อิทธิพลที่ทำให้เราตัดสินใจซื้อกล้องในขณะนั้น

กล้องถ่ายภาพดิจิตอลตัวแรกในชีวิตของผู้สอน
คือ Sony T9 ครับ

จำไม่ผิด
ราคา 29,990 บาทหรืออย่างไรนี่ล่ะ
..ปัจจุบันก็ยังไม่พัง..

แต่ทว่า.. ไม่ได้ใช้แล้ว

ตัวถัดมาคือ Fuji X100..
..ถัดจากนั้นอีก ก็คือ Fuji X-Pro1
..แล้วย้ายมา Sigma ถาวร

จนถึงปัจจุบัน

กล้องทุกๆตัวที่ผู้สอนเลือกใช้นั้น
มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน

ไม่เคยตกอยู่ในอิทธิพลความเห็นใคร

พูดง่ายๆก็คือ
ถ้ากล้องไม่ดี..
..ก็เป็นผลมาจากการตัดสินใจของเรา

เหมือนเข้าร้านตัดผม

แล้วดึงดันเลือกทรงที่ไม่เข้ากับใบหน้า
..แต่เราพอใจ

ถึงจะออกมาห่วยบรม
..อย่างน้อยก็ไม่มีใครให้กล่าวโทษ

ทีนี้..
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า ‘ใช้กล้องอะไรมา’

แต่อยู่ที่ว่า…
…อะไรคืออิทธิพลที่ทำให้เราตัดสินใจซื้อกล้องในขณะนั้น?

มนุษย์แทบทุกคน
มีจิตปรุงแต่ง
เจือลงไปในสิ่งที่ตัวเองกำลังตัดสินใจอยู่เสมอ

เราเลือกที่จะเอาความชอบความไม่ชอบ
…ความพึงพอใจ.. ความรังเกียจ..

มีม่านของอคติ
…กรองลงไปก่อนเจอเนื้อแท้ของสาระนั้นๆตลอดเวลา

หากเมื่อใด…ไร้ซึ่งสติสัมปชัญญะ’..
…ในพุทธศาสนากล่าวว่า เป็นความระลึก

..ความรู้สึกตัวอยู่เสมอแล้ว

ถ้าทำไปโดยไม่รู้ตัว
…ก็คือประมาทนั่นเอง

แล้วคนส่วนใหญ่ที่ผู้สอนพบมา
ก็ซื้อกล้องโดยความประมาทเป็นจำนวนมากจริงๆ

มากจนน่ากลัวเลยล่ะ

….

ตัวอย่างแรก…

นาย A ติดตามบล็อกเกอร์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง
…จะเก่งจริงหรือไม่จริงไม่แน่ใจ

…แต่คนติดตาม… เรียกว่าหลักแสน..
ก็น่าเชื่อถือล่ะนะ

เพราะตัวเลขเยอะ

การรีวิวอุปกรณ์ในแต่ละครั้งของบล็อกเกอร์ท่านนี้
ทำให้สินค้าที่เขาโปรโมท…

ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก…

ข้อดีของสินค้าถูกพูดออกมา…
…ข้อเสียไม่ถูกโจมตี
…แต่เลือกที่จะไม่พูด

ด้วยการสื่อสารที่น่าฟัง
โปรดักชั่นที่ดี

วิธีคิด.. ทัศนคติ…
…ความภักดีต่อบล็อกเกอร์จากแฟนๆมากมาย

โดนใจนาย A ไปเต็มๆ…

จนเชื่อว่ากล้องนี้จะต้องดีอย่างมากแน่ๆ
..แล้วก็ซื้อมาในที่สุด..

แล้วก็พลาดมาในที่สุด

ตัวอย่างที่สอง

นาย B มีกล้องที่ตัวเองเล็งไว้แล้ว
…แต่ก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าสมดุลพอ

ระหว่าง  เงินกับความต้องการไหม

ซึ่งก็แน่ล่ะว่าหลายคน
…ความต้องการ
…มักเกินกว่าเงินที่มีในกระเป๋าเสมอ

จนมาถึงหน้าร้านขายกล้อง…

ปรากฏว่า…
สิ่งที่พนักงานเชียร์ขาย
กลับไม่ใช่กล้องที่เขาต้องการ

แต่โปรโมชั่นและของแถม รวมไปถึงสิ่งต่างๆ
ก็ล่อตาล่อใจเป็นอย่างมาก

โดยที่เบื้องหลังคือคอมมิชชั่นที่พนักงานขายจะได้รับเพิ่มเติม
แล้วนาย B ก็ซื้อกล้องตัวนั้นมาแบบงงๆ

..แล้วก็พลาดไปแบบงงๆด้วยเช่นกัน

สองตัวอย่างนี้…

เป็นเพียงเคสทั่วไปที่พบได้จากผู้เรียนหลายๆท่าน
ยังไม่รวมพวกที่ซื้อกล้องตามผู้สอน…
…แล้วก็พบว่าใช้งานยากมากจนขายทิ้งอีกนะ

ปัญหาเหล่านี้ แก้ได้ง่ายมาก
ให้จัดการด้วยสติปัญญา’ 

สติปัญญา
ทีเกิดจากการพิสูจน์ความจริงจากข้อมูล
จะทำให้เราลดความคิดเห็นที่เป็นอคติกับสิ่งต่างๆให้ลดลง

ดังนั้น… สิ่งที่ต้องทำก็คือ

อ่านหนังสือ… เก็บข้อมูล..
..เปรียบเทียบราคา
..เข้าหาแหล่งความรู้

และแยกแยะให้ได้

ว่าอะไรคือความจำเป็น
หรือความต้องการ

กล้องตัวที่เราซื้อนี้

แน่ใจแค่ไหนว่าจะใช้งานจริงจัง
หรือพัฒนาไปจนระดับไหน

ถ้ามีโอกาสก็ไปขอลองใช้ ทดลองหยิบจับดูก่อนก็ได้
หรือมีเพื่อนที่ใช้กล้อง ก็ลองถือๆดู

ตรงนี้จะช่วยได้ระดับหนึ่ง..

อย่าไปอินกับค่ายใดค่ายหนึ่งให้มาก..
มองตัวเองเป็นหลักว่าต้องการอะไรกันแน่..

อย่าไปตัดสินว่าคนใช้งานกล้องค่ายอื่นไม่ดี..

อย่าคิดที่จะเป็นคนเก่ง..
..ด้วยการเที่ยววิพากษ์วิจารณ์คนอื่น
..โดยที่ไม่รู้ข้อมูลจริง

เพราะข้อมูลเดี๋ยวนี้นั้นหาได้ง่าย.. มีอย่างมหาศาล

บล็อกเกอร์เก่งๆที่โปรโมท..
..เขามีวิธีการพูดการแสดงออกเยอะแยะที่ทำให้เราชอบหรือไม่ชอบ

สิ่งเหล่านี้จะเป็นความคลางแคลงใจต่อข้อมูลที่ได้รับอยู่เรื่อยๆ..

ให้ใช้สติปัญญาละลายเสีย..
..พยายามวิเคราะห์ให้ได้
..และพลาดให้น้อยที่สุด

ขอให้โชคดีในการเลือกซื้อกล้อง

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า