ความเข้าใจเกี่ยวกับการเอาชนะภาวะสั่นไหวที่อาจเกิดขึ้นกับภาพถ่ายถูกจำแนกออกเป็น ‘ปัจจัยภายนอก‘ และ ‘ปัจจัยภายใน‘ ค่าประมาณการด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่เพิ่มขึ้นสองเท่าแบบส่วนกลับของทางยาวโฟกัสจึงแก้ปัญหาได้ในบางกรณี อย่างไรก็ตามมีค่าที่สรุปเอาไว้แล้วซึ่งช่างภาพนำไปพิจารณาใช้งานได้กับสถานการณ์ต่างๆดังต่อไปนี้
สมมติว่าเรากำลังใช้งานเลนส์ทางยาวโฟกัส 50mm อย่าง Sigma 50mm f/1.4 DG HSM Art บนกล้องเซ็นเซอร์ขนาดฟูลเฟรม (Crop Factor = 1) ที่ค่าความไวแสงต่ำสุด นี่คือแนวทางการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่อสถานการณ์ต่างๆ
นกที่กำลังบนอยู่บนท้องฟ้า : ประมาณเอาไว้ที่ 10 เท่า นั่นคือ 1/500 ไปจนถึง 1/1000 วินาที
การถ่ายภาพกีฬาประเภทเคลื่อนไหวทั่วไป เช่น ฟุตบอล : 1/500 วินาที
การบันทึกภาพเด็กหรือรถที่กำลังวิ่งโดยอาจจะมีการเบลอเพียงเล็กน้อย : 1/250 วินาที
ผู้คนที่กำลังเต้นรำหรือกระโดด : 1/125 วินาที
ภาพถ่ายบุคคลที่โพสต์ท่านิ่งสนิท : 1/75 วินาที
การถือกล้องที่นิ่งสนิทกับภาพถ่ายทั่วไป : 1/50 วินาที (แนะนำว่าควรฝึกการถือกล้องทั้งแนวนอนและแนวตั้งให้ดีเสียก่อน)
ความเร็วชัตเตอร์ที่ควรเริ่มใช้ขาตั้งกล้อง : 1/30 วินาทีควรเริ่มใช้ได้แล้ว ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและความพร้อมของช่างภาพด้วย
ภาพถ่ายน้ำตกที่พริ้วไหว : 1-3 วินาที
แสดงความเคลื่อนไหวของน้ำหรือผู้คนเพียงเล็กน้อย : 1/10 วินาที ไปจนถึง 1/20 วินาที
ภาพดวงดาวในท้องฟ้ายามค่ำคืน : อยู่ในช่วง 20-30 วินาที (ขาตั้ง) และระมัดระวังการเคลื่อนไหวของจุดดาวที่เกิน 5 พิกเซลในภาพซึ่งจะทำให้เกิดการเบลอ
การลากแสงของดาวให้เป็นทางยาว : 10 นาทีขึ้นไป