Sigma DP2 Merrill – คอมแพคระยะสังหาร

หลังจากได้ค้นคว้าข้อมูลตามบทความและกระทู้ที่กล่าวถึงข้อเสียของกล้องคอมแพค Sigma อย่างมากมาย ด้วยความอยากรู้จึงเสาะหาจนกระทั่งได้เจ้ากล้อง Sigma DP2 Merrill มาไว้ในครอบครองจนได้ จนถึงขณะที่กำลังพิมพ์อยู่ก็ผ่านไป 3 เดือนได้แล้ว และนี่คือประสบการณ์ในการใช้งานและความประทับใจทั้งเรื่องดีและไม่ดี (ยังไงกันนะ)

Foveon เซ็นเซอร์ที่ให้รายละเอียดดีมากที่สุดในขณะนี้

ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจกันสักนิดว่า เซ็นเซอร์ที่กล้องถ่ายภาพดิจิตอลโดยส่วนใหญ่ใช้กันอยู่ หรือที่เรียกว่า Bayer Sensor จะมีการเรียงตัวของชั้นฟิลเตอร์ แดง-เขียว-น้ำเงิน (RGB Color Filters) แบบสลับไขว้ไปมาในรูปแบบของตำแหน่งพิกเซลตาราง

ด้วยความที่ไม่ว่าจะตำแหน่งใดบนหน้าแปลนเซ็นเซอร์ก็ตามจะไวกับแม่สีแสงเพียงแม่สีเดียว ข้อมูลของแต่ละแม่สีที่ได้รับจึงไม่ใช่ความละเอียดแบบเต็มๆที่ควรจะได้รับ (พิกเซลสีเขียวจะวางมากเป็นสองเท่าของพิกเซลสีแดงและน้ำเงิน เพราะเป็นคลื่นแสดงที่รายละเอียดภาพได้ดีกว่า) ผลที่เกิดขึ้นจากการรับข้อมูลในลักษณะตารางประกบ ความชาญฉลาดของหน่วยประมวลจึงต้องรับหน้าที่นี้ไป ซึ่งก็ถูกพัฒนาจนออกมาได้ดีมากขึ้นในปัจจุบัน

bayerSensor

แต่ Foveon ไม่เป็นแบบนั้น การเรียงตัวของชั้นฟิลเตอร์สีจะเป็นแบบเต็มๆซ้อนกันถึงสามชั้น คล้ายกับฟิล์มถ่ายรูปที่มีชั้นเคลือบความไวแสงครบทุกชั้นอยู่ในตัวเดียว ภาพที่ได้จึงเกิดจากการรับแสงแบบเต็มๆ 100% ในทุกชั้นฟิลเตอร์สี มีคนบอกว่าเป็นกล้องที่ให้รายละเอียดยิบย่อยได้เหมือนฟิล์มอย่างไม่น่าเชื่อ และรายละเอียดที่ซับซ้อนขนาดเล็กเช่นลายของเสื่อ หรือภาพตารางต่างๆก็ไม่มีข้อบกพร่องอย่างที่เซ็นเซอร์ทั่วไปพบเจอเลยแม้แต่น้อย

foveonSensor

แค่เหตุผลด้านรายละเอียดนั่นก็เพียงพอแล้วสำหรับการเป็นเจ้าของกล้องคอมแพคตัวนี้

แต่… Sigma DP2 Merrill กลับไม่ใช่กล้องที่คนทั่วไปจะพกถ่ายทั้งวันได้เลย

ถ้าไม่พูดกันถึงความหลงไหลในกล้องแบบส่วนตัว ผมก็คิดว่ามันเป็นกล้องที่คนที่คุ้นชินกับระบบของเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่น่าจะทนอยู่ได้โดยไม่มีการบ่นอะไรออกมา ประมาณว่า ‘ถ่ายไม่ถึง 30 รูปด้วยซ้ำแบตหมดแล้วเหรอ’ หรือการโฟกัสในระดับที่เรียกว่าหมุนมือน่าจะเข้าเร็วกว่า

นอกจากนี้ความไวแสงที่ดูดีที่สุดสำหรับคอมแพคตัวนี้ คือ ISO ที่ 100-200 เท่านั้น อย่าหวังเลยว่าจะได้ภาพแบบที่แสงน้อย ถ้าฝึกมือนิ่งมาไม่มากพอ

_DSF9227_fb

ถ่ายแล้วต้องมานั่งเช็คว่ามันชัดหรือเปล่า แถมต้องพกแบตติดตัวอีก 3 ก้อน
Cr : Pongphop Chuanasa

_DSF4313_fb

กดชัตเตอร์แล้วก็รอไปอีกสักพัก เพื่อให้กล้องได้ทำการเขียนไฟล์ลงการ์ด
Cr : Pongphop Chuanasa

เมนูการใช้งานเรียกว่าทำออกมาได้ง่ายดีเป็นลูกศรบนล่างซ้ายขวาส่วนตรงกลางเป็นปุ่มตกลง ปุ่มดังกล่าวนี้ก็ใช้ควบคุมแทบทุกอย่างในหัวข้อเมนู ใช้งานไม่นานก็ชินไปเอง (ไม่ใช่เจ็บและชินไปเองนะครับ) ทื่อๆตรงไปตรงมา ดูจากรูปทรงแล้วก็สมควรที่เป็นแบบนั้น

White Balance โดยรวมไม่ได้ดีนักยิ่งถ้าจบด้วยไฟล์ JPEG จะเอาดีในเรื่องสีจากหลังกล้องไม่ได้เลย ต้องถ่ายเป็น RAW แล้วจูนสีกันพอสมควร แล้วไม่ใช่แค่จูนกันระดับธรรมดา แต่ต้องจูนเป็นอย่างยิ่งในส่วนของสีส้มแดง

แถม RAW ของ Sigma ก็ไม่ใช่ว่าจะเปิดในโปรแกรมแก้ไขภาพถ่าย RAW แบบที่กล้องทั่วไปจะเปิดใช้ได้

Sigma Pro Photo สำหรับการแก้ไขภาพถ่ายจากกล้อง Sigma

พอเป็นกล้องที่ใช้เซ็นเซอร์พิเศษมากกว่ากล้องทั่วไป โปรแกรมที่ใช้ถอดรหัสไฟล์ภาพจึงต้องแปลกแยกออกมาจากที่อื่นตามไปด้วย เรียกได้ว่าจนกระทั่งปัจจุบัน โปรแกรมที่ทาง DozzDIY เปิดสอนอย่าง Adobe Lightroom CC ก็ยังเปิดไฟล์จากกล้องตัวนี้ไม่ได้ เรียกว่าสร้างความลำบากลำบนพอสมควรครับ

ยิ่งถ้าเอา Sigma Pro Photo ไปเทียบกับ Lightroom ด้วยแล้ว ก็จะมองเห็นข้อเสียเต็มไปหมด เช่นไม่มีฟิลเตอร์สำหรับการโพรเซสหรือลูกเล่นอื่นๆอย่างที่ Lightroom ทำได้เลย การปรับแต่งเฉพาะพื้นที่หรือปรับแต่งเฉพาะจุดทำไม่ได้เลย

แต่สิ่งที่คุ้มค่ามากที่สุดที่มองเห็น ก็คือรายละเอียดของภาพที่เรียกได้ว่าคมชัดทุกอณู ไม่มีรอดไปได้จากเซ็นเซอร์ตัวนี้

โปรแกรมแปลงไฟล์ RAW ที่ว่านี้ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของ Sigma ได้โดยตรง

sigmaprophoto

ภาพจากกล้อง Sigma ก็ต้องเปิดที่ Sigma Pro Photo

iridientDel

Iridient Developer ก็ใช้ได้ เอาไว้คัดภาพ

ความคิดเห็นส่วนตัวจากผู้สอนกับ Sigma DP2 Merrill

หลังจากลองใช้ไปได้สักพักแล้วก็ไม่เดือดร้อนกับการใช้งานกล้องตัวนี้เท่าไหร่ หรืออาจจะเป็นเพราะว่าเจอความลำบากมาตั้งแต่สมัยกล้องฟิล์มแล้วก็ไม่รู้ สมัยนั้นก็ใช้ ISO เดียวเหมือนกัน ชัดมั่งเบลอมั่งก็ถูๆไถๆกันไป ภาพดีจากกล้องตัวนี้คิดเสียว่าเป็นกำไรของชีวิตแล้วกันนะ (ขนาดนั้นเลย)

ตอนซื้อมาแล้วรู้ว่ากล้องเป็นแบบนี้ก็ดีเหมือนกันจะได้ดัดนิสัยใจร้อนของตัวเอง เอาใจใส่กับการถ่ายภาพมากขึ้น ในช่วงแรกเอากล้องออกไปทั้งวันไม่ได้ภาพเลยก็มี คล้ายกับพกก้อนหินใส่กระเป๋ากางเกงไปยังไงยังงั้น ต่อมาพอชินก็ได้ภาพมากขึ้นจนรู้สึกว่าปกติ ท่ามกลางสายตาที่ไม่ปกติของเพื่อนที่ถ่ายภาพด้วยกันซะงั้น

ระยะ 30mm บนเซ็นเซอร์ APS-C ก็ราวๆ 45mm บนเซ็นเซอร์ฟูลเฟรมให้ภาพที่ยืดๆนิดหน่อย ถ่ายถ้วยถ่ายจานเผลอๆก็เบี้ยวเหมือนกัน ถ้าถามเรื่องว่ามีโอกาสแค่ไหนที่จะถ่ายเบลอ สำหรับผมแล้วที่ความเร็ว 1/ครึ่งหนึ่งของทางยาวโฟกัส (ประมาณ 1/22 วินาที) ยังพอมีทางบันทึกภาพให้นิ่งได้ถ้าหากว่าไม่ใช่ตอนเมาหรือใจสั่นเพราะกาแฟ ดังนั้นถ้าสภาพแสงไม่เลวร้ายมากจนเกินไปเช่นยืนอยู่ในถ้ำ มันก็น่าจะพกไปถ่ายทั้งวันได้ แน่นอนไม่มีใครทำกันหรอกถ้าไม่มีขาตั้งน่ะ

_P2M0494_fb

พระพุทธชินราชในโบสถ์ช่วงหัวค่ำ ก็ยังถ่ายได้แฮะ
1/25sec @f/2.8 ISO100, Sigma DP2 Merrill

กล้องยากๆแบบนี้จะพกถ่ายเช้ายันเย็นโดยไม่มีขาตั้งกล้องได้ไหม

ก็คงได้.. (มั้ง) ผมเองก็อยากรู้เหมือนกันเลยลองพกไปถ่ายมาดังภาพคร่าวๆที่เห็นข้างล่างนี้ ภาพพวกนี้ไม่มีภาพไหนใช้ขาตั้งกล้องเลยแม้แต่ภาพเดียว แต่ใช้เทคนิคต่างๆเช่นการถือให้มั่น เอาผ้าพันมือ, เอาข้อศอกตั้งบนโต๊ะ อะไรต่อมิอะไรต่างๆมากมายเพียงเพราะไม่อยากพกขาตั้ง ฟังดูดีจังไม่พกขาตั้งแต่ความจริงลำบากมาก 555  (คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่)

_P2M0482_fb

1/125sec @f/6.3 ISO100

_P2M0194_fb

1/80sec @f/2.8 ISO100

_P2M0206_fb

1/30sec @f/2.8 ISO100

_P2M0300_fb

1/50sec @f/2.8 ISO100

_P2M0398_fb

1/100sec @f/2.8 ISO100

_P2M0529_fb

1/6sec @f/2.8 ISO100

_P2M0548_fb

1/400sec @f/2.8 ISO100

_P2M0299_fb

1/100sec @f/2.8 ISO100

_P2M0625_fb

1/13sec @f/2.8 ISO100

_P2M0637_fb

1/320sec @f/4.0 ISO100

_P2M0549_fb

1/320sec @f/2.8 ISO100

sigma_panorama

1/320sec @f/3.2 ISO100

_P2M0490_fb

1/25sec @f/8.0 ISO100

_P2M0488_fb

1/320sec @f/4.0 ISO100

_P2M0016_fb

1/10sec @f/2.8 ISO100

_P2M0026_fb

1/60sec @f/2.8 ISO100

_P2M0018_fb

1/8sec @f/8 ISO100

_P2M0013_fb

1/200sec @f/2.8 ISO100

_P2M0038_fb

1/15sec @f/2.8 ISO200

_P2M0003_fb

1/40sec @f/2.8 ISO100

_P2M0044_fb

1/80sec @f/2.8 ISO100

_P2M0115_fb

1/500sec @f/3.2 ISO100

_P2M0041_fb

1/4sec @f/4.5 ISO200

_P2M0152_fb

1/30sec @f/2.8 ISO200

_P2M0302_fb

1/100sec @f/2.8 ISO100

_P2M0250_fb

1/125sec @f/2.8 ISO100

_P2M0251_fb

1/800sec @f/2.8 ISO100

สรุปดีกว่า

Sigma DP2 Merrill ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรกับชีวิตผมเท่าไหร่ ถ่ายได้ก็ดี ถ่ายไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าช็อตไหนคิดว่าสำคัญมากแล้วพลาดไม่ได้จริงๆยังไงก็ต้องพกกล้องอีกตัวติดไปอยู่ดี แต่ถ้าได้ภาพขึ้นมาก็เรียกว่ากินขาดกล้องในระดับเดียวกันแบบขาดลอย เห็นมีฝรั่งเอาไปเทียบกับกล้อง Medium Frame ก็ยังเหนือกว่านิดๆด้วย

นี่ก็กำลังมองหา DP0 Quattro อยู่ ไม่รู้ใครขายบ้าง มีเงินก็จะกวาดหมดทั้งซีรี่ย์ เพราะไฟล์ภาพมันนี่แหล่ะครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า