เลนส์ไวแสง : สุดยอดปรารถนาของช่างภาพทุกค่าย
ผู้ที่มีพื้นฐานในการถ่ายภาพมาบ้างคงพอทราบแล้วว่า ‘รูรับแสง’ (Aperture) เป็นปัจจัยหนึ่งเพื่อใช้กำหนดปริมาณแสงที่จะหลั่งไหลไปยังเซ็นเซอร์รูปภาพ ยิ่งเราเปิดรูรับแสงให้กว้างมากเท่าไร เซ็นเซอร์ก็จะบรรจุแสงนำไปประมวลผลในขั้นตอนการสร้างภาพถ่ายได้เร็วขึ้นเท่านั้น บทความนี้จึงมีการพูดถึงเลนส์ไวแสงในแง่ของความหมาย ความสามารถ และการเปรียบเทียบกับเลนส์แบบเดียวกันที่มีไวแสงน้อยกว่า

สถานการณ์แสงน้อยมักบีบบังคับให้ช่างภาพจนมุมอยู่กับรูรับแสงกว้างสุดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อย ยิ่งตัวแปรต่างๆไม่ว่าจะเป็นความเร็วชัตเตอร์เพื่อการควบคุมภาพให้นิ่งและความไวแสงที่ให้คุณภาพแย่เกินกว่าจะรับไหว การเพิ่มขนาดรูรับแสงจึงเป็นทางเลือกสุดท้าย

จุดพลิกผันของการได้ภาพที่มีคุณภาพมากกว่าคือการมีรูรับแสงทีมากกว่า แต่จะคุ้มหรือไม่กับเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น

สิ่งที่ชี้วัดว่าจะได้ภาพหรือถ้าไม่มีขาตั้งหรือแฟลช ก็คือความเร็วชัตเตอร์ที่มีในค่ารูรับแสงนั้นเรียกได้ว่ายิ่งกว้างก็ยิ่งดี เลนส์ไวแสงจึงเป็นสุดยอดปรารถนาของช่างภาพทุกคนในทางยาวโฟกัสที่ตัวเองถนัดไม่ว่าจะใช้กล้องถ่ายดิจิตอลของค่ายใดและไม่ว่าจะมีสนนราคาที่แพงขนาดไหนก็ตาม หากไม่เกินไขว่คว้าแล้วช่างภาพทุกคนอยากได้มาครอบครองทั้งนั้น

สำหรับ DozzDIY ซึ่งเราใช้ระบบของเลนส์ในไลน์ของ Sigma เป็นหลัก พิจารณาจากผังของเลนส์ที่มีอยู่ทั้งหมด 3 เกรดด้วยกัน คือ Contempolary (C), Art (A) และ Sport (S) โดยที่เกรดสูงสุดของค่ายที่มีคือ Art เป็นเลนส์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานในระดับมืออาชีพที่เคร่งครัดกับความเป็นที่สุดของคุณภาพโดยเฉพาะ

กลุ่มเลนส์ระดับแถวหน้าสุดของไลน์การผลิต Sigma Art (อัปเดตมีนาคม 2020)

ซึ่งถ้าถามเราว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องใช้เลนส์ไวแสงในทุกระยะเท่าที่ทำได้ขอตอบว่าแล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ ยกตัวอย่างเช่น สมมติเลนส์ 50mm f/2.8 มีราคา 19,900 บาท กับ 50mm f/1.2 อาจจะมีราคาสูงถึง 36,900 บาทด้วยเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้รูรับแสงกว้างมากขึ้นกระบวนการผลิตก็ยุ่งยากขึ้นและปัจจัยอื่นอีกนั่นเอง

และนี่คือข้อดีข้อเสียของเลนส์ไวแสงที่จะได้มาทันทีหลังเลือกใช้งาน

โอกาสในการได้ภาพ

ลองนึกถึงสถานการณ์ที่เรารับบทบาทเป็นช่างภาพงานแต่งงานของบ่าวสาวคู่หนึ่งในโบสถ์ โดยที่ระบบในขณะนั้นเป็นของ Nikon ซึ่งเลนส์ที่กำลังใช้อยู่ คือ AF-S NIKKOR 85mm f/1.8G (ราคาประมาณ 15,900 บาท) สถานการณ์นั้นความเร็วชัตเตอร์ที่ ISO ยอมรับได้สูงสุดแล้วคือ 1/80 วินาที มีความสุ่มเสี่ยงต่อการได้ภาพเบลอสูง (ตามหลักการของหลักสูตร Handheld Mastery ที่ความเร็วชัตเตอร์ต้องมากเป็น 2 เท่ากว่าทางยาวโฟกัสภาพจึงจะมีโอกาสชัดที่ 50% ขึ้นไป) กับเลนส์อีกตัวคือ AF-S NIKKOR 85mm f/1.4G (ราคาประมาณ 43,576 บาท) ซึ่งไวแสงกว่าประมาณ 1 สต็อป ความเร็วชัตเตอร์ที่ได้คือ 1/160 วินาที ซึ่งโอกาสในเสี้ยววินาทีนั้นมีสูงกว่า

การละลายพื้นที่นอกโฟกัส

ตรงนี้เป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย การละลายฉากด้วยความชัดที่ตื้นมากขึ้นทำให้วัตถุในโฟกัสมีความโดดเด่นสูงและขจัดความวุ่นวายต่อสิ่งนอกโฟกัสได้ยอดเยี่ยม ในขณะเดียวกันก็ยากขึ้นและไม่ค่อยจำเป็นที่จะได้ใช้กรณีของวัตถุหรืองานที่ต้องการความคมชัดแบบครอบคลุมมากๆเช่นเดียวกัน และจะยากขึ้นไปกว่านั้นอีกถ้ายิ่งเข้าใกล้วัตถุในโฟกัส เพราะระยะชัดจะยิ่งบาง

ยิ่งทางยาวโฟกัสเยอะด้วยแล้วยิ่งละลายหนักเข้าไปอีก

ขนาดและน้ำหนัก

เลนส์ไวแสง มักเป็นเลนส์ระดับแนวหน้าที่มีทางยาวเดียวกล่าวคือซูมไม่ได้ หากเทียบกับเลนส์ทางยาวเดียวแต่รูรับแสงแคบกว่า ด้วยขนาดกับน้ำหนักคงไม่เท่าไร แต่ถ้าเทียบกับเลนส์ซูมแล้วล่ะก็อาจเบากว่าเพราะไม่ต้องเพิ่มชุดชิ้นเลนส์แบบขยับได้เข้าไปในกระบวนการทำงาน

คุณภาพของภาพ

เลนส์ไวแสงเป็นเลนส์แถวหน้าที่มักได้รับเทคโนโลยีดีที่สุดของค่ายในการพัฒนาขณะนั้นติดมาด้วยเสมอ เช่น สถานะของเลนส์เป็นแบบนาโนเทค, การเคลือบสารกันสะท้อนแบบพิเศษเอาไว้ หรือชิ้นแก้วลดการกระเจิงแสงภายในตัวเลนส์ ก็ด้วยราคาที่สูงกว่าขนาดนั้นย่อมที่จะมีอะไรที่ดีกว่าติดมาด้วยเป็นธรรมดา

เลนส์ไวแสงหรือเลนส์ไพร์มมักมีโครงสร้างและวัสดุที่ทำออกมาดีกว่า
(ตัวอย่างของ Sigma 50mm f/1.4 DG HSM Art)

ความยากง่ายในการทำงาน

กับเลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวกันทำได้ง่ายกว่า แต่เปรียบเทียบกับเลนส์ซูมนั้นยากกว่าเพราะเลนส์ซูมไม่ต้องขยับมากมายกว่าจะพบกับระยะที่เหมาะสมในการบันทึก แต่ไพร์มเลนส์อย่างเลนส์ไวแสงไม่มีตรงนี้ ก็ต้องซูมเท้าเอาเอง

เพื่อคุณภาพสูงสุด จะยอมหรือไม่ที่ต้องเดินเข้าออกเอาเองเพื่อระยะภาพที่ดี

ความคมชัด

มักคมชัดน้อยกว่าเลนส์ที่มีรูรับแสงแคบกว่า ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูด้วยว่าอยู่ในเงื่อนไขการเปรียบเทียบแบบเดียวกันหรือไม่ เทคโนโลยีชิ้นแก้วแบบเดียวกันหรือไม่ (ซึ่งกรณีพิเศษอย่างเซ็นเซอร์ Foveon ของ Sigma อันนี้ไม่มีผลเพราะคมตั้งแต่ f กว้างสุด

ในระบบ Full-Foveon อย่าง Sigma SD1 Merrill ให้ภาพที่ f/1.4 ของ Sigma 105mm DG HSM Art ระเบิดความคมชัดตั้งแต่ f กว้างสุดเลยทีเดียว

ปัญหาของแสงกลางแจ้ง

ข้อเสียอย่างหนึ่งของเลนส์ไวแสงอย่างที่บอกตามชื่อ เมื่อเจอแสงปริมาณมากอย่างบริเวณกลางแจ้งยอมที่จะทำให้ความเร็วชัตเตอร์พุ่งสูงทะลุเพดานจนภาพติดสว่าง และไม่สามารถถ่ายภาพที่แสดงความเลื่อนไหลในการเคลื่อนที่ได้เลยอาจจะต้องเสียเงินซื้อฟิลเตอร์ลดแสงมาปิดหรือใช้ฟังก์ชั่น ND (Natural Density Filter) ในการลดแสง

ถ้ามีงบไม่จำกัดเราก็แนะนำให้เลือกเลนส์ไวแสงไปเลยจะครอบคลุมปัญหาแสงน้อยได้ดี แต่สำหรับคนที่มีงบจำกัดให้พิจารณาถึงงานที่ทำเสียก่อนว่าจำเป็นมากแค่ไหน ถ้าถ่ายงานสินค้าในสตูดิโอเลนส์ไวแสงอาจจำเป็นน้อยกว่า เอาไว้จนกว่าจะมีงบซื้อก็ทำงานที่จำเป็นไปก่อนแล้วเมื่อมีโอกาสก็ค่อยซื้อมาเล่นได้ครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

แนวคิดการแต่งภาพ ตอนที่ 02/99

แนวคิดในกระบวนการตั้งแต่เริ่มถ่ายภาพไปจนถึงการตกแต่งภาพถ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายโดยจะกล่าวถึงในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้นอย่างง่าย

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า