แต่การใช้เลนส์หมุนหาโฟกัสภาพด้วยตนเองเป็นของแสลงกับช่างภาพไม่น้อยเพราะจะต้องกะระยะเอาจากช่องมองที่ให้ความคมชัดกับดวงตาเพียงน้อยนิด หรือจอ LCD ที่ไม่อาจยืนยันโฟกัสหากแสงกลางวันมีความสว่างมากกว่า ไม่ว่าจะมีความลำบากในลักษณะใดก็ตาม เทคนิคด้านล้างนี้มีความสำคัญต่อผู้ที่ข้องเกี่ยวกับระบบโฟกัสด้วยตนเอง (Manual Focus) ซึ่งเป็น 1 ในเทคนิคที่ผู้เรียนหลักสูตรพิเศษ ‘ถ่ายกับมือ’ (Handheld Mastery) ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ
กล้องที่ผู้สอนใช้นั้นระบบโฟกัสอัตโนมัติก็ไม่ใช่ว่าดีนะครับ ยิ่งเวลากลางคืนเลิกคิดถึงระบบอัตโนมัติไปได้เลย การโฟกัสด้วยตนเองจึงได้ใช้อยู่บ่อยๆจนเป็นเรื่องปกติ
วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุดอาจต้องจดจำไว้ว่าความคมชัดที่แท้จริงคลาดเคลื่อนไปเป็นระยะมากเท่าใด แล้วโฟกัสทดระยะไปแบบนั้น หรือปิดระบบช่วยโฟกัสไปเลยเป็นอีกทางเลือกที่ทำได้เช่นกัน
เราอาจจะต้องพูดถกเถียงกันถึงประเด็นของสาเหตุที่ทำให้เลนส์ไวแสงหรือเลนส์ไพร์มให้อัตราความสำเร็จในการโฟกัสสูงกว่าเลนส์ซูมอย่างมีนัยสำคัญอย่างไร ซึ่งก็มีหลายเหตุผลที่ทำให้เลนส์กลุ่มนี้ควรเป็นเลนส์ชุดที่ควรเลือกใช้เมื่อต้องปรับโหมดการโฟกัสเป็นแบบแมนนวลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
บรรดากลุ่มเลนส์ไวแสงระดับสูงอนุกรม Art จาก Sigma มีบางตัวที่ผู้สอนใช้อยู่ครับ
เหตุผลที่ 1 : เลนส์ไวแสงส่งผลต่อความเร็วชัตเตอร์ที่ได้รับ
เพราะความไวแสงเป็นปัจจัยสำคัญหลักในการเอาชนะความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นทั้งปวง การเพิ่มขึ้นของรูรับแสงเพียง 1-2 สต็อปอาจเป็นจุดชี้ตายได้ว่า ภาพจะมีคุณภาพสูงกว่าที่ควรจะเป็นหรือหยุดการเคลื่อนที่นั้นเอาไว้อย่างเด็ดขาดได้หรือไม่ อีกทั้งความเป็นเลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยวที่มีการเคลื่อนไหวของชิ้นเลนส์ = 0 มุมตกกระทบแสงที่เป็นสาเหตุของปัญหาสีคลาดในภาพจึงต่ำกว่าเลนส์ซูมอย่างมาก
ห่างกันเพียง 1 สต็อป ความไวแสงก็เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าเลย
เหตุผลที่ 2 : ไม่ต้องมานั่งจดจำ Depth of Field กันบ่อยๆ
สิ่งที่เราทราบจากการถ่ายภาพมาแล้วสักระยะก็คือ ต่อให้เราใช้ f แคบให้ตายอย่างไร ถ้าหากวัตถุในโฟกัสอยู่ห่างจากวัตถุนอกโฟกัสอย่างมาก อาการเบลอย่อมเกิดขึ้น และหากวัตถุในโฟกัสใกล้กับวัตถุนอกโฟกัสมากเท่าไร ผลที่เกิดขึ้นจาก f กว้างก็ยิ่งส่งผลน้อยลง ทั้งสองสิ่งนี้ไม่เคยคงที่ไปตามช่วงทางยาวโฟกัสเสียด้วย การใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวต้องใช้ความเคยชินและการคำนวนซึ่งจะเร็วขึ้นเรื่อยๆเมื่อมีความคุ้นเคยกับเลนส์ตัวนั้นเป็นอย่างดีแล้ว
ช่วงระยะชัด (Depth of Field – ‘DOF’) คือ ระยะที่ชัดมากที่สุดตั้งแต่ด้านหน้าไปจนถึงด้านหลังของวัตถุในโฟกัส
ถ้าให้เทียบระหว่างเลนส์ 18mm, 24mm และ 35mm การใช้เลนส์ 18mm ไปกับโหมดโฟกัสด้วยมือโอกาสสำเร็จในการโฟกัสด้วยโหมดนี้ก็ย่อมมีความสำเร็จที่สูงกว่า เหตุผลเนื่องจากมุมรับภาพที่กว้างและผลลัพธ์ในทางออปติก ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วการเลือกเลนส์ให้เหมาะสมกับงานยังคงมีความจำเป็น ไม่ต้องจริงจังกับกฎให้มากนักเพราะเป็นเพียงแนวทางคร่าวๆเท่านั้น
เลนส์ที่ใช้ยิ่งมีทางยาวโฟกัสต่ำ ระยะโฟกัสยิ่งมากทำให้เข้าเป้าได้ง่าย
สิ่งที่ส่งผลต่อความคมชัดและความเบลอของภาพคือ ‘ความเร็วชัตเตอร์’ อย่าคิดเพียงว่าเราละการใช้โหมดโฟกัสอัตโนมัติของกล้องออกไปแล้วจะสบายขึ้น เพราะอาการสั่นที่เกิดจากการหมุนเลนส์แล้วลั่นชัตเตอร์ระหว่างนั้นยิ่งต้องเข้มข้นให้มากกว่าเดิม ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวแปรในการเพิ่มความเร็วโฟกัสให้ทันต่อวัตถุในโฟกัสให้ดี ตัดสินใจเอาเองว่าอะไรสำคัญที่สุด
เราต้องตัดสินใจกับตัวแปรมากมายในการถ่ายภาพ ช่วงแรกอาจจะคิดไม่ทันแต่จะค่อยๆเร็วขึ้นในที่สุดเมื่อเคยชินและถ่ายภาพบ่อยๆ
DozzDIY เรียก Hyperfocal Distance (HFD) ว่า ‘ระยะที่เกินออกมาจากจุดโฟกัสแล้วยังคมชัดอยู่’ ซึ่งโดยปกติการที่เราเลือกจุดโฟกัสด้วยวิธีการอัตโนมัติซึ่งมีในกล้องก็ค่อนข้างลำบากตรงที่บางทีการเลื่อนระยะทำได้ยาก อยากจะโฟกัสที่ตื้นกว่าดวงตาของตัวแบบให้คลุมมาถึงจมูกแล้วลึกไปถึงหู ก็ทำได้แค่ปรับ f ให้ลึก แต่การใช้โฟกัสแบบหมุนด้วยตัวเองทำได้สะดวกกว่านั้น
การเลือกช่วงคมชัดได้ถูกต้องจะทำให้จุดสนใจได้รับความคมชัดครอบคลุมทั่วถึงทั้งหมด
ความชำนาญที่เกิดจากการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการท่องจำผังหรือตัวเลขระยะที่มีตรงวงแหวนเลนส์ก็ดี จะช่วยให้เราเลือกความสำคัญกับระยะเกินโฟกัสเหล่านี้ได้ดีขึ้น และเร็วมากยิ่งขึ้นจากประสบการณ์ในที่สุด
ระบบช่วยโฟกัสที่ติดมาในกล้องอย่างระบบความคมชัดสูงสุดในโฟกัส (Peaking Focus) หรือ การมองด้วยช่องมองสายตา (Optical View Finder) ควรถูกตรวจสอบทุกครั้งว่า เมื่อเปลี่ยนเป็นเลนส์แต่ละตัวแล้วความคมชัดเป็นไปอย่างที่จอภาพยืนยันหรือไม่ เนื่องจากมีผู้ที่เคยใช้ระบบดังกล่าวแล้วพบว่าโฟกัสที่เกิดขึ้นจริง ‘เลื่อนเข้ามา’ หรือ ‘เลื่อนออกไป’ จากจุดที่ระบบแจ้งเตือนอยู่เรื่อยๆ
ระบบ Focus Peaking ของ Sigma
ที่มา : https://www.sigma-global.com/en/cameras/fp-series/main-feature/
วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุดอาจต้องจดจำไว้ว่าความคมชัดที่แท้จริงคลาดเคลื่อนไปเป็นระยะมากเท่าใด แล้วโฟกัสทดระยะไปแบบนั้น หรือปิดระบบช่วยโฟกัสไปเลยเป็นอีกทางเลือกที่ทำได้เช่นกัน
การโฟกัสด้วยตนเองสำหรับผู้เล่นกล้องในยุคนี้หลายคนมองว่าลำบาก แต่ความลำบากมักจะพาเราให้ก้าวหน้าไปยังจุดที่ไม่คิดว่าตนเองจะไปได้อยู่เสมอ จงมองปัญหาในมุมที่ต่างออกไปแล้วเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับมัน เราจะเห็นจุดดีจุดด้อยและเลือกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ