Photoshop CC : แก้อาการคลาดสีด้วยเทคนิคการเบลอภาพ

ความคลาดสี (Chromatic Aberation) คือกลุ่มอาการความผิดพลาดที่มาจากเลนส์เป็นต้นเหตุ (Lens Aberration) ปัจจุบันมีวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวออกเป็นสองวิธีใหญ่ๆด้วยกันคือการใช้อุปกรณ์ที่ดีขึ้น กับอีกวิธีหนึ่งที่ต้นทุนต่ำกว่าแต่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในบทความนี้เราจะเรียนรู้วิธีการแก้ไขอาการดังกล่าวใน Photoshop CC กันครับ

ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับอาการคลาดสี

ความคลาดสี หรือ ความคลาดรงค์ (Chromatic Aberration) ผู้สอนเคยเขียนอย่างละเอียดไปแล้วในบทความก่อนหน้า [คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม] โดยที่สาเหตุนั้นมาจากคลื่นความยาวแสงที่ตกกระทบไม่ตรงตำแหน่งกันทำให้เกิดปัญหาดังภาพ

คลื่นความยาวแสงที่ต่างกันของแต่ละสีคือสาเหตุของอาการดังกล่าว

การแก้ไขปัญหาด้วยการเบลอภาพผสานสี

ใน Photoshop CC เรามีวิธีการแก้ไขปัญหาอาการคลาดสีอยู่มากมายและมีประสิทธิภาพที่ต่างกันออกไป วิธีการที่ถูกนำเสนอในบทความนี้คือการคัดลอกภาพเดิมแล้วทำให้สีของภาพถูกเกลี่ยกระจาย จากนั้นจึงคัดเลือกสีขอบซึ่งเป็นปัญหามาเกลี่ยแก้ไข ทำให้อาการคลาดสีของภาพลดลงดังภาพ

ภาพต้นฉบับที่มีปัญหาการคลาดสี

ลำดับขั้นตอนใน Photoshop CC

ขั้นตอนที่ 1 : ทำซ้ำภาพขึ้นมาเป็นเลเยอร์ใหม่

หลังจากนำภาพเข้ามาสู่โปรแกรม Photoshop CC แล้ว ให้ใช้คีย์​ Control + J [win]/Command + J [mac] เพื่อทำซ้ำ_ภาพขึ้นมาอีก 1 เลเยอร์ โดยทีสังเกตได้จากพาเนลเลยอร์ว่าเลเยอร์ทำซ้ำใหม่ที่เกิดขึ้นจะปรากฏอยู่บนจากเลเยอร์เดิม (ถ้าไม่มีพาเนลเลเยอร์ให้เรียกได้จากแท็บ window > Layers คีย์ลัด ‘F7’)

เลเยอร์ต้นฉบับ

ทำซ้ำขึ้นมา 1 เลเยอร์

ขั้นตอนที่ 2 : เบลอภาพที่อยู่ด้านบนด้วยฟิลเตอร์ Gaussian Blur

ขณะนี้เรากำลังทำงานอยู่กับเลเยอร์ที่ถูกทำซ้ำขึ้นมาใหม่ซึ่งอยู่ด้านบนของเลเยอร์ต้นฉบับ ให้ทำการเบลอภาพด้วยสเกลในฟิลเตอร์ของ Gaussian Blur ไปที่ Filter > Blur > Gaussian Blur (Alt + Shift + Control + G [win]/ Opt + Shift + Command + G [mac]) โดยที่ความรุนแรงของการเบลอในภาพให้พิจารณาจากความละเอียดของภาพเพื่อความเหมาะสมในการปรับค่า

ปรับจนกว่าสีขอบวัตถุถูกเกลี่ยจนกลมกลืน

ขั้นตอนที่ 3 : ผสานเลเยอร์ด้วยโหมด Color

ให้เปลี่ยนโหมดการผสานเลเยอร์เป็นแบบ Color การผสานเลเยอร์ในโหมดนี้ Photoshop จะทำการคัดเลือกเฉพาะมิติของสีสันมาผสานกับภาพด้านล่างโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับมิติและรายละเอียดอื่นในภาพด้านล่าง ทำให้เราได้สีที่ดูเหมือนมีการเกลี่ยมากขึ้น แต่นั้นก็ยังถือว่ายังไม่สำเร็จในผลลัพธ์ที่ต้องการ ให้ทำการ Mask เพื่อปกปิดผลลัพธ์ของเลเยอร์บนก่อน แล้วใช้พู่กันจัดการกับมาสก์เพื่อแสดงเฉพาะขอบขอบภาพที่มีปัญหาอาการคลาดสีเท่านั้น

โหมดผสานเลเยอร์แบบ Color

ก่อนปรับแต่งด้วย Mask

หลังปรับแต่งด้วย Mask เพิ่มเติม

จะมัวนั่งเรียนเนื้อหาโดดไปมาอยู่ทำไม?

หลักสูตรคุณภาพเรียนจากเว็บไซต์และคลิปวิดีโอ Adobe Photoshop CC จาก DozzDIY
เรามีการจัดสารบัญเนื้อไว้ให้อย่างชัดเจนเป็นขั้นตอน ได้ผลลัพธ์จริง
กรุณาติดต่อทางเพจ facebook.com/dozzdiy หรือทาง LineID : @DozzDIY
โทรศัพท์ : 08-8753-5742, 08-7730-0981 และ 08-0782-4423 ตั้งแต่เวลา 6:00 – 22:00 น ทุกวันไม่มีวันหยุด

กระบวนการแก้ไขปัญหาที่ดูเหมือนเรียบง่ายต่างก็มีเหตุผลและต้องทำความเข้าใจรายละเอียดปลีกย่อยมาบ้างแล้วผู้เรียนจึงจะเข้าใจและสามารถพลิกแพลงเครื่องมือสำหรับสถานการณ์อื่นๆได้ ทั้งหมดนี้เป็นการนำเครื่องมือมาใช้ในการขจัดปัญหาการคลาดสีที่พบได้บ่อยในการถ่ายภาพครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า