การถ่ายภาพในที่แสงน้อย แบบ ‘ช่างภาพมือเปล่า’

ไม่ว่าจะเป็นระบบถ่ายภาพดิจิตอลหรือย้อนไปอะนาล็อก แสงเป็นปัจจัยหลักในการถ่ายภาพมาแต่ไหนแต่ไร ถ้าแสงมากเซ็นเซอร์รูปภาพก็สามารถเก็บได้รวดเร็ว แต่ถ้าแสงน้อยก็ต้องใช้เวลามากขึ้น โดยที่ระหว่างนั้นหากมีการเคลื่อนที่ของวัตถุในฉากหรือมีการขยับของกล้องเพียงเล็กน้อยขึ้นมาภาพจะไม่คมชัดทันที

ด้วยความเข้าใจในการถ่ายภาพขั้นพื้นฐานนั้น เราทราบดีว่าตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับค่าการรับแสงต่างเป็นปัจจัยให้แสงสามารถเข้าไปยังเซ็นเซอร์รูปภาพในตัวกล้องได้มากหรือน้อยแทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มหรือลดขนาดรูรับแสง, การชะลอหรือเร่งเวลารับแสงด้วยความเร็วชัตเตอร์ หรือเพิ่มลดปฏิกิริยาสัญญาณแต่ละพิกเซลของเซ็นเซอร์รูปภาพด้วยการกำหนดค่าความไวแสง และแนวทางในการแก้ปัญหาโดยทั่วไปก็จะเป็นเรื่องของการอลุ่มอล่วยด้านตัวแปร โดยเน้นไปยังการแก้ไขหรือหาอุปกรณ์ที่มีศักยภาพมากขึ้นเพื่อให้ได้ภาพ

แต่สำหรับหลักสูตรของ DozzDIY แล้ว ผู้เรียนทุกคนจะได้รับแนวทางที่แตกต่างออกไป เพราะแกนหลักของการได้ภาพจะถูกพ่วงด้วยคำว่า “คุณภาพสูงสุด” โดยที่ทำยังไงก็ได้ให้ยุ่งกับตัวแปรที่กำหนดให้น้อยเท่าที่สามารถ และแนวทางด้านล่างนี้เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ไม่ค่อยมีบทความไหนจะพูดถึงกัน

แนวทางปฏิบัติเมื่อต้องถ่ายภาพในที่แสงน้อยแบบ DozzDIY

1. รู้ถึงความสามารถของอุปกรณ์ที่ใช้ในขณะนั้นเป็นอย่างดี

ปัจจัยที่ทำให้ถ่ายภาพให้คมชัดหรือเบลอนอกจากแสงแล้วมีอะไรอย่างอื่นอีกเยอะแยะเต็มไปหมด ถ้าเรามองลงไปให้ลึกกว่าคำว่า ‘ความเร็วชัตเตอร์’ หนึ่งในนั้นคือค่าตัวคูณของเซ็นเซอร์รูปภาพและทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่ใช้ในขณะนั้น

เซ็นเซอร์ขนาดฟูลเฟรมถูกกำหนดว่ามีค่าเท่ากับ 1 และขนาดอื่นๆเป็นสัดส่วนเทียบกัน

สมมติว่าเซ็นเซอร์ที่ใช้อยู่มีขนาดแบบ APS-C ค่าตัวคูณคือ 1.5 และทางยาวโฟกัสในขณะนั้นคือ 50mm ผลลัพธ์ที่ได้คือ 1.5X50 = 65 จะหมายความว่าความเร็วที่ต้องเอาชนะเพื่อภาพที่คมชัดคือ 1/65วินาที + ศักยภาพของผู้ถือ + ค่าประมาณการความสั่นไหวของสภาพแวดล้อม ในขณะนั้น ค่าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า อุปกรณ์ที่ให้ผลลัพธ์ทางยาวโฟกัสสั้นลงจะมีโอกาสได้ภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

สมการอย่างง่ายเพื่อหาความเร็วชัตเตอร์ในการเอาชนะความสั่นไหว

2. ประมาณการความสามารถตัวเองได้อย่างถูกต้อง

บางคนอาจคิดว่าเรื่องเหล่านี้สำคัญถึงขนาดที่ต้องนำมาคิดเลยหรือ แต่อยากให้ทราบว่ากล้องของแต่ละคนและสภาพร่างกายในขณะนั้นของผู้ถือมีผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้อย่างมาก ยกตัวอย่างเช่นช่างภาพที่ต้องถือกล้องน้ำหนักขนาด 2 กิโลกรัมไว้กับตัวไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง

ความเหนื่อยล้าส่งผลอย่างมากต่อความเร็วชัตเตอร์เดิมที่เคยคมชัด

การยกถือซ้ำแล้วซ้ำเล่าจะมีโอกาสได้ภาพที่ไม่คมชัดมากยิ่งขึ้น พูดง่ายๆคือความนิ่งของมือแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ในหลักสูตร ‘ถ่ายกับมือ’ (Handheld Mastery) ของ DozzDIY เรียกว่า ‘สัมประสิทธิ์ศักยภาพบุคคล’ (Coefficient of Person Performance)

3. มองหาสิ่งที่เป็นประโยชน์จากสิ่งรอบข้าง

ถ้าเราไม่พูดกันถึงสิ่งที่ทำไม่ได้สถานการณ์นั้น เช่น ถ้าคุณถ่ายภาพไม่นิ่งก็ใช้ขาตั้งสิ ใช่.. แต่ตอนนั้นไม่มีขาตั้งคุณจะทำอย่างไร ความคิดที่ฉลาดกว่าคือหาสิ่งที่นิ่งกว่ามือของตัวคุณเองโดยอาศัยของรอบตัว อาจจะให้เพื่อนมายืนด้านหน้าแล้ววางกล้องบนไหล่สำหรับความเร็วชัตเตอร์ที่ตกมากกว่า 1/20 วินาที หรือการวางลงบนอะไรสักอย่างที่มีความสูงพอกับมุมที่ต้องการ ผลลัพธ์ที่ได้นั้นอาจทำให้คุณคาดไม่ถึง

การใช้ขาตั้งน้อยพิกซี่ก็ลดภาระได้ส่วนหนึ่ง วางบนสิ่งที่นิ่งกว่าก็ช่วยได้อีกส่วนหนึ่ง

4. โหมดระเบิดช็อต หรือ โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง

โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง (Continuous Shot หรือ Burst Shot) เป็นโหมดที่สร้างโอกาสทองในการได้ภาพที่ค่าความไวแสงต่ำกว่าปกติได้เป็นอย่างมาก โดยใช้หลักการที่ว่า ‘ในการสั่นไหวช่วงหนึ่งของความเร็วชัตเตอร์นั้น โอกาสในการได้ภาพจะแปรผันตรงกับความถี่ของการบันทึกภาพ’ พูดง่ายๆก็คือยิ่งเพิ่มความถี่ช็อตลงไปมากเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสได้ภาพโดยแทบจะไม่ต้องเปลี่ยนตัวแปรการรับแสงเลย

ประโยชน์นอกเหนือการจับจังหวะตามต้องการ คือโอกาสที่มากขึ้นในการได้ภาพคมชัด

5. ประโยชน์ของการชดเชยลบ

มีหลายคนที่ไม่เข้าใจธรรมชาติการวัดค่าเทากลางของกล้องถ่ายภาพดิจิตอล ที่มักจะวัดค่าแสงของภาพในช่วงเวลาแสงน้อยผิดอยู่แบบ 100% เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ในที่มืดคือสีดำ แต่กล้องจะพยายามทำให้พื้นที่วัดแสงบริเวณนั้นสว่างขึ้นมา ส่งผลต่อเนื่องมายังค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลงกว่าที่ควรจะเป็น และภาพก็เบลอไปในที่สุดด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ไม่ถูกต้องนั้นนั่นเอง จะมีใครเอะใจหรือไม่ว่าปัญหาแก้ได้ง่ายมาเพียงแค่ปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ให้เพิ่มขึ้นด้วยค่าชดเชยแสงลบ

ภาพนี้ชดเชยลบไปราวๆ 1.5 สต็อปกว่าจะได้ภาพที่มืดสมจริงสมจัง
เพราะหลังกล้องพยายามทำให้ฉากสว่าง เนื่องจากความผิดพลาดของระบบวัดแสง

6. คาดการณ์ไปถึงการแก้ไขภาพล่วงหน้า

ศักยภาพการแก้ไขคลื่นสัญญาณรบกวนในภาพถ่ายของผู้บันทึกภาพเป็นสิ่งจำเป็นพอๆกับการถ่ายภาพให้ได้วัตถุดิบที่ดีที่สุดกลับมา ดังนั้นควรไตร่ตรองให้ดีว่าเมื่อถ่ายภาพมาแล้วทิศทางในการทำภาพควรเป็นแบบใด สามารถขจัดปัญหาในภาพเบื้องต้นออกได้ง่ายหรือไม่ หรือว่าควรจะทำภาพไปในแนวทางใดจึงจะไม่เป็นการดึงไฟล์ที่ปกติก็อาจจะใช้ ISO สูงอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นนั่นเอง

ภาพต้นฉบับ
1/12sec | f/2 | ISO200
FujiFilm FinePix X-Pro1 + Samyang 12mm f/2 NCS CS

การปรับแต่งไม่ได้ดึงไฟล์จนรายละเอียดเสียหาย
จึงยังคงเห็นว่าไฟล์ภาพยังเนียนสวยอยู่มาก

7. ถือกล้องให้ถูกต้อง

ท่าถือกล้องเป็นสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่รับประกันได้ว่าภาพที่ได้จะคมชัดหรือเบลอเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นการยกกล้องขนาดใหญ่ยื่นไปข้างหน้าแบบสุดแขน ย่อมสร้างความเมื่อยล้าได้ไวกว่ายกแนบชิดตัวบริเวณหน้าอก การเซฟตัวเองที่ดีสำหรับการถ่ายภาพต่อเนื่องได้โดยคงสถานความนิ่งของแขนตลอดเวลาคือการวางแผนที่คุ้มค่า ลองพิจารณาท่าถือที่ถนัดที่สุดของตัวเอง และเปรียบเทียบกับท่าถือในลักษณะต่างๆว่าแบบไหนช่วยให้ภาพนิ่งได้มากกว่ากัน

การขึงสายคล้องให้ตึง ช่วยยึดการสั่นไหวในแกนนอนได้
และการจับกล้องที่เหมาะสมจะลดโอกาสพลาดเพิ่มเติมได้อีก

8. ไม่เพิ่มค่าความไวแสงโดยไม่จำเป็นเด็ดขาด

ความยืดหยุ่นในการแก้ไขไฟล์ขึ้นอยู่กับค่าความไวแสงที่ใช้บันทึก ยิ่งค่าความไวแสงสูงมากขึ้นเท่าไรไฟล์ภาพที่ได้คุณภาพยิ่งต่ำลงทั้งในแง่ของคลื่นสัญญาณรบกวนและคุณภาพสัญญาณต่อพิกเซล หากเป็นไปได้ตัวแปรดังกล่าวควรเป็นตัวแปรสุดท้ายในการพิจารณาเพื่อบันทึกภาพ อาจจะลองเพิ่มทีละสเต็ปแล้วกลับไปใช้กระบวนการเพิ่มความเร็วชัตเตอร์หรือทำกล้องให้นิ่งด้วยวิธีอื่นก่อน ซึ่งถ้าไม่ไหวแล้วจึงค่อยเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม

ถ้าวัดแสงได้ดีและควบคุมทุกอย่างได้แล้ว การเพิ่มความไวแสงแทบไม่ใช่สิ่งจำเป็น

การสอนของ DozzDIY นั้นเราไม่เคยสอนให้คุณเชื่อในแนวทางปฏิบัติของเราจนกว่าผู้เรียนจะเห็นผลลัพธ์ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามภาพด้านล่างนี้คือความสำเร็จส่วนหนึ่งจากการฝึกฝนการถ่ายภาพแบบไม่พึ่งพาอุปกรณ์ใดๆเลยมาอย่างยาวนาน จนถึงจุดที่สามารถถ่ายภาพได้ในทุกสถานการณ์ การฝึกฝนจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และควรก้าวไปพร้อมกับการหาความรู้เพื่อขยายขีดจำกัดในการได้ภาพด้วย

การแก้ปัญหาของแต่ละบุคคลในการถ่ายภาพสภาวะแสงน้อยแตกต่างกันไปตามความคิดและความรู้ที่มี ถ้าหากมีการสังเกตหรือเอะใจสักนิดจะเห็นว่ามีวิธีการมากมายที่ทำให้เราถ่ายภาพในที่มืดได้โดยแทบไม่ต้องพึ่งพาอะไรอย่างอื่น ลองนำไปใช้กันนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า