Cinemagraph คือ การผสมระหว่างภาพนิ่งและคลิปวิดีโอที่มีส่วนขยับซ้ำไปมา ทำให้เกิดความสนใจและน่าแปลกใจแก่ผู้ได้รับชม แต่กว่าจะได้มาซึ่งคลิปวิดีโอแบบ Cinemagraph ต้องผ่านขั้นตอนการตัดต่อและเรียนรู้เทคนิคการใช้โปรแกรมไม่น้อย
คลิปสอนทำ Cinemagraph ด้วยกล้อง Sigma FP จาก https://blog.sigmaphoto.com/
มาวันนี้ ทาง Sigma ได้ประกาศคุณสมบัติ Cinemagraph ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์กล้องถ่ายภาพดิจิตอล Sigma FP ของทางค่ายสามารถสร้างคลิปวิดีโอแบบ Cinemagraph ได้ภายในไม่กี่ขั้นตอน ซึ่ง DozzDIY ได้นำข้อมูลมาอธิบายไว้แบบง่ายๆไม่กี่ขั้นตอนในบทความนี้ครับ
เมื่อต้องการสร้างคลิปวิดีโอแบบ Cinemagraph ผู้ใช้งานต้องมีการนึกถึงผลลัพธ์สุดท้ายให้ได้ก่อนว่าคลิปวิดีโอจะออกมาเป็นอย่างไร หากนึกไม่ออกวิธีการที่ง่ายที่สุดให้ลองหาแรงบันดาลใจใน Pinterest ดูก่อน ด้วยคำว่า ‘Cinemagraph Inspiration’ ก็จะพอเข้าใจครับ
มีหลายคลิปที่สามารถทำได้ในกล้อง Sigma FP ทันที
สิ่งสำคัญในการสร้างคลิปวิดีโอแบบ Cinemagraph ด้วย Sigma FP จะต้องเป็นมุมกล้องที่นิ่งจริงๆ หมายความว่าด้วยสิ่งที่ไม่มีในตัวกล้องตั้งแต่แรกเริ่มอย่างระบบกันสั่น ขาตั้งกล้องจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การวางแผนให้ดีก่อนเป็นสิ่งที่ใช้ได้เสมอแม้จะเป็นคลิปถ่ายทำสั้นๆก็ตาม
กระบวนการทั้งหมดสามารถทำได้ภายในกล้องและใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ขั้นตอนสรุปออกมาได้ง่ายๆเพียงแค่ผู้ใช้งานระบุ ‘จุดเริ่มต้นของคลิป’, ‘จุดสิ้นสุดของคลิป’, ‘ภาพที่ค้างนิ่งเอาไว้’ และ ‘ส่วนที่ขยับ’
การบันทึกคลิปวิดีโอเพื่อนำไปทำ Cinemagraph จะต้องเป็นมุมที่นิ่งจริงๆ ขาตั้งกล้องจึงขาดไม่ได้ดังนั้นสิ่งแรกเตรียมอุปกรณ์และเซ็ตมุมกล้องให้เรียบร้อย คิดให้จบว่าจะทำอะไรและต้องการให้ผลลัพธ์ออกมาแบบใด จากนั้นก็บันทึกคลิปวิดีโอให้เรียบร้อย
หลังจากบันทึกเรียบร้อยแล้ว ให้เข้าสู่เมนูโดยกดที่ปุ่ม Menu แล้วเลือกแท็บ PLAY (แท็บย่อยที่ 2) จะเห็นเมนู Cinemagraph อยู่ด้านล่างถัดจาก DNG Development แล้วเลือก New ก็จะเข้าสู่โหมดการจัดการ Cinemagraph
จุดเริ่มต้น คือ จุดที่คลิปวิดีโอแบบ Cinemagraph เริ่มขึ้น อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นจุดที่คลิปวิดีโอเริ่มต้นขึ้นก็ได้ เช่น ถ้าเราถ่ายคลิปวิดีโอมีความยาว 15 วินาที จุดเริ่มต้นของ Cinemagraph อาจจะเป็นวินาทีที่ 5 ก็ได้ การเลือกซ้ายขวาให้ใช้ปุ่มที่ Dial Control และปุ่มตรงกลางใช้ยืนยัน และปุ่ม Menu ใช้ยกเลิก
หน้าจอควบคุม Cinemagraph
จุดสิ้นสุด คือ จุดที่คลิปวิดีโอแบบ Cinemagraph จบลงและกลับไปวนที่เฟรมแรกของจุดเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ดังนั้น Cinemagraph ที่ดูแนบเนียนความลำบากอยู่ที่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเฟรมสุดท้ายจะอยู่ในสถานะที่เกือบแนบสนิทกับเฟรมแรก จึงต้องใช้ตัวเลือก ซ้าย-ขวา ในปุ่ม Dial Control เลือกให้ดีๆ
ระบุภาพใดภาพหนึ่งในคลิปวิดีโอที่ใช้เป็นภาพที่หยุดนิ่ง แนะนำเพิ่มเติมว่าควรเป็นภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหวซ็อนทับกับส่วนที่จะให้ขยับเนื่องจากการตัดต่อใน Sigma FP เป็นการตัดต่อจากคลิปวิดีโอไฟล์เดียวไม่มีเรื่องของระบบเลเยอร์ซ้อนทับ
สำหรับส่วนขยับวนในคลิป สามารถใช้นิ้ววาดลงไปในส่วนของจอหลังกล้องได้เลย ใช้นิ้วสองนิ้วแตะแล้วถ่างเพื่อซูมเข้า แตะแล้วหุบนิ้วเพื่อซูมออก นอกจากนี้ยังตั้งค่าแปรงปัดให้มีขนาดใหญ่หรือเล็กลงได้ และยังกำหนดส่วนของความเข้มแปรงปัดเพื่อเติมได้ในส่วนตัวเลือก
ใช้นิ้วแตะลากได้จากจอโดยตรง
ก่อนบันทึกไฟล์คลิปวิดีโอ Cinemagraph ให้ลองตรวจสอบคลิปที่ทำการตัดต่อแล้วด้วยปุ่ม AEL ว่าสนิทดีหรือยัง จากนั้นก็เลือกตัวเลือกเซฟลงได้เลย
ไฟล์ Cinemagraph ที่ได้จะเป็นนามสกุล .MOV ซึ่งมีขนาดใหญ่แต่ก็ไม่มีปัญหาเพราะการถ่ายโอนข้อมูลรวดเร็วมากด้วยพอร์ต USB-C ใช้ไฟล์ดังกล่าวอัปโหลดลงสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook คลิปวิดีโอจะวนลูปให้เรียบร้อย
ใช้สายส่งข้อมูล USB-C ที่ส่งได้เร็วสุดๆ
คลิปวิดีโอแบบ Cinemagraph บางส่วนจากการใช้งานจริง อัปเดตคลิป Cinemagraph ใหม่ๆจะมีให้ชมอยู่เรื่อยๆทางเพจของ DozzDIY ทาง Facebook
การสร้างคลิปวิดีโอในกล้องถ่ายภาพดิจิตอล Sigma FP ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างที่ไม่สามารถทำได้ด้วยโปรแกรมตัดต่อจริงๆ เช่น การซ่อมแซมส่วนที่ประกบไม่สนิท หรือ การขยับแม้แต่เพียงเล็กน้อยในฉากหรือหน้าจอหลังกล้องที่เล็กไปหน่อย แต่ถ้าเทียบกับการต้องทำทุกอย่างด้วยคอมพิวเตอร์แล้ว การทำในกล้องไปเลยก็ได้เปรียบด้านความสะดวกและเวลา เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ Sigma ทำออกมาและมีความน่าสนใจที่จะลองใช้คุณสมบัติในการสร้างสรรค์ภาพขยับที่มีความน่าสนใจอย่าง Cinemagraph นี้ครับ ก็หวังว่าภาพแนวนี้จะได้รับความน่าสนใจมากขึ้นนะ