คาเฟอีนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการถ่ายภาพอย่างไร
คาเฟอีนในหลักของ อยุรเวท (ศาสตร์แห่งชีวิต) จัดเป็นสารกระตุ้นที่เพิ่มอัตราการเลื่อนไหลของสิ่งต่างๆในร่างกาย (อากาศและลม) ซึ่งในแต่ละวันร่างกายมนุษย์จะมีช่วงที่ดีที่สุดของสมดุลต่างๆไม่เหมือนกัน เช่น การขยับตัวของลำไส้จะเกิดขึ้นในช่วง 7 นาฬิกาเป็นต้นไป หรือการหลั่งฮอร์โมนซ่อมแซมที่จะเกิดขึ้นในช่วงเที่ยงคืนถึงตีหนึ่งเท่านั้น การรับสารคาเฟอีนด้วยความเข้าใจของธรรมชาติร่างกายจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถดึงศักยภาพสูงสุดของตัวเองออกมาได้อย่างถูกต้อง และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานที่ทำได้อย่างเห็นผลชัดเจนโดยที่ไม่เกิดผลเสียต่อร่างกายมากเกินไป
คาเฟอีน (Caffeine) คืออะไร?

คาเฟอีนจัดเป็นสารเสพติดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก มีอยู่ในกาแฟ,ชา, โคล่า, ช็อกโกแลต และอื่นๆ สารดังกล่าวออกฤทธิ์กระตุ้นต่อประสาทส่วนกลางเพิ่มระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ลดความง่วงและกระตุ้นการทำงานส่วนต่างๆ ส่งผลให้มีสมาธิและมีกลไกการตัดสินใจที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่ผลดีเพียงอย่างเดียวคงไม่เรียกว่าสารเสพติดเพราะคาเฟอีนก็ทำให้ร่างกายเกิดความแปรปรวนไม่ว่าจะเป็นความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นภาระของหัวใจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อีกทั้งการถอนฤทธิ์คาเฟอีนในร่างกายคนปกติอาจจะใช้เวลา 2-3 วัน ซึ่งจะนานมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคไต หรือผู้ที่มีปัญหาในการขจัดสารออกจากร่างกาย

caffeine
ปฏิกิริยาของคาเฟอีนที่ส่งต่อการตัดสินใจ

การออกถ่ายภาพที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวและการตัดสินใจที่รวดเร็วฉับไว คาเฟอีนอาจเป็นตัวกระตุ้นที่จำเป็นในชั่วโมงที่ต้องใช้ มีผลวิจัยออกมาว่าช่วงที่คาเฟอีนออกฤทธิ์สามารถลดภาวะซึมเศร้าและคลายความกังวลลงได้มาก อีกทั้งยังเพิ่มความจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าปกติที่ไม่ดื่ม (แม้ว่าอาการซึมเศร้าและกระวนกระวายจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยช่วงหมดฤทธิ์หรือถอนกาแฟ) จึงส่งผลให้ความแม่นยำในการควบคุมอุปกรณ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการถือกล้องได้นิ่งมากยิ่งขึ้น หรือการตัดสินใจใช้โหมดต่างๆได้เร็วมากขึ้น และจะต้องเป็นการเลือกใช้ในขณะที่ร่างกายมีความสมบูรณ์พร้อม ไม่ใช่การอดนอนมาอย่างยาวนานและเลือกใช้สารคาเฟอีน

drinking tea

คาเฟอีนปรากฏอยู่ในเครื่องดื่มหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นชา, กาแฟ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องรู้จักใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

จำไว้ว่าการออกฤทธิ์ของสารคาเฟอีนในกระแสเลือดจะคงอยู่เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง การเลือกใช้ในช่วงที่ไม่ส่งผลต่อการนอนหลับหรือการหลั่งฮอร์โมนที่จำเป็นต่อร่างกาย หรือช่วงเวลาคาบเกี่ยวไปยังเวลากลางคืนจะช่วยลดภาวะการนอนหลับยากอันเกิดมาจากการบริโภคสารดังกล่าวได้

ปฏิกิริยาคาเฟอีนต่อกล้ามเนื้อและความทนทานร่างกาย

มีการทดลองในกลุ่มตัวอย่างของผู้ออกกำลังกายแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกได้รับสารคาเฟอีนหลอกและอีกกลุ่มได้รับสารคาเฟอีนจริงพร้อมทั้งมีการวัดค่าความดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจด้วยการออกกำลังกายสองแบบคือ Bench Press (นอนยกน้ำหนัก) และ Leg Press (เครื่องออกกำลังกายที่ใช้แรงขาต้านน้ำหนัก) ปรากฏว่ากลุ่มที่ได้รับสารคาเฟอีนสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มขึ้นราวๆ 11-12% ซึ่งถือว่าไม่ได้มีนัยสำคัญอะไร (เช่น จาก 1 เป็น 1.1 กิโลกรัม) แต่ในอีกการทดลองหนึ่งที่ทดสอบความทนทานของร่างกายปรากฏว่ามีผลลัพธ์ที่ชัดเจนมากกว่า ในด้านประสิทธิภาพความทนทานต่อความเมื่อยล้าและจำนวนครั้งที่ทำโดยมีอาการถดถอยของร่างกายน้อยกว่า

benchpress

คาเฟอีนที่ถูกทดสอบในการทดลองประสิทธิภาพกล้ามเนื้อ (Strength) ไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มใช้คาเฟอีนหลอกอย่างมีนัยสำคัญ
แต่จะไปช่วยในเชิงของความอึดและความทนทาน (Endurance) มากกว่า

การทดสอบดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าเราสามารถที่ใช้ประโยชน์จากสารคาเฟอีนเพื่อต่อต้านความเมื่อยล้าที่อาจเกิดจากการแบกกล้องหรือสัมภาระต่างๆได้นานขึ้น เพราะการออกรอบถ่ายภาพในแต่ละครั้งใช้เวลาไม่น้อย เช่น การถ่ายภาพพิธีสำคัญๆของลูกค้า หรือทริปถ่ายภาพต่างๆ

รับสารคาเฟอีนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

เคล็ดลับในการบริโภคสารคาเฟอีนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดจะต้องใช้ก่อนเวลา 14:00 . ของแต่ละวัน และเพื่อให้การดูดซึมเกิดขึ้นทีละน้อยๆและไม่หมดฤทธิ์เร็วเกินไป ต้องมีการบริโภคพร้อมกับอาหารที่มีคุณภาพดี โปรตีน,ไขมัน และ คาร์โบไฮเดรต หมายความว่าไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้การเลือกแหล่งที่มาของเครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น เมล็ดพันธุ์กาแฟออร์แกนิก ก็ช่วยลดโอกาสในการรับพิษจากยาฆ่าแมลง นอกจากนี้ก็ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนที่มีสารปรุงแต่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ครีมเทียม เป็นต้น

DSC_1929_fb

สาเหตุที่ควรรับสารคาเฟอีนก่อน 14:00 น. เพราะช่วงเวลาในการออกฤทธิ์ไปจนสู่ช่วงหมดฤทธิ์
จะไม่ส่งผลกระทบในช่วงเย็นซึ่งควรเป็นเวลาในการพักผ่อนนั่นเอง

ต้องบริโภคคาเฟอีนเท่าไหร่จึงจะเรียกว่ามากเกินไป

400 มิลลิกรัม คือปริมาณของสารคาเฟอีนที่ร่างกายของผู้ใหญ่สามารถบริโภคใน 1 วัน เปรียบเทียบได้กับการดื่มกาแฟราวๆ 4 แก้ว หรือเครื่องดื่มโคล่า 4 กระป๋อง หรือเครื่องดื่มชูกำลัง 2 ขวด ทั้งนี้ต้องระวังการบริโภคหากร่างกายมีความไวต่อสารดังกล่าวมากเกินไป นอกจากนี้ปริมาณดังกล่าวเป็นปริมาณที่คนส่วนใหญ่สามารถบริโภคได้โดยเกิดผลข้างเคียงต่ำ ทางที่ดีควรบริโภคให้ต่ำกว่าได้จะดีที่สุด และไม่ควรบริโภคติดต่อกันจนเกิดภาวะเสพติดที่ต้องใช้คาเฟอีนมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เท่าเดิม

moderateCafeeine

ทุกอย่างมีขีดจำกัดของมัน อย่าบริโภคจนเกิด Overdose นะครับ ปริมาณ 400mg มาจากปริมาณร่างกายคนอเมริกันโดยส่วนใหญ่
(ซึ่งแต่ละวันเฉลี่ยต่อคนเขาบริโภคกันราวๆ 300mg)

ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสีย การเลือกใช้สารกระตุ้นไม่ควรถูกใช้อย่างเปล่าประโยชน์ การดื่มแต่น้อยเพื่อให้เกิดการตื่นตัวตามสมควรน่าจะเป็นผลดีกับร่างกายมากกว่าการดื่มเพื่อกระตุ้นใช้ในระยะเวลายาวนาน เพราะยังไงคาเฟอีนก็คือสารเสพติด แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วล่ะก็หลักการเหล่านี้น่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้ครับ

บรรณานุกรม
  1. เฉลียว ปิยะชน อายุรเวท ศาสตร์แห่งชีวิต พิมพ์ครั้งที่ 2 สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก กรุงเทพฯ 2537
  2. Warren GL, Park ND, Maresca RD, McKibans KI, Millard-Stafford ML. Effect of caffeine ingestion on muscular strength and endurance: a meta-analysis.https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20019636.
  3. Beck TW, Housh TJ, Schmidt RJ, Johnson GO, Housh DJ, Coburn JW, Malek MH. The acute effects of a caffeine-containing supplement on strength, muscular endurance, and anaerobic capabilities. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16937961
  4. Astorino TA, Rohmann RL, Firth K. Effect of caffeine ingestion on one-repetition maximum muscular strength. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17851681
  5. Bordeaux B, et al. Benefits and risks of caffeine and caffeinated beverages. http://www.uptodate.com/home. Accessed Nov. 26, 2016.
  6. Dietary guidelines for Americans, 2015-2020. U.S. Department of Health and Human Services. https://health.gov/dietaryguidelines/2015/guidelines/. Accessed Nov. 26, 2016.
  7. Frawley, D. and Lad, V. The Yoga of Herbs. An Ayurvedic guide to herbal medicine. (Reprint). Motilal Banarsidass publishers, Delhi. 2000.
  8. Renda G, et al. Genetic determinants of cognitive responses to caffeine drinking identified from a double-blind, randomized, controlled trial. European Neuropharmacology. 2015;25:798.
  9. Bope ET, et al. Popular herbs and nutritional supplements. In: Conn’s Current Therapy 2016. Philadelphia, Pa.: Elsevier, 2016. http://clinicalkey.com. Accessed Nov. 26, 2016.
  10. Caffeine. Natural Medicines Comprehensive Database. http://www.naturaldatabase.com. Accessed Nov. 26, 2016.
  11. Svatikova A, et al. Potentiated blood pressure responses to energy drink intake in caffeine naïve healthy adults: A double-blind randomized controlled study. Journal of the American College of Cardiology. 2015;65:A1432.
  12. Maski K. Insufficient sleep: Evaluation and management. http://www.uptodate.com/home. Accessed Nov. 26, 2016.
  13. Heckman MA, et al. Caffeine (1, 3, 7-trimethylxanthine) in foods: A comprehensive review on consumption, functionality, safety, and regulatory matters. Journal of Food Science. 2010;75:R77.
  14. Zeratsky K (expert opinion). Mayo Clinic, Rochester, Minn. Dec. 9, 2016.
  15. Nehlig A. Health effects of coffee/caffeine on brain health and disease: What should I tell my patients? Practical Neurology. 2016;16:89.
  16. Duyff RL. Fluids. In: American Dietetic Association Complete Food and Nutrition Guide. 4th ed. Hoboken, N.J.: John Wiley & Sons; 2012.
บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า