การเลือกใช้สีในภาพถ่าย

สีเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการจัดองค์ประกอบ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสีจึงสามารถนำมาใช้กับการถ่ายภาพได้โดยตรง การจัดระบบสีเพื่อสร้างสรรค์สิ่งต่างๆจึงควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการเลือกใช้เพื่อความสอดคล้องกลมกลืนหรือเป็นไปตามทิศทางที่ผู้สร้างวางเอาไว้ คุณค่าของงานจะมีมากขึ้นหรือลดลงก็อยู่ที่การเลือกใช้สี ซึ่งมีหลักการเลือกใช้สีอยู่หลายแบบด้วยกัน

สีแบบวัตถุธาตุและวงล้อสี (RYB Color Model & Color Wheel)

จาก ทฤษฎีสีในการถ่ายภาพ ได้กล่าวไว้ว่าระบบสี RYB เป็นระบบสีที่ใช้ในงานศิลปะ (สารสีแบบทึบแสงซึงรวมตัวกันจะได้สีดำ) หรือเรียกได้อีกอย่างว่าระบบสีของช่างเขียน ประกอบด้วยสามแม่สีหลักได้แก่ สีแดง, สีเหลือง และสีน้ำเงิน วิธีการหาสีข้างเคียงนั้นทำได้ด้วยการเอาแม่สีมาผสมกับแล้วแทนสีที่ผสมลงไปดังภาพ ทำแบบนี้จนได้วงล้อสีขั้นที่ 3 เราจะใช้วงล้อของ RYB ในการเลือกสีในภาพ

rybColorWheel

หมายเหตุ : ต้องขอเน้นย้ำว่าในโลกของการถ่ายภาพนั้นหากไม่ใช่การเซ็ทฉากหรือการเลือกวัตถุสิ่งของที่มีสีต่างๆอย่างจงใจ ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะทำให้ภาพต้นฉบับได้สีที่ตรงตามความต้องการ จึงต้องอาศัยทักษะความชำนาญในการใช้เครื่องมือเพื่อตกแต่งหรือปรับแก้สีเพื่อให้ได้ตามหลัก และหากจะทำได้แม่นยำที่จอคอมพิวเตอร์แล้ว ระบบการเลือกใช้สีสำหรับงานพิมพ์ก็ยังต้องพิถีพิถันอีกด้วย

มิติของสี (The Dimension of Colors)

งานศิลปะหรือสื่อที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะในยุคก่อนหรือยุคปัจจุบัน หากมีเรื่องของสีที่เกี่ยวข้องแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะหลีกเลี่ยงเรื่องมิติของสี มันสามารถนำไปประยุกต์กับงานถ่ายภาพได้โดยตรงโดยการเรียนรู้ความเป็นไปได้ของสเกลในการควบคุมตัวแปรต่างๆ ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาให้ใช้งานอย่างไรด้วย

colordimension

HSL และ HSV คืออะไร?

HSL หรือ HSV คือการพูดถึงมิติในด้านต่างๆของสี เมื่อถูกจำกัดด้วยรูปแบบสี เช่น RGB ความสามารถการผลิตสีที่รูปแบบสี RGB ผลิตได้มากที่สุดทำให้ได้กราฟการผลิตสีทั้งหมดต่างไปจากกราฟของ CMYK (เพราะทั้งสองรูปแบบสีนี้ไม่เหมือนกัน) ปัญหาดังกล่าวยกตัวอย่างเช่นสีที่เห็นบนหน้าจอ (RGB) เมื่อสั่งพิมพ์ลงบนกระดาษสีอาจจะซีดกว่าความเป็นจริง เพราะรูปแบบสีต่างกัน

RGB_and_CMYK_comparison

ความไม่เท่ากันของเฉดสีในรูปแบบสี RGB และ CMYK ที่มา : Wikipedia

สีสัน (Hue)

Hue_Color_Range

ที่มา : Pensilscoop.com

สีสันคือเฉดสีที่ไล่ไปจนหมดของสีที่รูปแบบจะผลิตได้ (พิจารณาดูรูปมิติของสีจะเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งในแนวรัศมี)

ความอิ่มตัว (Saturation)

saturation

หมายถึงความเข้มข้นสูงสุดที่สีนั้นให้ได้ สีจะเข้มมากเท่าไรนั้นจึงขึ้นอยู่กับว่ากำลังพูดถึงรูปแบบสีอะไร มีขอบเขตในการผลิตแค่ไหนด้วย จากภาพตัวอย่างเป็นการเพิ่มความเข้มสีโดยการเริ่มมาจากสีเทากลางจนเข้มที่สุด

ความส่องสว่าง (Luminance)

luminance

หมายถึงการค่อยๆปะปนของสีขาวหรือสีดำลงไปในสีนั้นๆ ขึ้นอยู่กับว่าจะเริ่มจากสีตรงไหนในรูปแบบ ท้ายที่สุดจะกลายเป็นสีขาวหรือสีดำ

แล้วควรจะมีสีเท่าไหร่ในภาพถ่าย?

การกำหนดสีสันนั้นเรามักพูดกันตอนแก้ไขด้วยโปรแกรมด้วยการกำหนดโทนสีขึ้นใหม่

โดยทั่วไปหากเป็นการออกแบบโลโก้มักจะใช้สีไม่เกิน 3 สีเพื่อความเรียบง่ายมากที่สุด (โลโก้มักออกแบบมาให้ผู้พบเห็นจดจำได้ง่าย) โดยทั่วไปอาจจะอยู่ที่ 4 หรือมากถึง 10 นั่นก็แล้วแต่ว่าผู้ใช้มีวัตถุประสงค์อย่างไร ยิ่งถ้าเป็นภาพถ่ายต้องอาศัยความสามารถในการจัดการสีที่สูงขึ้นเพื่อควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปตามต้องการผ่านโปรแกรมตกแต่ง

monochromatic

Monochromatic

ใช้สีเพียงสีเดียว แต่มีการเพิ่มหรือลดน้ำหนัก เช่นถ้าเลือกสีแดงก็จะมีสีแดงที่เข้มขึ้นหรืออ่อนลงอยู่ในรูปแบบด้วย

analogousAnalogous

เป็นการเลือกสีข้างเคียงเพิ่มขึ้นมาอีกสองเฉดสี ลักษณะของสีที่ได้จะเป็นแบบคล้อยตามกัน

complimentary

Complementary

เลือกใช้สีที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของสีที่เลือกในวงล้อสี คู่สีลักษณะนี้ให้ความเปรียบต่างหรือความขัดแย้งสูง

splitcom

Split-Complementary

กำหนดสีที่ต้องการมา 1  แล้วเลือกสีที่อยู่ข้างเคียงจากฝั่งตรงข้ามแทน

doublecompliment

Double Complement

การเลือกสีแบบคู่สีตรงข้าม สีที่ใช้จะมีช่วงกว้างในระดับการไล่สีเพิ่มขึ้นจาก Complementary แต่ยังเน้นเรื่องของคู่ตรงข้ามเหมือนเดิม

triad

Triad

เป็นการเลือกสีที่มีช่วงห่างของสีในวงล้อสีเท่าๆกัน 3 สี

tetrad

Tetrad

ลักษณะจะคล้ายกับ Double-Complement แต่มีการเว้นช่วงห่างของสี 1 ช่วงสี และจับเป็นคู่

diad

Diad

สีใกล้เคียงที่ห่างกัน 1 ช่วงสี

ตัวอย่างการเลือกใช้สีกับภาพถ่าย

ตัวอย่างที่ 1 : Monochromatic

การเลือกใช้สีแบบ Monochromatic ความน่าสนใจในภาพจะมีน้อยจึงต้องเล่นกับความขัดแย้งร่วมกับสีธรรมชาติ (การไล่น้ำหนัก) การเล่นกับระยะใกล้-ไกล เช่นวัตถุที่อยู่ใกล้กว่าจะมีสีที่เข้มกว่า และจางลงเมื่อไกลออกไปเรื่อยๆ ภาพที่คนส่วนใหญ่จะเข้าถึงและรู้สึกถึงความแตกต่างได้ง่ายได้แก่ภาพที่มีการตัดกันของสีรุนแรง เช่นภาพที่ถ่ายจากสภาพแสงแข็งๆในตอนเที่ยง เป็นต้น

ภาพแบบโทนสีเดียว ขอขอบคุณภาพจาก Diamond Image

ขอขอบคุณภาพจากเพจ Diamond Image

ตัวอย่างที่ 2 : Complementary

คู่สีแบบตรงกันข้ามเมื่อใช้คู่กับสีธรรมชาติสีขาวจะดูดกลืนสีวรรณะร้อน สีดำจะดูดกลืนสีวรรณะเย็นซึ่งทำให้สีที่อยู่ฝั่งตรงข้ามที่มีความขัดแย้งสูงนั้นโดดเด่นขึ้นมา (ในงานออกแบบสีธรรมชาติมักเป็นสีพื้นหลังเช่นกระดาษขาวหรือดำ แต่ในงานภาพจะเป็นความสว่างของบรรยากาศโดยรอบแทน)

fairy02

ซื้อชุดสี DozzDIY : Fairy [คลิก]

ตัวอย่างที่ 3 : Split-Complementary

คู่สีตรงข้ามแบบข้างเคียง มักจะช่วยเกื้อหนุนให้สีหลักซึ่งเป็นสีที่เลือกมีความโดดเด่นเช่นถ้าสีหลักคือสีแดง สีฝั่งตรงข้ามข้างสีเขียวคือสีน้ำเงินอมเขียวและเขียวอมเหลือง การแบ่งสัดส่วนของสีที่ใช้ในภาพก็สำคัญมากด้วยเช่นกัน

_S291092_fb

ซื้อชุดสี DozzDIY : Magazine Inspire [คลิก]

ตัวอย่างที่ 4 : Analogous

Analogous เพิ่มอาณาบริเวณของสีข้างเคียงสีที่เลือกเพิ่มมากขึ้น (Hue) ทำให้ภาพมีความหลากหลายของเฉดสีมากขึ้น แต่ความน่าสนใจในสีต่างๆต่อผู้ชมจะน้อยกว่าแบบ Monochromatic ผู้ใช้จึงต้องเลือกวิธีการจัดการให้ดีด้วยเช่นเดียวกัน

testmatte02

ซื้อชุดสี DozzDIY : Matte Emerald [คลิก]

Color Theory in Digital Photography
ราคา 1,790 บาท/ตลอดชีพ
(ติดต่อเพจเท่านั้น)
หลักสูตรทฤษฎีสีในการถ่ายภาพดิจิตอล
ในรูปแบบกลุ่มทางเฟซบุ๊ก

ดังนี้แล้วจึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการเลือกใช้สีนั้นส่งผลสำคัญต่อภาพอย่างมาก หากผู้เรียนเลือกใช้สีกับภาพได้อย่างแม่นยำย่อมทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างราบรื่นกว่าผุ้ที่ไม่ได้ศึกษาเลยอย่างแน่นอน หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ

แหล่งอ่างอิง

  • 1. Howard Joe. 2013, The Designer’s Guide to Color Theory. http://pencilscoop.com/ (accessed October 11, 2015).
  • 2. Wikipedia. August 2008, Color Theory. https://en.wikipedia.org/wiki/Color_theory (accessed October 10, 2015).
  • 3. Tiger Color. Color Harmonies : Basic techniques for combining colors. http://www.tigercolor.com/color-lab/color-theory/color-harmonies.htm (accessed October 9, 2015).
  • 4. Kate Smith. 2014, Color Relationships: Creating Color Harmony. http://www.sensationalcolor.com/understanding-color/theory/color-relationships-creating-color-harmony-1849 (accessed October 11, 2015).
บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

รูปแบบสีที่ช่างภาพควรรู้

เรียนรู้ 3 รูปแบบสีสำหรับช่างภาพเพื่อให้เข้าใจถึงความแตกต่างในการนำไปใช้ให้เหมาะสมบนสื่อต่างๆ

สีสัน, ความอิ่มตัว และ ความสว่างในโปรแกรมตกแต่งภาพถ่าย

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของ สีสัน, ความอิ่มตัว และ ความสว่าง ซึ่งเป็นคุณลักษณะของสีเพื่อต่อยอดความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายสีให้ดีมากยิ่งขึ้น

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า