กล้องถ่ายภาพดิจิตอลโดยส่วนใหญ่มักมีค่าที่ให้ผู้เรียนกำหนดเอาเองได้ว่าจะถ่ายภาพออกมาให้เป็นไฟล์ในรูปแบบของ RAW หรือ JPEG ซึ่งถ้าผู้เรียนไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อนเราจะได้กล่าวถึงสิ่งเหล่านี้อย่างละเอียด และถ้าหากทราบโดยคร่าวๆอยู่แล้ว บทความนี้ก็จะเจาะลึกถึงความสำคัญของไฟล์ในแต่ละประเภทกัน
เพราะ RAW คือข้อมูลทั้งหมดที่เซ็นเซอร์บันทึกได้

การตั้งค่าบันทึกภาพเป็นไฟล์ RAW นั้นไม่เพียงแต่เก็บค่าแสงทั้งหมดที่เซ็นเซอร์จะทำได้เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีข้อมูลอื่นๆรวมอยู่ในไฟล์นี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าการรับแสง, ทางยาวโฟกัสที่ใช้, ค่าความไวแสง, วันเวลา หรือยังแสดงพิกัดสถานที่กรณีเปิดการใช้งานพิกัดที่กล้องไว้อีกด้วย

อันนี้กล้องที่ผู้สอนใช้อยู่นะครับ เราจะเห็นเซ็นเซอร์ตอนที่ถอดเลนส์ออกครับ

ประเด็นสำคัญอีกอย่างก็คือในทุกวันนี้ถึงแม้ว่ากล้องจะมีประสิทธิภาพที่สูงมากเพียงใดก็ยังไม่เข้าใกล้ความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้งานอยู่ดี การถ่ายภาพเป็น RAW เอาไว้คือการเผื่อเหลือเผื่อขาดข้อมูลเวลาตัดทิ้งยังไงล่ะ

RAW บันทึกข้อมูลแสงเหนือกว่า JPEG มาก

สมดุลแสงขาว (White Balance) ที่ได้มาจาก RAW มีช่วงกว้างที่มากกว่าไฟล์ JPEG อย่างเทียบกันไม่ติด ยิ่งถ้าผู้เรียนอยู่ในเหตุการณ์ที่สภาพแสงคาดเดาได้ยากอย่างงานคอนเสิร์ตหรือท่ามกลางไฟที่สลับสีไปมาตลอดเวลา การถ่ายภาพเป็น RAW ไฟล์จะเป็นการประกันว่าภาพที่ได้ยังไงๆก็มาคัดแสงที่เหมาะสมเอาทีหลัง เพราะค่าบิตของไฟล์ที่มากกว่า JPEG (JPEG บันทึกได้แค่ 8 บิตต่อแชนเนลสี)

เห็นได้ชัดเจนว่า RAW หรือ JPEG อะไรดีกว่ากัน

จากตัวอย่างในภาพ เมื่อนำไฟล์ RAW และ JPEG เข้ามาในโปรแกรม Adobe Lightroom Classic CC เห็นได้ชัดว่าที่ส่วนการปรับสมดุลแสงขาวมีสเกลที่ต่างกันอย่างชัดเจนโดยที่ RAW มีค่าอุณหภูมิมากถึง 48,000 สเกล ในขณะที่ JPEG มีเพียง 200 สเกลเท่านั้น

RAW ช่วยให้กำหนดทิศทางภาพได้เป็นอย่างดี

ในหลักสูตร LR Classic CC : Reverse-Learning Course จาก DozzDIY จะมีตอนที่นำภาพสีแบนๆมาทำให้กลายเป็นตอนเช้าหรือตอนกลางคืนได้ด้วย ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เราตกแต่งภาพได้ยืดหยุ่นขนาดนั้นคงไม่พ้นการบันทึกไฟล์ภาพมาเป็นแบบ RAW ที่สภาพแสงเหมาะสมมาก่อน และด้วยความที่ไฟล์มีความยืดหยุ่นสูงกว่า JPEG มาก ทำให้การกู้ข้อมูลในส่วนที่สว่างที่สุดหรือมืดที่สุดนั้นเกิดปัญหาน้อยกว่า

อย่างที่บอกว่าถ้าถ่ายแบบเก็บข้อมูลมาดีๆแล้วล่ะก็ จะทำให้สว่างหรือมืดยังไงก็ได้ ขอแค่บันทึกมาแบบ RAW ไฟล์ทุกอย่างก็จะเนียนแล้ว

การบันทึกไฟล์ภาพเป็น RAW คือหนทางที่เซฟที่สุด

ลองนึกถึงสถานการณ์ที่อุณหภูมิแสงเปลี่ยนไปมาตลอดอย่างงานคอนเสิร์ต ถ้าเราเลือกบันทึกเป็น JPEG กล้องก็จะเก็บข้อมูลในตอนที่ไฟสีอะไรก็ไม่รู้ยิงมายังเวที การแก้อุณหภูมิสีกลับไปให้มากที่สุดแทบจะเป็นไปไม่ได้ในนามสกุลไฟล์แบบนั้น

ทีมงาน DozzDIY ทุกท่านเขาก็ถ่าย RAW กันทุกคน

การบันทึกในรูปแบบ RAW เปรียบได้กับการซื้อวัตถุดิบในการปรุงอาหารมาปรุงเอง จริงอยู่ที่ร้านที่ขายนั้นอาจจะมีเมนูจากวัตถุดิบนั้นแบบสำเร็จรูปวางขายอยู่ด้วย ถ้าเรารู้ว่าวัตถุดิบนั้นดีแต่ร้านปรุงไม่อร่อย การซื้อวัตถุดิบที่ไม่มีการแตะต้องอะไรมาทำเองนั้นก็จะถูกใจกว่าอยู่แล้ว

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องบันทึก RAW ตลอดไปนะครับ ช่างภาพบางคนที่ต้องทำงานแข่งกันกับเวลา เช่น ถ่ายเช้าส่งงานเย็นพวกเขาจะเซ็ตไฟล์ให้ดีที่สุดแล้วยิงเป็น JPEG ทันทีก็ได้ แต่ก็ต้องขาดโอกาสในการปรับแต่งภาพที่ดีกว่านั้นส่งไปอยู่ดี บางคนก็มีบ้างเหมือนกันที่บันทึกทั้ง RAW + JPEG เอาไว้

ไฟล์ภาพจะไม่มีวันถูกเซฟทับ

แม้กระทั่งผู้สอนเองก็เคยผ่านประสบการณ์ในการนั่งทำไฟล์ JPEG แล้วเผลอไปกดเซฟทับเอาไว้ เมื่อถึงเวลานั้นการย้อนกระบวนการกลับมายังขั้นตอนก่อนหน้าก็เปล่าประโยชน์ แถมภาพที่ผ่านการตกแต่งซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่าง JPEG จะทำให้พิกเซลเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ ผิดกับไฟล์ RAW ที่ทำหน้าที่เหมือนกับฟิล์มเนกาทีฟในสมัยยุคของกล้องฟิล์ม ซึ่งไม่ว่าจะทำภาพกี่ครั้งๆไฟล์จะยังอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่นำส่วนที่ตัดทอนและตกแต่งออกมาเป็นข้อมูลใหม่ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ

จะให้เซฟอีกสักกี่ครั้งไฟล์ก็ออกมาไม่ทับของเดิม ในขณะที่ JPEG โดนทับไปเรื่อยๆ

ไฟล์ RAW นั้นจะอยู่กับเจ้าของไปอีกนานเท่านาน ตราบเท่าที่ยังคงมีโปรแกรมเปิดอ่านมันได้ และยังใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเวลาฟ้องร้องไฟล์ต้นฉบับได้ด้วย เก็บข้อมูลไฟล์ภาพดิบเหล่านี้ไว้ให้ดีนะครับ

จะว่าไป RAW ก็เหมือนฟิล์มเนกาทีฟ ที่ไม่ว่าจะเอาไปล้างอีกสักกี่ครั้งภาพที่ได้ยังคงคมชัดสีสันสดใสเสมอ

เลือกรูปแบบสีให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ได้

ขนาดตาของคนเรายังมองเห็นสีสันได้ไม่เหมือนกันแล้วนับประสาอะไรกับอุปกรณ์ดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์หรือจอมอนิเตอร์ ดังนั้นการกำหนดขอบเขตรูปแบบของสีที่ใช้ให้เหมาะสมกับแหล่งที่จะนำไปเผยแพร่ ไฟล์ RAW จึงมีความยืดหยุ่นสูงว่าเพราะเก็บค่าสีได้กว้าง การจะตัดเอาส่วนที่จำเป็นแล้วนำไปใช้ย่อมดีและตรงตามวัตถุประสงค์มากกว่า

สีที่มนุษย์มองเห็นและรูปแบบสีต่างๆ [ที่มา]

เช่น ถ้าต้องการดูบนคอมตัวเองที่ช่วงสีกว้างที่สุด ก็ใช้ ProPhotoRGB หรือถ้าหากนำไปสั่งพิมพ์ในบางร้านที่รับพิมพ์ภาพคุณภาพสูงก็อาจจะต้องใช้ AdobeRGB 1998 หรืออัพโหลดขึ้นในเว็บไซต์ก็ใช้รูปแบบสีสากลที่แคบที่สุดอย่าง sRGB

RAW ให้รายละเอียดภาพที่สูงกว่า JPEG

คำว่า “Capture Sharpening” คือกระบวนการของภาพ JPEG ที่ผ่านการถูกปรับคมมาด้วยซอฟท์แวร์ในกล้องถ่ายภาพดิจิตอลเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นด้วยกระบวนการดังกล่าวจึงเป็นการทำลายพิกเซลภาพให้สูญเสียอย่างถาวรก่อนเซฟเป็น JPEG ซึ่งทำให้รายละเอียดสำคัญๆบางอย่างที่ถูกถ่ายอาจจะต้องการหายไปได้ การถ่ายภาพเป็น RAW ภาพถ่ายนั้นจะไม่ถูกแตะต้องจากกระบวนการปรับคมหรือแม้แต่น้อย ทำให้ภาพอาจจะดูจืดๆและไม่คอมเหมือน JPEG ในตอนแรก แต่เมื่อลองปรับแต่งแล้วจะเห็นได้ชัดเลยว่าดีกว่าอย่างแน่นอน

มีตัวแปรมากมายที่ทำให้ภาพแต่ละภาพควรถูกปรับคมไม่เหมือนกัน การถ่ายเป็น RAW แล้วมาปรับคมเองจึงเหมาะสมมากที่สุด

หลายคนอาจจะกังวลใจว่าถ้าถ่ายเป็น RAW มากๆเข้าจะทำให้พื้นที่ว่างในคอมพิวเตอร์เต็มเร็วหรือเปล่า ในทุกๆปีนั้นราคาของพื้นที่จัดเก็บอย่างฮาร์ดดิสก์ก็ถูกลงเรื่อยๆและมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ในตอนหน้าเราจะมาพูดถึงถึงไฟล์ DNG ที่ช่วยลดภาระในส่วนนี้กันต่อครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

การใช้งาน Masking Tools ฉบับสมบูรณ์

บทความสอนการใช้งานเครื่องมือกลุ่ม Masking Tools ทุกตัวอย่างละเอียดในแบบของ DozzDIY ที่กระชับและเข้าใจง่ายและครอบคลุมการเลือกพื้นที่ทุกรูปแบบ

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า