ทำไมภาพถ่ายที่มี ‘เกรน’ เป็นเรื่องดี แต่พอมี ‘น้อยส์’ กลับเป็นเรื่องแย่?
สงสัยบ้างหรือไม่ว่า 'เกรน' และ 'น้อยส์' ต่างเป็นสิ่งที่เจือลงไปทั่วทั้งภาพคล้ายๆกัน มีผลทำให้ภาพดูหยาบและไม่เคลียร์ใสอย่างที่ควรจะเป็น แต่เกรนกลับถูกมองว่าเป็นเรื่องดีซึ่งตรงกันข้ามกับน้อยส์ ค่านิยมเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไรและเป็นเรื่องเลือกที่รักมักทีชังเกินไปหรือเปล่า?

เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนเปรียบเทียบว่าอะไรดีหรือแย่กว่ากัน ขอย้อนกลับไปยังสมัยที่ช่างภาพยังกันภาพกันด้วยกล้องฟิล์ม ปฏิกิริยาทางเคมีของผลึกเกลือระหว่างการผลิตเม็ดสีขึ้นมานั้นทำให้เกิดเนื้อภาพที่ไม่มีความสม่ำเสมอกระจายตัวออกไปอย่างไร้รูปแบบทั่วทั้งภาพ สิ่งนี้เรียกว่า ‘เกรน’ ซึ่งถ้ามีมากเกินไปสาระสำคัญในภาพจะคลุมเครือมากขึ้น แต่ ‘คลื่นสัญญาณรบกวน’ หรือ ‘น้อยส์’ เกิดเอาในยุคของกล้องถ่ายภาพดิจิตอลซึ่งมีปัจจัยมาจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ อาจกล่าวได้ว่าที่มาของทั้งสองนั้นแตกต่างกัน แต่ผลลัพธ์หรือภาระที่เกิดขึ้นในภาพแทบไม่ต่างกันเลย

'เกรน' และ 'น้อยส์' ทำให้ภาพถ่ายไม่เหมือนกันอย่างไร?

สิ่งที่ทำให้ ‘เกรน’ และ ‘น้อยส์’ แตกต่างกันคือ ‘ที่มา’ และ ‘รูปแบบ’ ถึงอย่างนั้นก็ยังมีคนสงสัยอยู่ดีว่าเป็นยังไง เราจึงขออธิบายพอให้ทราบอย่างคร่าวๆได้ดังต่อไปนี้

เกรนจากภาพถ่ายฟิล์ม Kodak Ektar 100

เกรน – เกิดจากผลึกเกลือในการสร้างเม็ดสี มีรูปแบบการกระจายรวมไปถึงรูปร่างที่ไม่ตายตัวไปจนถึงลักษณะเฉพาะ ฟิล์มแต่ละชนิดก็ให้เกรนที่มีลักษณะที่ต่างกันออกไป (มีชื่อเรียกด้วยนะ) จนหาความแน่นอนได้ยาก การเกิดเกรนขึ้นในภาพอย่างพอดีเป็นเสน่ห์ที่เกิดขึ้นในภาพถ่ายฟิล์มแต่ถ้ามีมากเกินไปและขนาดใหญ่มากขึ้นภาพก็คมชัดน้อยลง บางคนแยกเรื่องเกรนออกจากการสร้างเม็ดสีแต่เรากลับมองว่าการใช้ฟิล์มความไวแสงเพิ่มขึ้นเกรนก็มีลักษณะที่แย่มากขึ้นคล้ายๆกับน้อยส์นั่นล่ะครับ

‘คลื่นสัญญาณรบกวน’ หรือ ‘น้อยส์’ ในภาพถ่ายดิจิตอล

น้อยส์ – เกิดขึ้นจากระบบการถ่ายภาพแบบดิจิตอลในรูปแบบพิกเซลสี่เหลี่ยม มีรูปแบบตายตัวแต่ตำแหน่งไม่ตายตัวซึ่งส่งผลต่อการสร้างพิกเซลสีในตำแหน่งนั้นตลอดจนความคมชัดในภาพที่หายไป มีการจำแนกประเภทของน้อยส์ออกเป็นรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นรูปแบบสีอย่าง น้อยส์สี (Luminance Noise) และ น้อยส์แสง (Chroma Noise) หรือตามรูปแบบอย่าง น้อยส์คลื่นสัญญาณ (Banding Noise) เป็นต้น

อะไรดีหรือแย่กว่ากัน?

ถ้าต้องตอบในทัศนะของ DozzDIY แล้วล่ะก็เราเคยใช้น้อยส์เป็นเทคนิคหนึ่งในการสร้างริ้วรอยให้กับผิวหนังมนุษย์ใน Photoshop เพื่อไม่ให้ดูราบเรียบจากฟิลเตอร์เบลอผิวจนกลายเป็นพลาสติก และเราเองก็เคยคิดกำจัดเกรนในภาพฟิล์มที่มาจากสแกนเนอร์เพราะเม็ดพวกนี้รบกวนความน่าสนใจของภาพ แทนที่เราจะสนใจกับภาพกลับไปสนใจเกรนซะอย่างนั้น แล้วเกรนช่วยให้ภาพดีขึ้นไหม? คงตอบว่าส่วนหนึ่งครับ

มีไม่น้อยที่ช่างภาพฟิล์มพยายามใช้กระบวนการบันทึกหรือล้างอัดที่ลดเกรนในภาพออกไปให้ได้มากที่สุด อย่าง Kodak เองก็ผลิตฟิล์มในซีรี่ย์ที่เคลมว่า World’s Finest Grain (เกรนละเอียดที่สุดในโลก) เช่น Kodak Ektar 100 หรือซีรี่ย์ระดับมืออาชีพอย่าง Kodak Portra

เกรนจาก Kodak Portra 400 ยังคงเห็นจากมุมขวาบนของภาพส่วนหลุดโฟกัส
Source : https://www.flickr.com/photos/bymadilyan/

เกรนอาจป็นสิ่งที่แบ่งแยกว่า ‘นี่ชั้นใช้กล้องถ่ายภาพฟิล์มอยู่นะ’ อันที่จริงแล้วมีหลายอย่างที่ภาพถ่ายฟิล์มแตกต่างจากกล้องดิจิตอลแบบที่เรามองข้ามเรื่องเกรนออกไปเลยก็ยังได้ เช่น การเก็บสีแดงของฟิล์มที่ทำได้ดีมากเป็นพิเศษอย่างที่ดิจิตอลทำไม่ได้ รายละเอียดต่างๆที่มีในภาพแบบไม่ดูวุ้นใสเกินไปหรือไม่เป็นเหลี่ยมแบบพิกเซล (ฟิล์มมีความหนาแน่นสีมากกว่าในขนาดเซ็นเซอร์ช่วงหนึ่ง) และความขาดๆเกินของสีที่ผู้ถ่ายภาพฟิล์มจะได้มาทันทีในขณะที่ดิจิตอลดูสมบูรณ์แบบมากกว่า

เหตุผลของช่างภาพที่นิยมให้ภาพถ่ายมีเกรนคืออะไร?

หากเราติดตามโลกของแฟชั่นหรืออะไรมาได้สักระยะจนเริ่มกลับสู่การวกกลับไปเริ่มใหม่ จะพบว่าเริ่มมีการใช้สีวนไปวนมาในแต่ละปี บางครั้งกางเกงยีนส์ก็กลับมานิยมในท้องตลาด และบางครั้งมันก็ดูเชยระเบิดจนไม่มีวัยรุ่นคนไหนอยากแตะต้อง ไม่แปลกที่ความสมบูรณ์แบบจนเคยชินจะทำให้มีคนบางกลุ่มเริ่มเบื่อและคิดถึงความสุขในอดีตที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบมากเท่า ‘เกรน’ คือ ตัวแทนอย่างหนึ่งที่จับต้องได้ชัดในความทรงจำนั้น (ถ้าบอกว่า ‘สีแดง’ หรือ ‘น้ำหนักภาพ’ หลายคนมองไม่ออกไงล่ะ)

ภาพจากฟิล์ม Fuji Natura 1600
Source : https://www.flickr.com/photos/152507711@N05/37664601531/

ทั้งที่ถ้าเกรนมีชีวิตขึ้นมาคงพูดว่าฉันก็อยู่ของฉันดีๆ แต่พวกนายนั่นแหล่ะที่รู้สึกกันไปเอง

โปรแกรมตกแต่งภาพถ่ายดิจิตอลจะสร้างเกรนที่สมจริงได้ไหม?

ถ้าไม่อคติเกินไป ตอบว่า ‘ได้’ ครับ แล้วก็ดูไม่ออกซะด้วยนะ ซึ่งต้องมีคำว่า ‘แต่’ เป็นเงื่อนไขไว้ด้วยตรงที่ว่า การสร้างเกรนในภาพต้องใช้ฟังก์ชั่น ‘กระจายอย่างไร้รูปแบบ’ เข้าร่วมกับ ‘รูปแบบผลึกเกลือ’ ที่เรียนรู้มาจากภาพถ่ายฟิล์มให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่ตั้งค่าอย่างเดิมแล้วจะได้เกรนในตำแหน่ง X,Y เหมือนเดิมตลอดอย่างนั้นเบื่อตายพอดี (อาจถูกแฟนพันธุ์แท้เรื่องเกรนเหน็บเอาได้ในที่สุด)

คลื่นสัญญาณรบกวนในภาพที่ถูกสร้างขึ้นด้วยโปรแกรม Photoshop CC จากฟังก์ชัน Gaussian (กระจายตัวแบบไม่ซ้ำกัน) ภายในฟิลเตอร์​ Add Noise

ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วข้อสรุปควรจบที่ตรงไหน?

ง่ายมากเลยครับ ให้ถามตัวเองก่อนว่าถ่ายภาพไปเพื่ออะไร? เพื่อให้มีเกรนหรือเพื่อให้เกิดความงามในจิตใจและยกระดับให้สูงขึ้นไปตามครรลองของงานศิลปะ.. ภาพถ่ายนั้นให้อะไรกับใครไหม? หรือถ่ายไปเพื่อสร้างเกรนขั้นสุดยอดเฉยๆ ตรงนี้คำตอบแต่ละคนไม่เหมือนกันแน่ มันก็คล้ายๆกับเราถ่ายภาพเกรนไปเพื่อความสุขและความทรงจำของตัวเองอันนั้นล่ะก็ได้ แต่ถ้าถ่ายภาพส่งขายแล้วเกรนเพรียบแบบนั้นคงเด้งกลับมาพร้อมคำปฏิเสธอย่างแน่นอน ใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการที่แตกต่างกันจะดีกว่าครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า