ความสัมพันธ์แสงสองปัจจัยในการถ่ายภาพด้วยมือถือ

ระบบการถ่ายภาพเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการรับแสง และโทรศัพท์มือถือที่เปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ทำให้มีสิ่งหนึ่งที่ผู้ถ่ายภาพด้วยมือถือไม่ต้องเรียนมากเหมือนผู้ที่ใช้กล้องถ่ายภาพดิจิตอลคือเรื่องของ ‘เลนส์’ ทำให้ตัดภาระเรื่องของการบังคับรูรับแสงไปด้วย บทความนี้จึงเป็นการสรุประบบการถ่ายภาพในเรื่องของตัวแปรและความสัมพันธ์แสงกับสิ่งที่คุมได้ในมือถือของผู้เรียนนั่นเอง

ตัดเรื่องรูรับแสงทิ้งไปซะ!

กล้องถ่ายภาพดิจิตอลที่เปลี่ยนเลนส์ได้นั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย และโทรศัพท์มือถือที่ถ่ายรูปได้แต่เปลี่ยนเลนส์ไม่ได้เองก็เช่นกัน ดังนั้นแทนที่จะเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นที่ไม่เหมือนเราจึงไม่ใช่เรื่องแล้วล่ะ รู้ไว้แค่ว่าถ้าเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ก็ไม่ต้องไปปวดหัวเรื่องการหาเลนส์ใหม่ๆมาแทน ทำให้ไม่ต้องเรียนเรื่องรู้รับแสงหรือการละลายหน้าหลังด้วยรูรับแสง แถมในแอปพลิเคชั่น Moment Pro Camera ก็ไม่ได้ให้เราบังคับอะไรตรงนี้ด้วย การเรียนจึงน้อยลงกว่าการถ่ายภาพเต็มระบบนั่นเองจ้า (เอาเวลาว่างตรงนี้ไปถ่ายภาพให้มันดีๆก็พอนะ)

ใครจะพูดถึงเลนส์และรูรับแสงก็พูดไป ในคลาสเรียน ‘ถ่ายภาพสวยด้วยมือถือ’ จาก DozzDIY เราจะไม่พูดจ้า
(ก็มันไม่ได้ใช้นี่นา) เอาไว้เรียนเต็มระบบค่อยเรียนเพิ่มเอาเนาะ

ปัจจัยที่ 1 : ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)

การควบคุมตัวแปรความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) ส่งผลอยู่ 2 อย่าง คือ ‘ปริมาณของแสงที่วิ่งเข้าเซ็นเซอร์’ และ ‘ระยะเวลาในการบันทึกภาพ’ ดังนั้นคิดให้ดีว่าถึงแม้แสงจะเพียงพอต่อการถ่ายภาพให้พอดีแล้ว ระยะเวลาในการบันทึกภาพนั้นมากพอที่จะถ่ายภาพให้ชัดด้วยหรือไม่ หรือระยะเวลาบันทึกภาพนั้นนานพอที่จะเก็บการเคลื่อนไหวให้เป็นเส้นสายหรือไม่ พิจารณาจากวัตถุประสงค์ของผู้เรียนเป็นหลักเพราะตัวแปรดังกล่าวสามารถพลิกแพลงการถ่ายภาพโดยเน้นความเคลื่อนไหวของภาพเป็นหลัก

ปัจจัยที่ 2 : ความไวแสง (Light Sensitivity)

การควบคุมตัวแปรความไวแสง (Light Sensitivity) ส่งผลอยู่ 2 อย่าง คือ ‘ปริมาณของแสงที่วิ่งเข้าเซ็นเซอร์’ และ ‘คุณภาพของภาพถ่าย’ สิ่งที่ต้องคำนึงอย่างมากก็คือกล้องถ่ายภาพจากโทรศัพท์มือถือนั้นยังจัดการคุณภาพของภาพที่การดันค่าความไวแสงสูงๆได้ไม่ดีเทียบเท่ากล้องถ่ายภาพดิจิตอลที่ขายๆกันในปัจจุบัน คุณภาพของภาพถ่ายจึงเป็นความจำเป็นที่ต้องนำมาคิดว่าสมควรหรือไม่ หรือสถานการณ์มีความจำเป็นมากแค่ไหนที่ต้องเพิ่มค่าความไวแสงสูงขนาดนั้น

ความสัมพันธ์แสงสองปัจจัยในการถ่ายภาพด้วยมือถือ

จึงกลายเป็นที่มาของคำว่า ‘ความสัมพันธ์สองปัจจัยในการรับแสง’ เพราะว่าการเพิ่มค่าใดค่าหนึ่งของตัวแปรจะส่งผลต่ออีกตัวแปรหนึ่งทำให้แสงที่รับนั้นเกิดความไม่พอดีทันทีนั่นเอง ก็ต้องพิจารณาเอาว่าเราต้องการอะไรเป็นหลัก โดยส่วนตัวของผู้สอนจะนิยมคุณภาพของภาพถ่ายสูงสุดจึงเริ่มต้นด้วยค่าความไวแสงต่ำสุดเสมอ แล้วพยายามหาทางควบคุมภาพให้ชัดจากความเร็วชัตเตอร์ปัจจุบันเอา

ทั้งสองตัวแปรต่างก็ส่งผลให้ภาพสว่างมืดได้ทั้งหมด
จึงต้องคิดให้ดีว่าวัตถุประสงค์ในการบันทึกภาพครั้งนั้นเราทำไปเพื่ออะไร และต้องการอะไร

Basic Photography
เปลี่ยนคำว่ามือใหม่ให้กลายเป็น ‘ช่างภาพ’ ในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง

ดูรายละเอียด

Mobile Photography
หลักสูตรถ่ายภาพสวยด้วยมือถือ
ดูรายละเอียด

ถ้าผู้เรียนได้ศึกษาหลักการถ่ายภาพด้วยระบบแสงจริงๆ จะพบกว่าการเรียนความสัมพันธ์แสงนี้จะมีอยู่สามตัวแปร ซึ่งต้องจำเพิ่มเข้าไปอีก สำหรับคนที่ใช้กล้องอยู่แล้วมาเจอความรู้ส่วนนี้ก็คงรู้สึกว่าง่ายขึ้น แต่คนที่มาเจอสิ่งนี้ก่อนแล้วไปเรียนถ่ายภาพจริงๆจังๆก็คงจะยากขึ้นนิดหน่อย ก้นับเป็นความท้าทายที่รอให้เราพิสูจน์เพื่อความก้าวหน้าในการถ่ายภาพแล้วกันนะ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า