มุมมองของภาพ (Viewpoint) เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญยิ่งในการตัดสินว่าภาพนั้นจะน่าสนใจหรือไม่ ในทุกวันนี้เมื่อเราจะเล็งกล้องไปทางใดก็ตาม ความเป็นไปได้แทบจะ 100% ที่ภาพเหล่านั้นเคยถูกถ่ายมาหมดแล้ว ถ้าเป็นเช่นนั้นอะไรคือสิ่งที่ทำให้ภาพของเราแตกต่างจากคนอื่น บทความนี้ได้แยกมุมมองออกเป็นลักษณะง่ายรวมไปถึงข้อดีและข้อเสียให้ได้ฝึกฝนกันครับ
ภาพถ่ายจากช่างภาพทั้งหมดหากแบ่งออกง่ายๆเป็นมุมส่วนใหญ่ที่พอสังเกตเห็นได้ จะแบ่งได้เป็นสามมุม ได้แก่ มุมกด (มุมมองนก – Bird’s-Eye View), มุมมองระดับสายตา (Eye-Level View) และ มุมเงย (มุมมองของมด – Ant’s-Eye View)
มุมมองโดยส่วนใหญ่ที่พบในภาพถ่าย
มุมมองทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีทั้งข้อดีข้อเสียที่ต่างกันไป สิ่งที่ทำให้แตกต่างนอกจากมุมมองในการถ่ายผู้เรียนยังต้องคำนึงถึงอาการบิดเบือน (Distortion) ที่เกิดขึ้นจากทางยาวโฟกัสของเลนส์อีกด้วย อย่างไรก็ตามคำอธิบายด้านล่างนี้จะได้กล่าวถึงลักษณะคร่าวๆโดยสังเขป
มุมกด (Bird’s-Eye View)
เป็นมุมมองในลักษณะของบนลงล่าง (คล้ายกับนกที่กำลังบินอยู่บนท้องฟ้าแล้วมองลงมายังเบื้องล่าง) การถ่ายภาพโดยอาศัยมุมมองลักษณะนี้เหมาะกับภาพที่มีทัศนวิสัยแบบกว้างๆเพราะทุกสิ่งจะดูเล็ก เช่นการถ่ายภาพภูมิทัศน์เพื่อทำให้ต้นไม้หรือสิ่งต่างๆดูย่อส่วนจนหมด วัตถุที่ถูกบันทึกในภาพเป็นเพียงองค์ประกอบย่อยจนไม่มีน้ำหนักมากพอที่จะแสดงความโดดเด่นใดๆได้
เพราะด้วยความที่มุมมองในลักษณะดังกล่าวทำให้ทุกอย่างเล็กลง (กรณีระยะทางที่ไกลมากๆ) การนำเสนอจึงต้องเน้นรายละเอียดที่มากขึ้น มุมมองลักษณะนี้หากเป็นภาพบุคคลตัวแบบจะผิดเพี้ยนกลายเป็นว่าดูเตี้ยกว่าความเป็นจริง ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่ความความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกใช้มุมของผู้บันทึกด้วย
ทุกสิ่งทุกอย่างดูเล็กไปหมดเมื่อใช้มุมกด
มุมมองระดับสายตาให้สัดส่วนที่ถูกต้องโดยส่วนใหญ่กับภาพถ่าย
มุมมองระดับสายตา (Eye-Level View)
มุมมองที่ทำให้องค์ประกอบในภาพดูคล้ายคลึงความเป็นจริงมากที่สุด (เว้นเสียแต่ว่าทางยาวโฟกัสของเลนส์นั้นจะสร้างความบิดเบือนเสียจนผิดสัดส่วน) เป็นมุมที่ตั้งฉากกับวัตถุที่จะทำการบันทึกพอดีดังนั้นในการบันทึกภาพเวลาถึงกล้องผู้เรียนจึงต้องการทำเล็งมุมของกล้องเข้าไปในวัตถุแบบตรงๆ
การใช้มุมมองระดับสายตานั้นถ่ายภาพบุคคลได้สมส่วนมากที่สุด โดยมีเทคนิคเพิ่มเติมคือการเล็งแบบตั้งฉากที่ระดับของหน้าอกตัวแบบ
สำหรับการถ่ายภาพแนวสถาปัตยกรรมที่ต้องอาศัยความแม่นตรงทางทัศนมิตินั้นมุมมองระดับสายตาช่วยให้เกิดความถูกต้องได้เป็นอย่างดี แต่อาจจะต้องมีการตกแต่งแก้ไขเพิ่มเติมผ่านทางโปรแกรมตกแต่งแก้ไขภาพถ่าย
มุมเงย (Ant’s-Eye View)
การถ่ายภาพในลักษณะมุมที่เสยขึ้นด้านบนช่วยเพิ่มความยิ่งใหญ่ให้กับวัตถุที่สนใจได้เป็นอย่างดี วิธีการบันทึกทำได้โดยการวางกล้องให้ต่ำกว่าระนาบของวัตถุแล้วเงยขึ้น มุมมองดังกล่าวช่วยเพิ่มอำนาจ ความน่าเกรงขามและความน่าสนใจ
นอกจากนี้มุมมองดังกล่าวยังช่วยให้วัตถุหลายๆสิ่งที่อยู่ในกรอบมีทิศทางพุ่งเข้าหาสิ่งเดียวกัน ผู้เรียนอาจจะใช้ประโยชน์จากข้อดีตรงนี้ให้กลายเป็นเส้นนำสายตาด้วยก็ได้
ถ้าอยากให้องค์ประกอบในภาพดูน่าเกรงขาม มุมเงยเป็นทางเลือกที่ดีแต่ต้องใช้ให้ถูกด้วยนะครับ
Basic Photography
แนะนำหลักสูตร
ราคา 1,490 บาท
(ติดต่อเพจเท่านั้น)
เปลี่ยนคำว่ามือใหม่ให้กลายเป็น ‘ช่างภาพ’ ในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง
The Art of Composition
แนะนำหลักสูตร
(ราคา 3,790 บาท/ตลอดชีพ)
(ติดต่อเพจเท่านั้น)
แก่นแท้ของการจัดองค์ประกอบจากหลักจิตวิทยามนุษย์