ไม่รองรับไฟล์บางไฟล์ทั้งๆที่อยากจะเอามาเปิดมากจนต้องหันกลับไปใช้โปรแกรมค่ายอื่นแล้วแทบจะลืม Lightroom ไปในบางที ว่าไปอิสระในการเลือกใช้งานโปรแกรมขึ้นอยู่กับตัวเราล้วนๆว่าจะให้อะไรมาครอบงำความนิยมชมชอบในขณะนั้นมากกว่า

โปรแกรมอื่นๆที่อ่านข้อมูลลิขสิทธิ์จะพลาดการอ่านไฟล์พ่วง .XMP ไปเลยถ้าเซฟภาพนี้ไปเปิดต่อแบบ DNG

การแชร์ไฟล์ DNG จะต่างอะไรกับการให้ลิขสิทธิ์ของเราต่อคนอื่น

สำหรับเรื่องนี้ DozzDIY มองว่าเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะคิดว่าแบ่งปันไฟล์ต้นฉบับไปให้ทำๆกันก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลยนี่ เพราะถ้าเกิดเรื่องฟ้องร้องกันขึ้นมาการพิสูจน์ว่าใครเป็นเจ้าของนั้นก็ไม่ง่าย การเซฟให้อยู่ในรูปของ DNG นั้นโปรแกรม Adobe Lightroom Classic จะทำการยุบรวมเอา ‘ภาพต้นฉบับ + ค่าการปรับแต่ง’ ไว้เพียงไฟล์เดียวนั่นก็คือ DNG เวลาจะแชร์ให้คนอื่นก็เท่ากับแชร์รูปต้นฉบับไปด้วย ซึ่งถ้าจะส่งแค่ไฟล์ค่าปรับแต่งเพียงอย่างเดียวไม่ให้รูปติดไป ก็ไม่ต้องไปแปลงเลยจะดีกว่า ส่งไฟล์ Sidecar แบบ XMP ไปอย่างเดียวก็พอแล้ว เบากว่ามากด้วย

อีกทั้งการเซฟในแต่ละครั้งระหว่าง XMP กับ DNG ก็แตกต่างกัน ซึ่ง DNG ใช้เวลามากกว่านิดหน่อย

LR Classic CC : Reverse-Learning
หลักสูตรแต่งภาพ Lightroom พื้นฐานสำหรับมือใหม่

ดูรายละเอียด

LR Classic CC : Master Class
หลักสูตรที่จะช่วยรีดศักยภาพการใช้ Lightroom ของคุณ

ดูรายละเอียด

LR Classic CC : Portrait Retouching

สำหรับการตกแต่งภาพถ่ายบุคคลโดยเฉพาะ

ดูรายละเอียด

 

 

ถึงตรงนี้ผู้เรียนก็คงเริ่มคิดในอีกแง่แล้วว่าควรจะแปลงหรือไม่แปลงไฟล์ภาพดิบเป็น DNG ดีนะ ซึ่ง DozzDIY เราก็ให้อิสระทางความคิดอย่างเต็มที่ในการถามค้านความรู้ที่ได้สอนไป ทุกคนมีอิสระในการเลือกกระบวนการของตัวเอง แล้วผู้เรียนล่ะครับเลือกไว้อย่างไร

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า