โหมดวัดแสงกับการถ่ายภาพ

กล้องถ่ายภาพดิจิตอลไม่รู้เลยว่าภาพที่เรากำลังจะบันทึกนั้นสว่างหรือมืด ทำได้เพียงนำแสงที่กล้องมองเห็นไปเปรียบเทียบกับค่าที่ตั้งมาจากโรงงานซึ่งเป็นมาตรฐานสีเทากลาง (อยู่ระหว่างสีขาวและสีดำ) เพื่อตัดสินใจเอาเองโดยอัตโนมัติว่าภาพควรจะมืดหรือสว่าง แล้วอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องในการวัดแสงกันล่ะ บทความนี้มีสิ่งที่กำลังมองหาอยู่แน่นอน

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทากลางที่กล้องมองเห็น

ด้านล่างนี้คือภาพถ่ายภาพหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยสีสันจำนวนมากในภาพ เราอาจรู้สึกไปเองว่านั่นคือสีที่ถูกต้องแล้ว แต่เมื่อมองผ่านกล้องถ่ายภาพดิจิตอลกลับพบว่าภาพอาจจะมืดหรือสว่างไม่ถูกต้องเท่าที่ตาเห็นนัก อธิบายได้โดยแปลงให้ภาพสีเหล่านี้เป็นภาพโมโนโครม จะพบว่าส่วนต่างๆมีเฉดของสีเทาจำนวนมากประกอบอยู่ในภาพ

ภาพสีที่แสงจริงก็ผิด ความสว่างในส่วนต่างๆก็ผิด

เมื่อดูดสีออกจนหมด

การวัดแสงจากกล้องถ่ายภาพดิจิตอลนั้นไม่สามารถให้ค่าแสงที่ถูกต้องทั้งภาพ อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของเทคโนโลยีและความแตกต่างในด้านการมองเห็นเมื่อเทียบกับตามนุษย์ เราจะเลือกให้กล้องมองเห็นค่าสีที่ถูกต้องได้เพียงจุดหนึ่ง, กลุ่มหนึ่ง หรือ โดยเฉลี่ยทั้งภาพ เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นถ้าเรากำลังเล็งกล้องไปที่สีขาว กล้องจะลดความสว่างลงมาเป็นสีเทา หรือถ้าเรากำลังเล็งสีดำ กล้องจะเพิ่มความสว่างให้เป็นสีเทา พลอยทำให้จุดที่เราไม่ได้วัดนั้นได้รับแสงที่ผิดไปหมด

โหมดวัดแสงที่พบได้ทั่วไปในกล้องถ่ายภาพดิจิตอล

ถึงตรงนี้ผู้เรียนคงพอทราบปัญหาที่เกิดขึ้นจากกล้องถ่ายภาพดิจิตอล ที่ไม่สามารถวัดแสงได้ถูกต้องด้วยวิธีการอัตโนมัติแต่แรก แล้วจะทำอย่างไรสิ่งที่เรากำลังบันทึกจึงจะวัดแสงได้ถูกต้อง ก่อนอื่นขออธิบายถึงโหมดการวัดแสงที่มีในกล้องถ่ายภาพดิจิตอลทั่วไปดังนี้

โหมดวัดแสงเฉพาะจุด (Spot Metering) : โหมดวัดแสงนี้จะเลือกให้แสงที่ได้รับนั้นเป็นค่าเทากลางเฉพาะบริเวณกลางจอเพียงอย่างเดียว ไม่สนใจว่ารอบๆจะเป็นอย่างไร เหมาะกับการบันทึกภาพโดยที่วัตถุอยู่นิ่ง ไม่เหมาะกับการถ่ายภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงของแสงไปมาบ่อยๆเพราะจะทำให้ผิดพลาดได้

โหมดวัดแสงเฉลี่ย (Evaluate Metering) : เป็นการวัดแสงโดยเฉลี่ยทั่วทั้งฉาก นั่นหมายถึงอาจจะไม่มีส่วนใดของภาพวัดภาพได้ถูกต้อง 100% เลยสักอย่าง ข้อดีของการวัดแสงในโหมดนี้จะทำให้รายละเอียดที่ปรากฏในภาพค่อนข้างตายตัวไม่เปลี่ยนแปลงไปมาเมื่อแสงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ

โหมดวัดแสงเฉลี่ยหนักกลาง (Center-Weight Metering) : กล้องจะให้น้ำหนักความสำคัญกับวัตถุกลางภาพในลักษณะกลุ่มแสงที่กลางฉาก ซึ่งคล้ายๆกับการวัดแสงแบบจุดแต่จะมีการกระจายจุดวัดที่เฉลี่ยมากขึ้น ทำให้วัดแสงได้ดีขึ้นในกรณีที่วัตถุกลางจอมีความสว่างแตกต่างกันพอสมควร

การชดเชยแสง คือสิ่งจำเป็น

คงมีแต่ผู้บันทึกภาพเท่านั้นที่สามารถตัดสินให้ส่วนใดๆของภาพควรเป็นอย่างไร สิ่งใดในภาพควรได้รับค่าแสงที่ถูกต้อง โหมดการบันทึกภาพโดยส่วนใหญ่ที่ใช้ในชีวิตจริงของช่างภาพส่วนมากจะอยู่ในโหมดถึงอัตโนมัติ (Semi-Auto Mode) ไม่ว่าจะเป็น Aperture Priority หรือ Shutter Priority เป็นต้น เมื่ออยู่ในโหมดดังกล่าวนี้แล้วหลังจากการวัดแสงกล้องจะทำการคำนวนค่าตัวแปรอิสระที่โหมดนั้นปล่อยให้คำนวนเพื่อความพอดีของแสงที่ได้รับ หลังจากนั้นเมื่อผู้บันทึกคิดว่ายังไม่พอดี จึงต้องชดเชยแสงเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นการชดเชยบวกกรณีภาพที่วัดได้มืดเกินไป หรือชดเชยลบกรณีที่ภาพสว่างมากเกินไป

สเกลลำดับขั้นในการชดเชยแสง

การชดเชยแสงในรูปแบบสเกลแอพพลิเคชั่นมือถือ

โหมด M จึงควรเป็นโหมดท้ายๆสำหรับช่างภาพมือใหม่ยังไงล่ะ

โหมด M นั้นจะไม่ให้การวัดแสงของกล้องมามีบทบาทในการบันทึกภาพเลยแม้แต่น้อย เพราะผู้บันทึกจะต้องตั้งค่าตัวแปรเองทั้งหมด แต่ก็ยังพอที่จะมีตัววัดบอกเอาไว้ว่าค่าที่กำลังตั้งอยู่ในขณะนั้นมืดหรือสว่าง โหมดนี้จะไม่สามารถใช้ค่าชดเชยแสงจากแป้น Exposure Value ของกล้องได้เลย ช่างภาพที่เป็นมือใหม่มากๆจะต้องจดจำอะไรหลายอย่างมากขึ้น จึงไม่แนะนำนักหากจะเริ่มถ่ายภาพด้วยโหมดนี้ตั้งแต่ต้น

โหมด M ใช้ในการล็อกแสงและค่าตัวแปรแบบตายตัว ไม่มีการปรับชดเชยแสงด้วยแป้นเฉพาะ

เราคือผู้กำหนดเองว่าภาพควรเป็นอย่างไร

การสร้างสรรค์ภาพนั้นความคิดของผู้บันทึกนับเป็นใหญ่ที่สุด จะถ่ายภาพให้มืดหรือสว่างจากความเป็นจริงก็คงไม่มีใครว่า ถ้าเรายอมรับว่ากล้องถ่ายภาพนั้นมองโลกที่ต่างไปจากตาเราเห็นแล้ว ที่เหลือก็เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่เราจะออกแบบว่าทำอย่างไรภาพจึงจะน่าสนใจ เช่น ภาพถ่ายบางภาพควรจะให้สว่างๆจึงจะดี หรือภาพถ่ายบางภาพต้องมืดมากกว่านี้ เป็นต้น

ชดเชยลบเยอะมาก กว่าจะออกมาแบบนี้

ภาพนี้ต้องชดเชยบวกจนกว่าตัวรถจะเป็นสีขาว เพราะกล้องจะวัดเป็นสีเทา

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้น เราควรทราบก่อนว่ามาตรฐานหรือระบบการทำงานของกล้องถ่ายภาพเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจและใช้งานได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังช่วยลดเวลาที่ไม่ควรเสียไปได้อย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

แนวคิดการแต่งภาพ ตอนที่ 02/99

แนวคิดในกระบวนการตั้งแต่เริ่มถ่ายภาพไปจนถึงการตกแต่งภาพถ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายโดยจะกล่าวถึงในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้นอย่างง่าย

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า