ระบบสี L*a*b (อ่านว่า แอล-เอ-บี) เป็นระบบสีที่มีให้เลือกใช้ใน Photoshop CC ซึ่งหลายคนที่สอบถามเข้ามายัง DozzDIY ไม่รู้ว่ามีไว้ทำไม หรือ คุณสมบัติจะเอาไปทำอะไรได้บ้าง ในบทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงความหมาย, รูปแบบ รวมไปถึงข้อดีในหลายแง่มุมที่จะช่วยให้ทำงานตกแต่งภาพถ่ายได้ดีมากยิ่งขึ้นด้วยระบบสีดังกล่าว

เพื่อการศึกษาที่ครอบคลุม สิ่งที่แรกสุดของการเรียนก็คือระบบสีนี้คืออะไร มีการแยกรายละเอียดในแต่ละส่วนอย่างไร หรือจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในด้านใดมาก่อนบ้างเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เพราะ L*a*b รูปแบบที่เกิดจากการผสมระหว่างมิติของส่วนสว่างที่แยกออกมาเป็น 1 แกน และผลต่างของระบบแสงสี a และ b อีก 2 แกน ถ้าไม่เข้าใจโลกความตรงข้ามของแสงสีเลยก็จะลำบากได้ครับ

CIELAB Color Space คืออะไร?

ขอบเขตการแสดงผลสีแบบ CIELAB หรือที่รู้จักในชื่อของ (CIE L*a*b เรียกง่ายๆว่าแล็บก็ได้) ถูกกำหนดและอธิบายโดยองค์กรสากล International Commission on Illumination ในปี ค.. 1976 ขอบเขตการแสดงผลสีในรูปแบบดังกล่าวนี้แตกต่างไปจากการแสดงผลในรูปแบบ RGB ที่คุ้นเคย ตรงที่แยกส่วนสว่างกับสีออกจากกันไปเลย ทำให้เวลาแก้ไขสามารถเจาะจงเป็นอย่างๆได้ ทำให้เราเพิ่มหรือลดความสว่างของภาพโดยไม่ทำให้สีเปลี่ยนแปลงไปด้วย หรือเพิ่มลดความอิ่มตัวของภาพโดยไม่ส่งผลต่อความสว่างของภาพไปด้วย

CIELAB มุมมองจากด้านบน 
โดย Holger kkk Everding – Own work, CC BY-SA 4.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=38366968

CIELAB Color Space มีรูปแบบอย่างไร?

เริ่มต้นด้วยการกำหนดแกน 2 แกน เหมือนการกำหนดค่าสมดุลแสงขาว โดยที่ให้แกน a เป็นแกนนอนแบบผลต่างของ เขียวม่วงแดง และ แกน b เป็นแกนตั้งแบบผลต่างของ น้ำเงินเหลือง ซึ่งการเพิ่มขึ้นทั้งสองแกนจะได้สีแดง และถ้าลดลงทั้งสองแกนจะได้สีฟ้า

จากนั้นให้สร้างแกนมิติที่ 3 ขึ้นมาซึ่งเป็นแกนของความสว่างตัดผ่านแกนนอนและแกนตั้ง เรียกว่าแกน L หรือ Light จะทำให้เราอธิบายความเป็นไปของขอบเขตรูปแบบการแสดงผลสีแบบนี้ได้อย่างเห็นภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสีที่ผลิตได้ในแต่ละช่วงความสว่างยังมีความไม่เท่ากันเมื่อเทียบกับอุดมคติ

CIELAB เอาไปทำอะไรได้บ้าง?

การเพิ่มลดผลสว่างของภาพ : ทำได้โดยการเลือกเครื่องมือการตกแต่งภาพอย่างเส้นเคิร์ฟแล้วเลือกแชนเนล L เพียงเท่านี้การแก้ไขปรับแต่งใดๆจากเครื่องมือก็จะไม่ส่งผลต่อสีใดๆเลยในภาพถ่าย

การเพิ่มลดความอิ่มตัวของภาพ : ทำได้โดยการเลือกเครื่องมือการตกแต่งภาพอย่างเส้นเคิร์ฟแล้วเลือกแชนเนล a หรือ b หรือทั้งสองอย่าง เพียงเท่านี้การแก้ไขปรับแต่งใดๆจากเครื่องมือก็จะไม่ส่งผลต่อส่วนสว่างใดๆเลยในภาพถ่าย

ปรับคมโดยไม่ส่งผลต่อส่วนมืดในภาพ : ไปที่พาเนล Channel เลือก L แล้วกลับเข้าสู่โหมด Lab Channel จากนั้นเอาส่วนที่เลือกมาปรับคมด้วยฟิลเตอร์ปรับคมแบบใดก็ได้ ผลลัพธ์จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าการเลือกเครื่องมือโดยไม่จำกัดพื้นที่อย่างมาก

ระบบสี L*a*b จึงเป็นระบบสีที่มีประโยชน์อย่างมากในการปรับแต่งภาพถ่าย อาจจะสับสนในแง่ของการเรียนรู้ช่วงแรก แต่ถ้าผ่านไปได้แล้วล่ะก็นี่คือก้าวสำคัญในความก้าวหน้าของการตกแต่งภาพถ่ายทีเดียวครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า