ปัญหาเบื้องต้นสำหรับผู้ถ่ายภาพมือถือ
ถ้าคุณต้องประสบปัญหากับภาพถ่ายที่มาจากโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนอยู่บ่อยๆ โดยที่อาจจะยังไม่เก่งพอถึงกับวิเคราะห์สาเหตุเหล่านั้นได้ว่ามาจากอะไร และในใจลึกๆเองก็อยากทำให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ บทความนี้เป็นโชคดีของคุณที่ได้มาอ่านเจอเข้าแล้วล่ะครับ เพราะนี่คือวิธีการพิจารณาและขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างง่ายที่ทำได้ทันทีแล้วก็ได้ผลในขณะนั้นเลยล่ะ

ปัญหาของการถ่ายภาพของผู้คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อะไรก็ตามแบ่งได้ออกเป็นสองกลุ่มหลัก ได้แก่ ความไม่ชำนาญในอุปกรณ์ และ ความไม่ชำนาญในทฤษฎี ความไม่ชำนาญในอุปกรณ์ทำให้เกิดความผิดพลาดที่ไม่คาดคิดตรงนี้ยังพอสังเกตเห็นได้ง่าย แต่ความไม่ชำนาญในทฤษฎีเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้จากประสบการณ์มากๆ ดังที่ได้ยกตัวอย่างกลุ่มปัญหาพร้อมวิธีแก้ไขดังต่อไปนี้

1. สาเหตุจากความไม่ชำนาญในอุปกรณ์

ความไม่ชำนาญในอุปกรณ์มักทำให้เราเสียโอกาสโดยไม่จำเป็น เช่น แสงที่ได้รับในภาพสว่างหรือมืดเกินไป, ไม่รู้ว่าฟังก์ชั่นต่างๆอยู่ตรงไหนในแอปพลิเคชัน, ควบคุมคุณภาพของภาพถ่ายไม่ได้เลย, ฯลฯ

1.1 โฟกัสไม่เข้า

ปัญหาของการโฟกัสไม่เข้าบางทีเป็นความผิดพลาดจากผู้ใช้และบางทีก็เป็นข้อจำกัดของกล้องถ่ายภาพจากโทรศัพท์มือถือเสียเอง (เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นอย่างมาก) ผลลัพธ์จากข้อผิดพลาดทำให้ภาพถ่ายนั้นเสียไปอย่างสิ้นเชิง เช่น ขณะที่เรากำลังจัดเฟรมภาพให้ดอกไม้สีสวยขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางแต่กลับพบว่าโฟกัสดันไปคมชัดด้านหลัง

56938160_398680904044526_46295443893649408_n

โฟกัสไม่เข้าแบบนี้เป็นต้น

วิธีแก้ไข : ตรวจสอบภาพที่จออยู่เสมอว่าสิ่งที่โฟกัสคือสิ่งเดียวกันกับที่เราต้องการ กรณีแอปพลิเคชันถ่ายภาพที่มีความละเอียดสูงให้ปรับเป็นโฟกัสแบบกำหนดเองถ้าไม่สามารถโฟกัสได้ในเงื่อนไขของแสงที่จำกัด

1.2 ภาพสว่างหรือมืดเกินไป

ภาพสว่างหรือมืดเกินไปเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจขั้นพื้นฐานของหลักการถ่ายภาพ (DozzDIY สอนเป็นหลักสูตรแรกเลยนะนี่) ว่าด้วยความสัมพันธ์ของการรับแสง กรณีของโทรศัพท์มือถืออาจเกิดจากความไม่สัมพันธ์กันของความเร็วชัตเตอร์ และ ความไวแสง รวมไปถึงการไม่พิจารณาฮิตแกรมของภาพถ่ายในจอ (กรณีถ้ามี)

IMG_6990_1600

ทุกอย่างโอเคหมดยกเว้นคุมแสงไม่ได้นี่เอง

วิธีแก้ไข : ตรวจสอบภาพขณะกำลังจะบันทึกและดูว่ามีตรงไหนสว่างหรือมืดเกินไปหรือไม่ แก้ไขตัวแปรดังกล่าวได้หรือไม่ ถ้าไม่เข้าใจเลยอย่าเพิ่งถ่ายเลยครับ หาอ่านบทความหรือศึกษาส่วนนี้ก่อนดีกว่านะ

1.3 ภาพเบลอ

เมื่อความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไม่มากพอที่จะทำให้ทุกอย่างหยุดนิ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นจึงไม่หยุดนิ่งตามไปด้วย ปัญหาหลักๆมักมาจากแสงไม่พอ, มือสั่น หรือสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวมีความเร็วมากจนเกินไป

blur

พิจารณาให้ดีว่ามือสั่นเองหรือวัตถุเคลื่อนที่ไวเกินไป

วิธีแก้ไข : ศึกษาตัวแปรในการรับแสง (หลักการถ่ายภาพพื้นฐาน), ออกถ่ายภาพแล้วดูว่าตัวเองถือกล้องได้นิ่งแค่ไหน และหาขาตั้งมาใช้ในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ

1.4 ทางยาวเลนส์ผิดวัตถุประสงค์

เลนส์เริ่มต้นที่ติดมากับโทรศัพท์มือถือส่วนมากเป็นเลนส์มุมกว้าง (เสี่ยงต่อการเบี้ยวที่มุมภาพสุดๆ) เมื่อเอาไปถ่ายวัตถุที่ต้องการความถูกต้องของสัดส่วนจึงประสบความสำเร็จได้ยาก ดังที่เราพบได้จากการถ่ายภาพคนยังไงให้ขายาวหน้ายาว อันนั้นเป็นการใช้ประโยชน์จากมุมรับภาพที่ไม่ถูกต้องของเลนส์ แต่เมื่อจะใช้ให้ถูกต้องมันก็ทำไม่ได้อยู่ดีเพราะเลนส์มันไม่ใช่ไงล่ะ

56384110_1245580618930007_5126663124182630400_n

เอาเลนส์มุมกว้างที่ติดมากับมือถือถ่ายอาหาร ระวังเบี้ยวนะ!

วิธีแก้ไข : หาทางยาวโฟกัสที่ใช่กับงานในขณะนั้น โดยอาจจะต้องลองค้นหา ตัวแปลงทางยาวโฟกัสเลนส์ (Lens Adapter) ที่เหมาะสมกับกล้องจากมือถือนั้นมาใช้ เดินหาที่ MBK หรือ Fortune ก็ได้หรือจะสั่งเอาทางร้านค้าออนไลน์ที่มีอยู่ทั่วไปก็เยอะมากเช่นกัน

1.5 ใช้ดิจิตอลซูม

ดิจิตอลซูมไม่ใช่การซูมด้วยกำลังขยายจากชิ้นแก้วโดยตรง คุณภาพย่อมแย่กว่าการซูมดังกล่าวอย่างแน่นอนถ้าเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ยังไม่ได้ดีมาก แถมเมื่อซูมขยายดูเนื้อไฟล์ของภาพจริงๆแล้วก็ยิ่งแย่มากไปกว่านั้น ถ้าไม่จนใจจริงๆอย่าได้ใช้การซูมดิจิตอลในการถ่ายภาพจริงๆจังๆเสียจะดีกว่า เพราะเชื่อเถอะว่าไม่ใช่ทางเลือกที่ควรนัก

56575861_408143589733286_5501974499131654144_n

พิกเซลเละเทะไปหมดเมื่อใช้ Digital Zoom

วิธีแก้ไข : ไม่ใช้ก็จบแล้วครับ หรือเปลี่ยนเป็นการต่อตัวแปลงเลนส์เพิ่มกำลังขยายเข้าไปเพื่อทดระยะก็ไม่เลวนะ เอาเป็นว่าอย่าใช้เลยซูมดิจิตอลน่ะถ้าไม่จำเป็นจริงๆ

2. ความไม่ชำนาญในทฤษฎี

ปัญหาความไม่ชำนาญในทางทฤษฎีนั้นคนที่ไม่ทราบจะรู้สึกได้ยากว่าผิด เช่น ภาพถ่ายภาพหนึ่งที่ควบคุมทุกอย่างได้อย่างถูกต้องแต่เลือกใช้สีที่ฉูดฉาดและจัดวางสิ่งของกระจัดกระจายไปหมดในภาพ ผู้ที่รับชมภาพดังกล่าวจึงเกิดความอึดอัดสับสนแม้ว่าจะเป็นความชอบของผู้บันทึก ศาสตร์ในการถ่ายภาพจึงต้องเรียนควบคู่ไปด้วยหลังจากเรียนควบคุมอุปกรณ์ไปแล้ว

2.1 ภาพขาดจุดสนใจ

เวลามนุษย์จ้องมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างตั้งใจ โฟกัสในขณะนั้นจะไม่สามารถมองภาพกว้างๆโดยรวมได้ การถ่ายภาพจึงต้องเป็นไปตามหลักการถ่ายภาพเพื่อความเรียบง่ายและเล่าเรื่องในสิ่งที่ผู้บันทึกต้องการสื่ออย่างสะดวกต่อการมองเห็นมากที่สุด หลักการถ่ายภาพให้มีความน่าสนใจจึงมีจุดเริ่่มต้นมาจากการกำหนดว่าอะไรคือสิ่งที่น่ามองมากที่สุดในภาพลำดับแรก

56424404_988485091336181_3248621582322499584_n

ทุกอย่างเหมือนจะดีแต่ไม่รู้ว่าต้องมองอะไร เพราะภาพไม่มีอะไรเลย

วิธีแก้ไข : สำหรับผู้เริ่มต้นให้เริ่มบันทึกภาพแบบมีสิ่งของในฉากแบบไม่กี่สิ่ง วางของไว้ตรงกลางบ้าง, เยื้องซ้ายบ้างขวาบ้าง พร้อมๆกับเรียนรู้การวางสิ่งของและองค์ประกอบง่ายๆ อย่าเพิ่งคิดคาดหวังจะถ่ายภาพฉากวิวที่ยิ่งใหญ่เพราะเป็นเรื่องที่ต้องได้ถ่ายอยู่แล้วในอนาคต เอาเรื่องง่ายๆให้มันได้ก่อนแล้วจะมีพื้นฐานที่ดีในการทำสิ่งทียิ่งกว่าต่อไป

2.2 องค์ประกอบภาพไม่ดึงดูด

องค์ประกอบภาพเป็นองค์ความรู้ที่สืบเนื่องมาจากการเรียนรู้พฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์ การวางภาพไว้ตรงไหนตามใจตนเองก็เหมือนกับการปฏิเสธว่าอากาศมีอยู่จริง เพราะมันมีจริงแต่เราอคติต่อมัน (แต่ก็ยังใช้ในการดำรงชีวิตอยู่ทุกวัน) ดังนั้นเราจะพบภาพถ่ายที่มีตำแหน่งขาดๆเกินๆจากช่างภาพระดับเริ่มต้นอยู่เยอะ แล้วก็แปลกมากที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจมันซะด้วยสิ พวกเขาจะไม่รู้ว่ามันไม่ดีอย่างไรถ้าไม่เริ่่มจากการยอมรับซะก่อนว่าตัวเองไม่ใช่น้ำเต็มแก้วนั่นน่ะนะ

IMG_7136

ภาพนี้จุดสนใจไม่ได้ถูกให้ความสำคัญอย่างเต็มที่

วิธีแก้ไข : ยอมรับและเรียนรู้หลักการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายเท่านั้น การกลืนยาขมอาจไม่ได้ยากอย่างที่คิด มิหนำซ้ำมันยังเป็นกุญแจดอกสำคัญในการเข้าถึงศาสตร์แขนงอื่นอีกด้วยนะ แล้วคุณจะพบว่าการที่เป็นคนถ่ายภาพอะไรก็ออกมาดีตลอดเวลาไม่ใช่แค่เรื่องหลอกเด็ก

2.3 ฉากหลังแย่งความสนใจหรือรกเกินไป

ปัญหาฉากหลังรกเกินไปหรือมีสิ่งที่รบกวนสายตาทำให้คนที่มองภาพอยู่จริงๆกลับโดนแย่งความสนใจให้ไปมองสิ่งอื่นแทนอย่างนั้น คล้ายกับว่ามีสิ่งที่สนใจในภาพแต่ก็ยังมีข้อบกพร่องเล็กๆน้อยๆที่ทำให้ภาพไม่ประสบความสำเร็จเท่าไร ปัญหาหลักน่าจะเกิดมาจากการขาดความเอาใจใส่เป็นประการสำคัญ

ถ่ายเบลอไม่พอ คนหลังแย่งซีนอีก

วิธีแก้ไข : หัดละเอียดกับงานของตัวเองเพิ่มขึ้นสักนิดแม้ว่าจะเป็นภาพถ่ายจากมือถือ ภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันก้เทียบเท่ากับกล้องถ่ายภาพดิจิตอลหลายๆตัวในอดีตแล้วนะ ดังนั้นข้อปฏิบัติก็ควรเหมือนกับช่างภาพอาชีพด้วยถ้าอยากให้ภาพตัวเองดูดีในระดับนั้น

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า