ความคมชัดต้นทาง (Capture Sharpening) หมายถึง ความคมชัดที่ปรับให้เป็นค่าเริ่มต้นของภาพถ่ายดิจิตอลอันเนื่องมาจากการสูญเสียความคมชัดจากระบบการบันทึก ยกตัวอย่างเช่นการแปลงสัญญาณภาพที่บันทึกจากอุปกรณ์เป็นข้อมูลดิจิตอล หรือ อุปกรณ์ที่ทำให้สูญเสียความคมชัดอย่างฟิลเตอร์หรือเลนส์ เป็นต้น

ความคมชัดต้นทางจึงมีไว้เพื่อเรียกรายละเอียดโดยรวมของภาพที่เกิดจากการสูญเสียที่อุปกรณ์ต้นทางกลับคืนมา ทั้งนี้ทั้งนั้นความคมชัดต้นทางมิใช่กระบวนการที่ทำให้รายละเอียดทั้งหมดในภาพกลับมาพร้อมทั้งทำให้ภาพคมชัดอย่างถึงที่สุดโดยไม่ต้องปรับเพิ่มอะไร เพราะผู้เรียนจำเป็นต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือใช้ความคมชัดในกระบวนการต่อไปสร้างสรรค์ให้ภาพถ่ายเป็นไปอย่างที่ต้องการอีกครั้งหนึ่ง

โดยทั่วไปทางฝั่งค่ายผู้ผลิตกล้องมักมีซอฟท์แวร์ภาพในเพื่อกำหนดค่าตั้งต้นในการปรับคมให้กับภาพกรณีที่ถ่ายเป็นไฟล์ JPEG ซึ่งผู้เรียนสามารถแก้ไขรายละเอียดในส่วนนี้ได้ที่เมนูส่วนการปรับแต่งความคมชัดของกล้องถ่ายภาพดิจิตอลตามแต่ที่ผู้พัฒนาเตรียมเอาไว้ให้และภาพจะถูกปรับคมอย่างถาวรในขั้นต้น ถ้าเป็นการถ่ายภาพมาเพื่อปรับแต่งอีกครั้งดูเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมนักเพราะภาพได้สูญเสียคุณภาพพิกเซลบางส่วนไปแล้ว

_p2m0029

ภาพถ่ายดิจิตอลสูญเสียรายละเอียดตั้งแต่บันทึกภาพ
เราจึงต้องปรับแต่งภาพเพื่อคืนรายละเอียดกลับมา

imgsharpening

ตรงกันข้ามหากผู้เรียนบันทึกไฟล์เอาไว้ในรูปแบบนามสกุลไฟล์ภาพดิบ (RAW เช่น .DNG, .X3F, .ARW หรือ CR2 เป็นต้น) ไฟล์ดังกล่าวจะไม่ถูกแตะต้องใดๆจากซอฟท์แวร์ของกล้อง

เมื่อไฟล์ภาพดิบเข้ามายังโปรแกรมปรับแต่งแก้ไขภาพถ่ายดิจิตอลอย่าง Adobe Lightroom CC, Adobe Photoshop CC, Capture One Pro, Iridient Developer ฯลฯ โปรแกรมเหล่านี้จึงต้องมีค่าตั้งต้นในการปรับคมเพื่อเรียกรายละเอียดในระดับแรกมาก่อนซึ่งก็ได้ผลดีในระดับหนึ่ง แต่สำหรับผู้สอนแล้วคิดว่าภาพถ่ายดิจิตอลแต่ละภาพควรได้รับการปรับค่าความคมชัดแตกต่างกันออกไป เช่น ภาพที่มีรายละเอียดของขอบมากๆอย่างภาพทะเลและโขดหิน หรือภาพที่มีรายละเอียดน้อยๆอย่างภาพเด็กทารก ภาพทั้งสองนี้แตกต่างกันในด้านรายละเอียดจนควรได้รับการปรับแต่งที่ไม่เหมือนกันตามไปด้วย

ผู้สอนจึงขอยกตัวอย่างพาเนลส่วนของการปรับความคมชัดมาจากโปรแกรมที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่ Adobe Lightroom CC, Iridient Developer และ Sigma Photo Pro เพื่อให้ผู้เรียนเห็นว่าความชาญฉลาดในการปรับคมเป็นความอิสระในการสร้างสรรค์เครื่องมือต่างๆให้เราได้ใช้ดังที่เห็นในภาพ

lrcsharp

Adobe Lightroom CC

iridientcsharp

Iridient Developer

sigmacsharp

Sigma Photo Pro

ดังนั้นการเลือกใช้โปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งเพียงอย่างเดียวผู้เรียนก็อาจพลาดเครื่องมือดีๆในอีกโปรแกรมอื่นก็ได้ เช่น สเกลการทำงานของโปรแกรม Adobe Lightroom CC กับ Iridient Developer ดูเหมือนจะคล้ายกันอย่างมาก เพราะถูกสร้างมาให้ทำงานในลักษณะ Unsharp Mask แต่ Iridient Developer ก็ยังมีโหมดของรายละเอียดที่ซ่อนให้เหลืออยู่อีกสองสามโหมดซึ่ง Lightroom CC ไม่มี ส่วน Sigma Photo Pro อันนี้เข้ากับใครไม่ได้จริงๆเพราะขนาดค่าความคมชัดที่ 0 ก็ยังคมจนลำไส้แตกเลยจ้า (ขนาดใช้ค่าเป็นลบยังคมเลย)

ใจความของการปรับความคมชัดโดยหลักมีอยู่สามเรื่อง คือ ความคมชัดต้นทาง (Capture Sharpening), ความคมชัดสร้างสรรค์ (Creative Sharpening) และ ความคมชัดปลายทาง (Output Sharpening) การปรับความคมชัดในแต่ละแบบต่างก็มีรายละเอียดปลีกย่อยให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจต่างกันไป เพื่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุดของไฟล์ภาพก่อนเผยแพร่ไปยังผู้ชมจำนวนมาก ปรับแต่งให้กับภาพอย่างเหมาะสมนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า