สร้างความน่าสนใจให้กับภาพด้วย ‘ความคมชัด’
ในเฟสที่ 2 ของหลักสูตร ‘ศิลปะแห่งการจัดองค์ปประกอบภาพถ่าย’ จาก DozzDIY เป็นการขยายความหมายของเนื้อหาจากรูปแบบ Speed-Concept ที่ได้ผ่านไปแล้วเป็นแบบการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง ว่าด้วยเรื่องของ ‘จุดสนใจ’ (Point of Interest) ว่าพอจะมีวิธีใดบ้างที่ทำให้ภาพถ่ายเกิดความน่าสนใจและมีความเห็นแบบเดียวกันกับผู้บันทึกภาพเมื่อชมภาพดังกล่าว เนื้อหาจะเป็นสาธารณะแบบไม่จัดเรียง แต่สำหรับคลิปวิดีโอเฉพาะผู้ที่ลงเรียนกับเราเท่านั้น

ความคมชัดนับเป็นสิ่งที่ผู้บันทึกภาพจะได้เรียนรู้เป็นทักษะแรกๆในการทำให้ส่วนนั้นมีรายละเอียดที่ชัดเจนและปราศจากสิ้นข้อสงสัย ในการทำภาพถ่ายให้มีความคมชัดไม่ว่าจะทั้งฉากหรือส่วนใดส่วนหนึ่งนั้นเราจะต้องทราบอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ 1. ความคมชัดที่เกิดจากการอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดไฟล์ต้นฉบับ (เลนส์ และ ช่วงระยะชัด) และ 2. ความคมชัดที่เกิดจากการปรับแต่งเพิ่มเติมเอาภายหลัง (โปรแกรมตกแต่งภาพถ่าย)

ความคมชัดจากเลนส์

ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีที่ดีเพียงพอที่เลนส์ราคาถูกๆจะให้ความคมชัดได้ดีแล้ว ซึ่งนั้นอาจจะเป็นเรื่องของต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงแต่อย่างไรก็ตามในทักษะขั้นพื้นฐานเบื้องต้นของผู้เรียนควรจะทราบการควบคุมกล้องถ่ายภาพดิจิตอลขั้นพื้นฐานในเรื่องของรูรับแสง (Aperture) และ ค่าความคมชัดสูงสุดที่เลนส์ตัวนั้นสามารถทำได้ (Sweet Spot) และศึกษาผลกระทบของการใช้รูรับแสงค่าต่างๆกับการกระเจิงของแสงภายในตัวเลนส์ให้ดี เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการถ่ายทอดเรื่องราวได้ดีที่สุด

แนวทางของการผลิตเลนส์ในปัจจุบันนั้นมุ่งไปยังอุปกรณ์ที่ราคาถูกลงและคมมากขึ้น รวมไปถึงกำลังขยายที่มากขึ้น

ความคมชัดจากช่วงระยะชัด

ผลกระทบที่จะส่งถึงช่วงระยะชัด (Depth of Field) หลักๆก็จะเป็นขนาดของเซ็นเซอร์รูปภาพว่าด้วยเซ็นเซอร์ที่ยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าไร ค่าความคมชัดในช่วงโฟกัสของภาพจะยิ่งน้อยลงเท่านั้น ตามด้วยทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่เลือกใช้ตามวัตถุประสงค์ อีกทั้งเทคนิคในการควบคุมค่าดังกล่าวจากประสบการณ์ที่จะช่วยให้วัตถุในโฟกัสมีความครอบคลุมระยะที่ดี

ความคมชัดบางๆจากการใช้รูรับแสงที่กว้างก็ช่วยให้ภาพน่าสนใจขึ้น

ความคมชัดจากซอฟท์แวร์ก่อนประมวลผลเป็น JPEG

กรณีที่มีการบันทึกภาพเป็นไฟล์ JPEG ตัวซอฟท์แวร์ในกล้องถ่ายภาพดิจิตอลจะมีการอัดค่าความคมชัดมาให้ระดับหนึ่ง (เรียกกระบวนการนี้ว่า Capture Sharpening จัดว่าเป็นข้อเสียเปรียบของคนไม่บันทึก RAW) ถ้าไม่ไปทำอะไรกับภาพต่อก็อาจไม่ต้องคิดอะไรมากนักแต่ขอให้คิดก่อนว่าเป็นความคมชัดประดิษฐ์ที่ไม่ค่อยฉลาดเท่าไร เมื่อเทียบกับการมาเลือกเอง

ความคมชัดจากการตกแต่งโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ความคมชัดที่เรากำหนดส่วนเองได้ เรียกว่า Creative Sharpening หมายถึงความคมชัดที่เกิดจากการจัดการในภาพด้วยตนเอง ในส่วนนี้เราสามารถที่จะให้จุดที่ความสนใจนั้นโดดเด่นมากยิ่งขึ้น แต่จะต้องเรียนรู้โปรแกรมและทักษะการใช้งานให้ดีไม่มากเกินไปจนภาพกระด้าง

เครื่องมือที่ใช้ปรับคมในโปรแกรมต่างๆ

การใช้ประโยชน์จากสิ่งที่อยู่ตรงข้ามความคมชัด

สิ่งที่อยู่ตรงข้ามความคมชัดก็คือความไม่คมชัด อาจจะมากไปจนถึงความเบลอของภาพโดยที่ก็มีข้อดีอยู่เช่นเดียวกันคือทำให้ส่วนที่จะมาดึงดูดสายตาในการชมภาพลดความสำคัญลงไป ส่วนนี้ขอให้นึกเลยไปถึงการจัดเฟรมภาพที่มุ่งเน้นความสนใจมาที่จุดสนใจเพียงอย่างเดียวก็จะดี เช่น อาทิ ขยะที่ปรากฏอยู่บนหาดทรายในระยะความคมชัด

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ลำดับความสำคัญภาพแบบกฎสามส่วน

กฏสามส่วนเป็นกฏที่ใช้งานง่ายและยืดหยุ่นมากกฏหนึ่งในบรรดากฏโครงสร้างเพื่อจัดองค์ประกอบภาพถ่าย กฏดังกล่าวเหมาะกับคนที่เริ่มเบื่อกับการวางจุดสนใจไว้กลางจอ แต่ก็มีคนจำนวนมากใช้งานมันโดยไม่คำนึงถึงสิ่งพึงระวังนั่นคือดุลยภาพของพื้นที่ส่วนที่เหลือ ผู้สอนเห็นว่าเนื้อหาส่วนนี้ไม่ได้เป็นความลับอะไรมากจึงเขียนในทุกแง่มุมของมันแบบสาธารณะซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า