สร้างความน่าสนใจให้กับภาพด้วย ‘เส้นนำสายตา’
ในเฟสที่ 2 ของหลักสูตร ‘ศิลปะแห่งการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย’ จาก DozzDIY เป็นการขยายความหมายของเนื้อหาจากรูปแบบ Speed-Concept ที่ได้ผ่านไปแล้วเป็นแบบการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง ว่าด้วยเรื่องของ ‘จุดสนใจ’ (Point of Interest) ว่าพอจะมีวิธีใดบ้างที่ทำให้ภาพถ่ายเกิดความน่าสนใจและมีความเห็นแบบเดียวกันกับผู้บันทึกภาพเมื่อชมภาพดังกล่าว เนื้อหาจะเป็นสาธารณะแบบไม่จัดเรียง แต่สำหรับคลิปวิดีโอเฉพาะผู้ที่ลงเรียนกับเราเท่านั้น

สังเกตว่าเส้นมีความหลากหลายมากในงานออกแบบ และเรานำบางอย่างมาใช้ในการถ่ายภาพได้

วิธีการที่ช่วยให้ภาพถ่ายมีความน่าสนใจที่ดีวิธีหนึ่งก็คือการใช้ประโยชน์จากเส้นในภาพชี้นำไปยังจุดมุ่งหมายต่างๆที่เรากำหนดเอาไว้ หรือที่เราเรียกว่าเส้นนำสายตาซึ่งเส้นสายที่ว่านี้สามารถสร้างปฏิกิริยาที่มีในภาพได้ 2 ลักษณะใหญ่ๆ ได้แก่สร้างอารมณ์ด้วยตัวของมันเองและนำไปยังจุดที่สร้างอารมณ์ในภาพอื่นๆการวางเส้นในภาพอย่างแม่นยำจึงส่งผลโดยตรงว่าผู้รับชมภาพจะเข้าใจอย่างที่กำหนดไว้หรือไม่

โดยหลักแล้ว เส้นก็ยังมีประเภทต่างๆที่เราต้องทำความเข้าใจใหญ่ๆอยู่ 4 รูปแบบ ดังนี้

1. เส้นแนวนอน (Horizontal Line)

เส้นแนวนอนเป็นตัวแทนของความสมดุลมั่นคง, ความเป็นผืนแผ่นดิน และ ไม่มีความเปลี่ยนแปลง การใช้เส้นลักษณะดังกล่าวอาจสร้างความรู้สึกในจิตใต้สำนึกเกี่ยวกับความไร้กาลเวลา, ความเป็นอนันต์ การใช้เส้นแนวนอนอาจจะมีประโยชน์ในแง่ของการแบ่งแยกเพื่อความคมชัดของภาพ, จุดตัดบนล่าง หรือวัตถุแบ่งชั้นต่างๆ (มนุษย์ถูกปลูกฝังให้อ่านจากบนลงล่าง)

2. เส้นแนวตั้ง (Vertical Line)

เส้นแนวตั้งเป็นตัวแทนของความมั่นคงแข็งแรง, การตั้งตระหง่านอย่างโดดเด่น ลักษณะการทำงานของเส้นลักษณะดังกล่าวเองก็มีความคล้ายคลึงกับเส้นแนวนอนตรงที่สามารถแบ่งครึ่งหรือสร้างความสมดุลของภาพ ด้วยว่ามนุษย์ถูกสอนมาให้อ่านจากซ้ายไปขวา

3. เส้นทะแยงมุม (Diagonal Line)

เส้นทะแยงไม่ว่าจะไปในทิศทางไหนก็ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง, ความมีชีวิตชีวาของภาพ และการมุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกัน เส้นทะแยงเป็นกลวิธีที่สร้างความมีชีวิตชีวาในภาพเพื่อที่จะให้ผู้ชมเกิดความสนใจ เพราะผู้รับชมเองก็จะมองไปตามทิศของเส้นที่กำหนด อย่ามองแค่ความทะแยงมุมเป็นเรื่องของเส้นเพียงอย่างเดียว เพราะมิติของสีก็สามารถไล่ระดับความหนักคล้ายๆเส้นนี้ได้เช่นเดียวกัน

4. เส้นไร้รูปแบบ (Irregular Line)

แม้ว่าเส้นที่ไร้ระเบียบจะเป็นเส้นที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่เมื่อต้องใช้ลักษณะนี้แล้วกลับให้ผู้รับชมภาพเกิดผลกระทบทางอารมณ์ด้านความไม่สบายใจ เมื่อเทียบกับการใช้เส้นทะแยงที่มุ่งไปในทางเดียวกันแล้ว เส้นแบบไร้ระเบียบจะดูยากและมีความยุ่งเหยิง ซึ่งมักให้ผลที่ไม่ค่อยดีทางด้านความรู้สึกตามไปด้วย

การใช้เส้นเพื่อชี้นำสายตา

ดังที่ได้ศึกษาไปแล้วว่าเส้นแต่ละประเภทเองก็มีความสำคัญและเป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญจริงๆในการเรียนวิธีการสร้างความสนใจในภาพด้วยหลักขององค์ประกอบ เพราะสิ่งเล็กๆน้อยๆที่เราคิดว่ามองข้ามไปก็ได้อาจไม่ได้ส่งผลอะไรมากทั้งที่จริงแล้วมันส่งผลอยู่เสมอ เส้นในแต่ละรูปแบบต่างมีพลังที่ซ่อนอยู่ในรูปแบบของมัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเส้นที่เกิดขึ้นในภาพนั้นมีความแม่นยำต่อการนำเสนอแล้วหรือยัง เพราะผลลัพธ์ที่ต้องการอาจเปลี่ยนไปได้ถ้าพลาดในส่วนนี้ไป

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ลำดับความสำคัญภาพแบบกฎสามส่วน

กฏสามส่วนเป็นกฏที่ใช้งานง่ายและยืดหยุ่นมากกฏหนึ่งในบรรดากฏโครงสร้างเพื่อจัดองค์ประกอบภาพถ่าย กฏดังกล่าวเหมาะกับคนที่เริ่มเบื่อกับการวางจุดสนใจไว้กลางจอ แต่ก็มีคนจำนวนมากใช้งานมันโดยไม่คำนึงถึงสิ่งพึงระวังนั่นคือดุลยภาพของพื้นที่ส่วนที่เหลือ ผู้สอนเห็นว่าเนื้อหาส่วนนี้ไม่ได้เป็นความลับอะไรมากจึงเขียนในทุกแง่มุมของมันแบบสาธารณะซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า