ศิลปะในการเล่าเรื่องด้วยภาพถ่าย

ศิลปะคือการสื่อสาร ภาพถ่ายจึงนับเป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงถึงความหมายต่างๆที่ปรากฏในภาพ เราจึงต้องทำความเข้าใจและศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายภาพเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หากภาพถ่ายใดปราศจากสิ่งเหล่านี้เสียแล้ว ความสมบูรณ์อันเนื่องมาจากความลึกซึ้งที่มองไม่เห็นได้ด้วยตา จะทำให้ภาพถ่ายเป็นได้แค่ภาพธรรมดาๆภาพหนึ่งเท่านั้น

พลังจากการเล่าเรื่องในภาพถ่าย

ลองนึกถึงหาดทรายสีขาวสะอาดที่เบื้องหน้าคือคลื่นน้ำทะเลที่นุ่มนวลดุจแพรไหม
ไกลออกไปคือดวงอาทิตย์ที่ฉายแสงทองปกคลุมทั่วท้องฟ้า
ยังความรู้สึกอบอุ่นหัวใจแก่ผู้ที่ได้รับชม

เป็นสิ่งที่เกินกว่าการเห็นว่าภาพสวยเพียงอย่างเดียว
…แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้ผู้กำลังรับชมภาพถ่ายเกิดการตีความแบบนั้น?

การถ่ายภาพในศาสตร์แขนงต่างๆ จำเป็นต้องสื่อสารด้วยสื่อที่สร้างขึ้นจากทักษะความชำนาญของช่างภาพเพื่อชี้นำหรือทำให้ผู้รับชมภาพเกิดปฏิกิริยาตามแผนที่วางไว้

ภาพนี้เป็นการเล่าเรื่องโดยใช้บุคคลเดียว (Single Person) สิ่งที่จะถ่ายทอดเรื่องราวจึงเป็นอารมณ์และท่าทางของตัวบุคคลโดยตรง
ความสำคัญแวดล้อมคือบรรยากาศและการใช้ทักษะเรื่องของสีในการทำภาพ อีกทั้งการคาดแถบดำก็ทำให้คนที่เคยชมภาพยนตร์
รู้สึกอีกด้วยว่ามันคือซีนหนึ่งในหนังหรือเปล่านะ

เช่น การถ่ายภาพอาหารเพื่อการโฆษณา จุดมุ่งหวังสูงสุดเพื่อให้ผู้ที่รับชมภาพรู้สึกอยากอาหารโดยการมองเห็นว่าภาพถ่ายนี้มีความน่ากินอย่างไร

หรือภาพถ่ายวิวทิวทัศน์ที่มีการใช้แสงให้เห็นความงามของสีสันรูปทรงหรือรายละเอียด หรือแม้แต่ภาพถ่ายบุคคลที่มักเกิดความเปรียบเปรยหรือคาดหวังของอารมณ์ในภาพในเชิงจิตวิทยาทางอารมณ์

การถ่ายภาพเพื่อเล่าเรื่องบางครั้งมีความสุ่มเสี่ยงต่อการถูกจับผิดว่าผู้บันทึกมีความจริงใจหรือไม่
ยกตัวอย่างเช่นภาพถ่ายดังกล่าวนี้น้อยคนที่จะดูไม่ออกว่าเซ็ตฉากเพื่อถ่าย ถึงเราจะรู้อยู่ว่ามันไม่ได้สำคัญขนาดนั้น
แต่ก็ห้ามคนอีกกลุ่มไม่ให้คิดไม่ได้อยู่ดี ดังนั้นควรทำอย่างเป็นธรรมชาติและระมัดระวังไว้ก่อนก็ไม่เสียหาย

เรื่องราวหรือสิ่งที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากความสวยของภาพทำให้เกิดการจดจำ
เป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในความรู้สึกของผู้ชมได้ยาวนานกว่าภาพถ่ายทั่วไป

หลักการสร้างเรื่องราวให้กับภาพถ่าย

เพลง 1 บทเพลงอาจมีความยาวประมาณ 3-7 นาที มีคำที่ปรากฏขึ้นจำนวนหลักร้อยหรือหลักพันคำ
นักประพันธ์มีเวลาเพียงเท่านั้นในการบอกเล่าเรื่องราวด้วยทักษะการใช้เสียงและอารมณ์

ภาพยนตร์ 1 เรื่องมีความยาว 90 นาที ความเร็วเฟรมต่อเนื่องแบบ 24 เฟรมต่อวินาทีเองก็สามารถถ่ายทำได้ราวๆ 129,600 เฟรม ผู้กำกับก็ต้องบอกเล่าเรื่องราวทุกอย่างให้สมบูรณ์ด้วยภาพและเสียงภายใต้ข้อจำกัดนั้นเช่นกัน

เมื่อเทียบกับการถ่ายภาพเป็นเรื่องยากที่จะบอกทุกสิ่งให้ครบถ้วนภายในภาพๆเดียว
คิดดูแล้วกันว่าเราจะยัดเรื่องราวขนาด 129,600 เฟรมลงไปในภาพๆเดียวได้ยังไง

ความแตกต่างสำคัญของสื่อที่กล่าวมา เป็นเรื่องของเวลาที่ทำให้หน้าที่ของแต่ละสื่อมีความแตกต่างกัน

ผู้กำกับมีเวลา 90 นาทีในการถ่ายทอดเรื่องราว..
นักร้องมีเวลา 3-7 นาทีในการบอกเล่าเรื่องราว..

…แต่ช่างภาพมีโอกาสเพียงครั้งเดียวในช่วงเวลาที่เกิดขึ้น

ไม่มีใครรู้ว่าพระสงฆ์องค์นี้กำลังเดินไปไหน แต่เรารู้ทิศทางของภาพและระบุได้ว่าในภาพเป็นใคร
รวมไปถึงสถานที่ๆเรียบง่ายไร้สิ่งดึงดูความสนใจ การถ่ายภาพให้เรียบง่ายเข้าไว้นั้นช่วยได้เยอะในการบีบบังคับ
เพื่อเล่าเรื่อง

การถ่ายภาพจึงเป็นการสร้างสื่อประเภทหยุดนิ่ง
ผู้รับชมภาพไม่อาจรับรู้ได้เลยว่าอะไรเกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์
หรือหลังจากเหตุการณ์ของภาพถ่ายนั้น

สิ่งนี้เองจึงช่วยให้ผู้รับชมภาพแต่ละคนได้คิดต่อ
ด้วยจินตนาการที่เป็นของตัวเอง

 

หลักการสร้างเรื่องราวให้กับภาพถ่ายจึงต้องมีโครงสร้างที่ชัดเจนโดยเริ่มจากการสร้างจุดสนใจของสายตา อาจจะอาศัยเทคนิคปลีกย่อยของการจัดองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นเส้นสาย, สีสัน, โครงสร้างที่ชี้นำเพื่อดึงความสนใจในทันที จากนั้นจึงอาศัยหลักดุลยภาพเพื่อลดความตรึงเครียดเฉพาะจุดให้เกิดความพอดีของภาพในขั้นตอนต่อไป

จงจำไว้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่ผู้รับชมภาพ 100% จะเข้าใจทั้งหมดเหมือนกันตามที่เราคาดหวัง
เพราะการตีความของคนแต่ละคนขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาในความทรงจำตลอดช่วงชีวิตของพวกเขา

ถ้าไม่มีคนที่มีความเชื่อแบบตัวเลือกที่สองเกิดขึ้น
วิทยาการความก้าวหน้าในการพิสูจน์ความเป็นธรรมชาติก็คงไม่มาไกลขนาดนี้
ความสงสัยและทะเยอทะยานของมนุษย์เป็นเชื้อเพลิงสำคัญในการไขปัญหาต่างๆอย่างมาก

การศึกษาทางด้านจิตวิทยาเองก็จำเป็นสำหรับช่างภาพที่ต้องการความก้าวหน้าทุกคนเพราะความรู้ในส่วนนี้จะช่วยให้ควบคุมความรู้สึกสามัญส่วนใหญ่ของผู้คนได้ดีหรือยิงตรงไปยังเป้าหมายเฉพาะกลุ่มได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

เริ่มต้นอย่างไร?

การถ่ายภาพเป็นการสร้างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างเรื่องราว โดยไม่จำเป็นต้องอธิบายจุดเริ่มต้นหรือจุดจบ อาจจะไม่ต้องคำนึงถึงการเกริ่นนำหรือสภาพแวดล้อมตั้งต้นใดๆ ไม่ต้องวางไทม์ไลน์ให้กับเรื่องราวเพราะหน้าที่นี้การจัดองค์ประกอบจะสร้างความสมเหตุสมผลให้กับภาพได้เอง

หลักสูตรพิเศษแบบปกปิด “ศิลปะแห่งการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย” (The Art of Composition) จาก DozzDIY
ได้กล่าวถึงวิธีการจำนวนมากที่ทำให้จุดสนใจของภาพมีความโดดเด่น

ลำดับขั้นตอนแรกของการถ่ายภาพแบบเล่าเรื่องผู้บันทึกภาพจะต้องมีความชัดเจนให้กับจุดสนใจลำดับที่ 1 ของภาพ (หรือประธานในภาพ) ด้วยการเน้นรายละเอียดจากทักษะต่างๆให้โดดเด่นมากที่สุดจนเป็นจุดที่ควรมองจุดแรกของภาพซึ่งเป็นจุดที่เรื่องราวจะเริ่มจากตรงนั้น

อากัปกิริยา

มีสิ่งที่เป็นรายละเอียดอยู่สองสามอย่างที่เราต้องทำความเข้าใจไม่ว่าจะถ่ายภาพแขนงใดก็ตามเนื่องจากว่ามันจะช่วยให้ภาพถ่ายมีความสนุกและน่าสนใจ

อากัปกิริยาของสิ่งมีชีวิต คือสิ่งแรกที่มักได้ผลอยู่เสมอ

มันยากที่จะบอกว่าจุดเริ่มต้นและจุดจบของคอนเสิร์ตจะมีแต่ความสุขเหมือนใบหน้าของบุคคลในภาพหรือไม่
แต่ในชั่วขณะที่บันทึกภาพนี้ก็เป็นหลักฐานสำคัญว่าอะไรเคยเกิดขึ้นผ่านมาแล้ว และทุกคนรับรู้ได้เป็นอย่างดี

การถ่ายภาพที่มีบุคคลหรือสิ่งมีชีวิตเป็นตัวเล่าเรื่อง ท่าทางที่เป็นธรรมชาติจะสะท้อนถึงความคาดหวังและการคาดเดาจากผู้ชม จึงเป็นสิ่งที่ง่ายในการขับเคลื่อนอารมณ์ไปในทิศทางที่ผู้บันทึกภาพต้องการ

การถ่ายภาพเล่าเรื่องในลักษณะปลายเปิด

การเล่าเรื่องในลักษณะปลายเปิดนั้นมีความน่าสนใจเพราะทำให้ผู้รับชมภาพได้ใช้จินตนาการและมีการโต้ตอบกับภาพมากกว่าการยืนดูแล้วเข้าใจตามเฉยๆ

โดยส่วนใหญ่การถ่ายภาพเพื่อเล่าเรื่องในลักษณะปลายเปิดจะเป็นการเล่นกับความรู้สึกด้วยสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ทิศทางที่นอกเหนือจากเฟรมภาพ ผู้ชมจะมีปฏิสัมพันธ์กับภาพว่าต่อไปจะเป็นอะไรแต่ก็อาจจะทำให้ผู้รับชมคนอื่นๆคิดไม่เหมือนกันได้ หรือการถ่ายภาพเพื่อทิ้งปริศนาไว้แบบสองแง่สองง่ามก็เป็นสิ่งที่พึงระวัง

ถึงเราจะรู้ว่าภาพนี้น่าจะถ่ายในป่า แต่ก็เป็นเพียงคำว่า ‘น่าจะ’ แถมเราไม่รู้เลยว่าคนในภาพเป็นใคร หรือทำอะไรที่ระบุได้ชัดกับไม้ไผ่
(ที่แน่ๆไม่ได้ตัดแน่นอน) ภาพลักษณะนี้ชวนให้ผู้รับชมได้บริหารสมองโดยการใช้ความคิดเพิ่มเติม

 

มีเทคนิคอย่างง่ายๆในการสร้างภาพถ่ายในลักษณะดังกล่าว คือให้สร้างสามเหลี่ยมขึ้นมา แล้วแทนความสัมพันธ์ของสิ่งสามสิ่ง ซึ่งได้แก่ ใคร > ทำอะไร > ที่ไหน > เมื่อไหร่ > อย่างไร อย่างใดอย่างหนึ่งลงไป แล้วตัดตัวแปร 1 ตัวออก ความสมบูรณ์ที่ขาดหายไปจะถูกแทนที่ด้วยจินตนาการของผู้รับชมภาพทันที

การถ่ายภาพเล่าเรื่องในลักษณะปลายปิด

ภาพถ่ายเล่าเรื่องลักษณะปลายปิดมีความบริบูรณ์ครบถ้วนในหนึ่งภาพ
สามารถบอกได้ทั้งหมดว่าภาพนั้นสื่อถึงอะไรหรือสื่อถึงใครและต้องการนำเสนออะไร ทั้งอารมณ์และสถานที่

สิ่งที่เป็นประธานของภาพนี้ไม่ใช่นักท่องเที่ยวแต่เป็นสถานที่ ซึ่งแวดล้อมด้วยผู้คนและบรรยากาศของแสงในช่วงเวลาบ่าย
มีป้ายบอกชัดว่าสถานที่นี้คืออะไร และผู้คนในภาพมีอิริยาบทอย่างไร เป็นภาพที่จบแล้วในตัวไม่มีอะไรให้คิดต่อไปอีก

การถ่ายภาพเพื่อบอกเล่าเรื่องราวแบบปลายปิดทางที่ดีที่สุดควรทำให้ง่ายเข้าไว้เพื่อการตีความของกลุ่มผู้ชมในวงกว้างจะได้ไม่คลาดเคลื่อนมาก เปรียบเสมือนกล่องที่ปิดทุกด้านด้วยผู้บันทึก มีทุกสิ่งในภาพๆเดียวจนผู้ชมไม่อาจใส่จินตนาการของตัวเองต่อไปได้แล้ว

ไม่มีความจริงเพียงหนึ่งเดียวในการถ่ายภาพ

ในบางครั้งคนอาจจะคิดหยดน้ำตาของคนในภาพอาจจะหมายถึงความโศกเศร้าเสียใจ และในอีกขณะหนึ่งมันก็เป็นอารมณ์ที่แสดงถึงความยินดีอย่างสุดซึ้ง อ้อมกอดของครอบครัวหนึ่งที่ยืนกอดชายหนุ่มหน้าบ้าน อาจจะหมายถึงการจากลาหรือการต้อนรับกลับมาก็ได้

ความจริงแล้วอาจจะไม่มีอะไรที่เราเข้าใจได้ถูกต้องจริงๆเลยสักอย่าง

ลองใช้ความหลากหลายของสิ่งที่เกิดขึ้นในภาพสร้างขึ้นมาไม่แน่ว่าความหลากหลายเหล่านี้อาจสื่อสารได้แตกต่างจากสิ่งที่พบในความเป็นจริง

คุณอาจจะกำลังคิดว่าผมกำลังใส่ฟิลเตอร์ หรือถอดฟิลเตอร์ใช่ไหมครับ
ความจริงแล้วไม่ว่าอย่างไรมันก็ผิดทั้งหมดนั่นล่ะ
เพราะผมแค่ลองฝึกหาช่องใส่ ที่จะระวังไม่ให้มันแตกจากการกดแรงๆแค่นั้นเอง

แล้วก็ไม่มีใครเข้าใจภาพๆนั้นได้เหมือนกันหมดทุกคนด้วย

ศาสตร์ทางศิลปะทุกแขนงนั้นเลือกคน
..และคนก็มีประสบการณ์ความทรงจำในชีวิตที่แตกต่างกัน
…ทั้งเชื้อชาติศาสนาวัฒนธรรมประเพณี

คนที่ไม่มีความรู้ในการถ่ายภาพอาจจะพอเข้าใจความรู้สึกในระดับชั้นสามัญสำนึกทั่วไปของอารมณ์ในภาพได้อย่างผิวเผิน  เช่น รัก, เกลียด, โมโห, โศกเศร้า, ฯลฯ

ในขณะที่ผู้ที่พอมีความรู้ในการถ่ายภาพเมื่อมองเห็นภาพแล้วจะรู้สึกถึงการใช้ชั้นเชิงทางศิลปะและเข้าใจได้ลึกซึ้งยิ่งกว่า หรือภาพที่แสดงออกอย่างเฉพาะกับสังคมก็จะเข้าถึงได้กับคมบางกลุ่มเท่านั้น

ซึ่งคนที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ด้วยอาจจะไม่รู้สึกอะไร

ภาพถ่ายไม่ได้สื่อสารพูดคุยกับทุกคน แต่มันถูกสร้างมาเพื่อคนกลุ่มหนึ่งที่มีรสนิยมแบบเดียวกัน
ด้วยความละเอียดละออแบบเดียวกัน คล้ายกับมุกตลกฝรั่งที่คนไทยไม่เข้าใจ

หลักสูตรคุณภาพในรูปแบบคอร์สออนไลน์จาก DozzDIY

เพราะการเล่าเรื่องจะสมบูรณ์ได้นั้นต้องมาจากรากฐานความเข้าใจในศาสตร์ของการถ่ายภาพ
และความเข้าใจพื้นฐานเชิงจิตวิทยามนุษย์ที่ดี การเรียนรู้หลักการจัดองค์ประกอบด้วยหลักสูตรพิเศษสุดจาก DozzDIY
จึงถูกสร้างมาเพื่อพัฒนาทักษะการเล่าเรื่องของคุณให้แข็งแกร่งกว่าใคร
ดูหลักสูตรทั้งหมดของเราได้ที่ dozzdiy.com/หลักสูตรที่เปิดสอน

Basic Photography
แนะนำหลักสูตร
ราคา 1,490 บาท
(ติดต่อเพจเท่านั้น)
มือใหม่กลายเป็น ‘ช่างภาพ’ ในเวลาที่รวดเร็ว

The Art of Composition
แนะนำหลักสูตร
ราคา 3,790 บาท/ตลอดชีพ
(ติดต่อเพจเท่านั้น)

การจัดองค์ประกอบและหลักจิตวิทยามนุษย์

Color Theory in Digital Photography
คลิกเพื่อชมแนะนำหลักสูตร
ราคา 1,790 บาท/ตลอดชีพ
(ติดต่อเพจเท่านั้น)
หลักสูตรทฤษฎีสีในการถ่ายภาพดิจิตอล 

ข้อสรุป

การถ่ายภาพเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวช่วงหนึ่งที่เกิดขึ้น
รวมไปถึงการถ่ายทอดอารมณ์ของภาพ

การบอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพถ่ายมีความซับซ้อนหลายประการที่ยากจะเจาะจงไปว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในภาพนั้นเป็นจริงอย่างที่คิดหรือไม่

รู้อย่างนี้แล้วอย่าถ่ายภาพผู้คนด้วยวิธีการง่ายๆ
..เครื่องมือที่ทรงพลังนั้นอยู่ในมือของทุกคนที่ถ่ายภาพได้เสมอ
..แล้วก็อย่าสร้างเนื้อหาแปลกๆมากเกินไปจนคนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึง

จงกำหนดสิ่งที่เป็นความโดดเด่นของภาพด้วยหลักการของจุดสนใจ กำหนดความเป็นไปด้วยหลักการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย และขับเคลื่อนทุกอย่างในภาพด้วยหลักการทางดุลยภาพเพื่อสร้างเรื่องราว

เพราะผู้ที่สร้างสรรค์งานภาพถ่ายทุกคนมีสิทธิ์ในการถ่ายทอดสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมขั้นลึกซึ้งให้กับผู้รับชม
สิ่งที่จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ผ่านเลยไปให้คงอยู่ด้วยการเล่าเรื่องจากภาพนี่เอง

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า