Photoshop CC : Smart Sharpen ดีกว่า Unsharp Mask อย่างไร

สำหรับผู้ใช้งาน Photoshop CC ในระดับเบื้องต้นนั้นการทำความเข้าใจของสเกลต่างๆดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากพวกเขาจึงเลือกเชื่อใจการปรับคมแบบ Unsharp Mask ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีในระดับหนึ่ง และหลีกเลี่ยง Smart Sharpen เพราะใช้งานยากไปหน่อย บทความนี้ผู้สอนจะเปรียบเทียบความสามารถของทั้งสองฟิลเตอร์ให้วิเคราะห์และเลือกใช้กันครับ

ความเข้าใจคร่าวๆเกี่ยวกับการปรับคมสำหรับคนไม่เคยเรียนกับ DozzDIY

ภาพถ่ายหลายล้านใบต่อวินาทีบนโลกที่เกิดขึ้นต่างสถานที่ต่างเวลาต่างอุปกรณ์และต่างการตั้งค่า ความคมชัดที่เกิดขึ้นบนเนื้อไฟล์จึงต้องได้รับความจำเป็นในการปรับคมที่แตกต่างกัน เท่านั้นยังไม่พอ บริเวณของพื้นที่ซึ่งจะต้องได้รับการปรับคมของแต่ละภาพตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริงยังมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของภาพอีก ยกตัวอย่างเช่นภาพถ่ายชัดตื้นที่ต้องการความคมของวัตถุที่โฟกัสมากกว่าสิ่งใด

การปรับความคมชัดให้ถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุดจึงเกิดได้จากผู้ที่มีความเข้าใจไฟล์ดิจิตอล เราเองต่างก็เสาะหาวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อจะได้ภาพที่คมชัดตามต้องการ และวิธีที่ได้เรียนไปแล้วในหลักสูตร Photoshop CC for Photographer หลายร้อยตอนจนมาถึงหมวดที่ 4 นั่นคือฟิลเตอร์ Unsharp Mask และ Smart Sharpen นั่นเอง

unsharp

เมื่อไม่ปรับคม การไล่สีของพื้นหลังกับตัวหนังสือจะยังดูกลมกลืนกันอยู่

sharp

ภาพหลังจากปรับคมแล้ว ความต่างที่ขอบอักษรชัดขึ้น

Smart Sharpen ดีกว่า Unsharp Mask อย่างไร

1. Smart Sharpen ลดผลเอฟเฟกบริเวณส่วนสว่างและส่วนมืดได้

บริเวณที่เป็นสีในกลุ่มโซนมืดนั้นมักไม่ค่อยมีรายละเอียดอะไรที่เรามองเห็นได้ง่าย และการเปิดเงาขึ้นมาเพื่อปรับคมนั้นก็มักจะทำให้สิ่งที่ไม่พึงประสงค์ปรากฏขึ้นมาให้เห็นได้ชัดด้วย การมีตัวเลือกเพื่อลดผลลัพธ์ที่มากเกินไปของ Smart Sharpen ย่อมดีกว่า Unsharp Mask ซึ่งไม่มีอะไรให้ระวังตรงนี้เลย

2. Smart Sharpen สามารถวิเคราะห์ขอบพิกเซลเพื่อลดผลการเกิดแสงหลอนจากการปรับคม

บริเวณภาพถ่ายที่เกิดการหักเหของแสงเข้ามาในเลนส์อย่างชัดเจนจะชัดเจนมากเข้าไปอีกด้วยการปรับคม ตัวเลือกการลดผลลัพธ์เพื่อระวังการเกิดแสงประเภทดังกล่าวจะช่วยให้ภาพไม่มีสิ่งที่รบกวนจากแสงเหล่านี้จนเกินไป

การเบลอที่มีถึงสามรูปแบบ

3. Smart Sharpen มีตัวเลือก Reduce Noise เพื่อไม่ให้เกิดคลื่นสัญญาณรบกวนที่เป็นผลจากการปรับคม

การปรับคมแบบไม่ระบุพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อส่วนที่สว่างเป็นจุดๆจะแตกต่างจากส่วนที่มืดมากเกินไปจนเกิดรอยระยิบระยับในรายละเอียด กล่าวง่ายๆพฤติกรรมพิกเซลแบบนี้ทำตัวไม่ต่างจากน้อยส์สักเท่าไหร่ และ Unsharp Mask ก็ไม่ได้ระวังในส่วนนี้ด้วย ดังนั้น Smart Sharpen มีเครื่องมือให้จัดการได้ดีกว่าเห็นๆ

4. Smart Sharpen มีอัลกอริทึ่มในการลดผลของส่วนที่ไม่ชัดถึงสามรูปแบบ

ในขณะที่รูปแบบของ Unsharp Mask มีส่วนละเว้นบริเวณที่ความเปรียบต่างส่วนต่ำๆอย่างสเกล Threshold จะควบคุมด้วยรูปแบบฟังก์ชั่นเกาเซียน Smart Sharpen กลับมีมากกว่าถึงสองรูปแบบ นั่นคือการละเว้นพื้นที่ด้วยอัลกอริทึ่ม Lens Blur และ Motion Blur มีทางเลือกมากกว่าก็ทำภาพได้ดีกว่า

5. Smart Sharpen ถูกบันทึกเป็นแม่แบบเพื่อนำกลับมาใช้อีกได้

ยิ่งภาพที่ถ่ายมาเป็นกลุ่มๆอย่าง Studio Shots หรือภาพถ่ายที่มีการล็อกการตั้งค่าด้วยแล้วก็คงไม่สนุกเท่าไหร่ที่จะมานั่งใช้ Unsharp Mask ทุกๆครั้งด้วยค่าเดิม Smart Sharpen มีส่วนที่ให้เราบันทึกค่าต่างๆตรงนี้และนำมาใช้ได้ตามการบันทึกที่จดจำเอาไว้

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า