ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทลื้อบ้านวังไผ่

เมื่อวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา ทางผู้สอนจาก DozzDIY ได้มีโอกาสเข้าร่วมโปรแกรมทดลองเที่ยว ณ​ โฮมสเตย์บ้านวังไผ่ ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อช่วยการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในพื้นที่โครงการหลวง ข้อมูลและรายละเอียดโดยสังเขปได้ถูกบันทึกไว้ในบทความนี้

รายละเอียดของสถานที่ท่องเที่ยว

คำว่าวังไผ่เป็นภาษาไทลื้อ โดยที่คำว่าวังแปลว่า น้ำ และไผ่คือต้นไผ่จำนวนมากที่ล้อมรอบหมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้านนี้ได้ถูกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2527 โดยนายแสงเปา เจริญพร เป็นผู้นำชุมชนคนแรก

ป้ายขนาดใหญ่ของหมู่บ้าน

บ้านเก่าที่ผุพังท่ามกลางหมอกในยามเช้าของบ้านวังไผ่

ชุมชนไทลื้อบ้านวังไผ่ มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 .ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่สลับกับภูเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย อาณาเขตติดกับแม่น้ำกกซึ่งติดกับจังหวัดเชียงราย และยังใกล้ประเทศพม่าอีกด้วย

อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสูดทั้งปีอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งแม้ในฤดูร้อนก็อาจพบว่ามีหมอกในช่วงเช้า

รีสอร์ทที่ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับหมู่บ้านโดยมีแม่น้ำกกกั้นกลาง

บ้านไทลื้อในรูปแบบเก่าก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง
แม้ว่าจะปรับเปลี่ยนไปเกือบหมดแล้ว

ชาวบ้านในหมู่บ้านวังไผ่ที่มีความเป็นกันเองและพร้อมให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา

เหตุการณ์สำคัญ

ล่องแพเข้าหมู่บ้านวังไผ่จากสะพานท่าตอน

การเดินทางไปยังหมู่บ้านด้วยวิธีการล่องแพนั้นใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง (ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร) ขึ้นอยู่กับฤดูกาลของกระแสน้ำ ซึ่งวันที่เดินทางน้ำได้ลดลงค่อนข้างมากและไหลไม่แรง อากาศร้อนชื้น น้ำค่อนข้างขุ่นแต่เย็น และมีกระแสลมที่ค่อนข้างเย็นซึ่งพัดอยู่เป็นช่วงๆ

การล่องแพถึงแม้ว่าจะเป็นระยะทางไม่กี่กิโลเมตรแต่ก็ใช้เวลานานมาก จึงมีจุดพักให้เป็นระยะ

จุดขึ้นแพจะเริ่มต้นที่ท่าเรือบ้านท่าตอน

อาหารกลางวันที่เสิร์ฟในแพระหว่างเดินทาง

สะพานท่าตอน

นักท่องเที่ยวและสื่อเตรียมตัวขึ้นแพ

เริ่มล่องแพออกจากท่าเรือบ้านท่าตอน 1 แพจุได้ราวๆ 6-8 คน

เยาวชนจากหมู่บ้านวังไผ่

ไหว้ศาลเจ้าบ้าน และ พิธีผูกมือตือขวัญ 

ผู้ที่เดินทางมายังหมู่บ้านจำเป็นต้องเข้าร่วมพิธีผูกมือตือขวัญโดยปู่จารย์ผู้เฒ่าผู้แก่สี่เสาเหล่าบ้าน ผู้นำชุมชน นาย แสง วงศ์ใหญ่ รับเป็นลูกบ้าน และไหว้ศาลเจ้าบ้าน (เจ้าพ่อหาญกล้า) เพื่อรับเป็นลูกหลานของที่นี่ตลอดระยะเวลาที่พักอาศัย โดยในพิธีจะมีการผูกสายสิญจน์ ซึ่งใช้น้ำอ้อย, ข้าวเหนียว, ไข่ไก่ และ เกลือ

พิธีผูกมือตือขวัญโดยปู่จารย์ผู้เฒ่าผู้แก่สี่เสาเหล่าบ้านและผู้นำชุมชน

ของที่ใช้ในการทำพิธีผูกมือตือขวัญ โดยข้าวเหนียว จะพ้องกับคำว่า ‘เข้า’ ซึ่งหมายถึงการเข้ามาอยู่เป็นลูกหลานของหมู่บ้าน

การแสดงของชุมชน

การแสดงของชุมชนในช่วงกลางคืนจะเป็นคนในชุมชนเองทั้งหมด อาทิเช่น การรำดาบ, ฟ้อนเจิง, ฟ้อนสักการาวาเป็นการฟ้อนต้อนรับแขกแก้ว, ฟ้อนถิ่นฐานเป็นการฟ้อนเล่าเรื่องถิ่นฐานและความเป็นอยู่ของชุมชน, ฟ้อนลำแม่ปิงการฟ้อนเล่าเรื่องความรักของหนุ่มสาว, ฟ้อนหวานใจคือรำวงสายสัมพันธ์ฉันพี่น้อง หรือ การสาธิตมวยไทลื้อซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกังฟูของประเทศจีน

การรำดาบไทลื้อโดยเยาวชนในหมู่บ้าน

ช่วงระหว่างการแสดง

ขันโตกในช่วงค่ำ

การเดินป่าตามหาบุก และเรียนรู้วิถีชีวิตในป่า

ใกล้กับชุมชนนั้นเป็นป่าชุมชนซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งอาหาร และน้ำที่ชาวบ้านใช้ก็เป็นน้ำจากภูเขา การอาศัยอยู่กับธรรมชาติของชุมชนชาวไทลื้อบ้านวังไผ่จึงเป็นการพึ่งพาอาศัยป่า สำหรับบุกนั้นเมื่อชาวบ้านได้ขุดนำออกไปแล้วก็ยังทำให้บุกเจริญเติบโตต่อไปได้อีกด้วยในป่า ผลผลิตต่างๆจึงมีให้เก็บเกี่ยวได้ตามฤดูกาลตลอดทั้งปี ดังนั้นการอนุรักษ์จึงปรากฏอยู่ในความเชื่อด้วย เช่น การนำของจากป่าทำได้เพียงสิ่งเดียวต่อ 1 คน เช่น การขนไม้ไผ่ บุคคลนั้นก็จะขนไม้ไผ่ได้เพียงอย่างเดียว เพื่อเป็นการแบ่งปันและแสดงถึงความไม่โลภในทรัพยากรที่มีอยู่

บุกคางคกที่พบระหว่างทาง

เสบียงที่ได้จากธรรมชาติ

หยวกกล้วยอ่อนที่รับประทานได้

ทำอาหารจากกระบอกไม้ไผ่

สาธิตการทำเครื่องเล่นจากไม้ไผ่

ฐานการเรียนรู้การแปรรูปบุก

บุกเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านวังไผ่ ในฐานดังกล่าวนักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้กับวิธีการแปรรูปบุกตั้งแต่การปอกเปลือกไปจนสู่การแปรรูปเป็นสินค้าก่อนจำหน่าย ซึ่งจะได้มีโอกาสชิมและเรียนรู้การแปรรูปร่วมกับคนในชุมชนอย่างใกล้ชิด

นาย ดี วงศ์ใหญ่ วิทยากรผู้ให้ความรู้เรื่องของบุกไม่ว่าจะการแปรรูปบุกเส้น, บุกก้อน, บุกผง และอื่นๆ

การต้มบุกแผ่น

บุกที่ใช้ในการแปรรูป

สาธิตการทำเส้นบุก

อาหารที่พบในชุมชน

อาหารที่ได้รับประทานในมื้ออาหารเป็นแบบไทลื้อผสมเมือง ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริกพริกน้ำปู๋, ผักกาดจอ ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในอาหารฝั่งภาคเหนือ และมีสิ่งที่ไม่สามารถหาทานได้โดยง่ายเช่น เมนูปลาปิ้งอบสิบสองปันนา ต้มหมี่ไก่ ลาบหมู ยำบุก ไก่สิบสองปันนา, ขนมปาด, ข้าวต่องก่อง และ ข้าวซอยน้อย เป็นต้น

ผักที่กินกับน้ำพริก

อาหารที่รับประทานที่โฮมสเตย์

ขนมปาด

อาหารที่ทำด้วยข้าวซอยเหลือง

ไส้ที่สอดในข้าวซอยน้อย

ข้าวต่องก่องหรือโดนัทไทลื้อ ทานคู่โดยการชุบน้ำอ้อยเคี่ยว

วัดท่าตอนอารามหลวง

ห่างจากชุมชนไปไม่ไกลมีวัดท่าตอนอารามหลวม ซึ่งเป็นวัดชั้นตรีชนิดสามัญ (ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวงเมื่อ 11 ตุลาคม 2534) ภายในพระอารามมีทางเดินเป็นวงกลมขึ้นไปยังชั้นบนสุด ซึ่งมีความสวยงามวิจิตรเหมาะแก่การมากราบไหว้สักการะสักครั้ง เมื่อได้มาเยือนหมู่บ้านวังไผ่

วัดท่าตอน (พระอารามหลวง)

ภายในพระอารามของวัดท่าตอน

ชั้นบนสุดของพระอารามหลวง

ทางเข้าไปยังอาคารด้านใน

แกลเลอรีเพิ่มเติม : บ้านวังไผ่

เราใช้อุปกรณ์ที่ให้รายละเอียดของภาพดีที่สุด และทักษะในการบันทึกเฉพาะตัวภายใต้สภาวะแสงน้อย การบันทึกภาพด้วยผลิตภัณฑ์กล้องถ่ายภาพดิจิตอลเซ็นเซอร์พิเศษ Foveon ถูกใช้ถึง 3 ตัวในทริปนี้ด้วยกัน อันได้แก่ Sigma SD Quattro H, Sigma DP1 Merrill และ Sigma DP3 Merrill รวมไปถึงเลนส์ระดับแถวหน้าสุดในอนุกรม Art อย่าง Sigma 12-24mm f/4 DG HSM Art, Sigma 50mm f/1.4 DG HSM Art และ Sigma 135mm f/1.8 DG HSM Art ทำให้ทุกความทรงจำของสถานที่คมชัดและสวยงามสูงสุด อย่างที่คุณจะไม่สามารถพบได้จากที่ไหนๆ

ทางผู้สอนและทีมงาน DozzDIY ขอขอบคุณชุมชนไทลื้อบ้านวังไผ่และผู้สนับสนุนในการเดินทางทุกท่าน เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนี้จะเป็นจุดประกายให้นักท่องเที่ยวได้ตระหนักถึงความสำคัญของชุมชนและการพึ่งพาตนเอง อีกทั้งการอนุรักษ์วิถีแห่งวัฒนธรรมของให้คงอยู่ด้วยการท่องเที่ยวภายในประเทศครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า