Photoshop CC : ขยายระยะโฟกัสของภาพด้วย Stack Images

ภาพที่มักมีปัญหาเกี่ยวกับระยะชัดที่ไม่ครอบคลุมโดยส่วนใหญ่มักเป็นภาพที่ถ่ายในระยะใกล้ๆอย่างภาพมาโคร ซึ่งต่อให้ผู้เรียนใช้รูรับแสงที่แคบแค่ไหนก็ตามจะไม่มีการรับประกันได้เลยว่าภาพนั้นจะชัดทั้งหมด เทคนิคนี้จึงมีประโยชน์มากกับการถ่ายภาพที่ต้องการความคมชัดครอบคลุมพื้นที่มากๆ เช่นภาพถ่ายเครื่องประดับหรือภาพประยุกต์อื่นๆ

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการประกบภาพแบบขยายระยะชัด

ภาพด้านล่างนี้ผู้สอนทำการเซ็ตกล้องโดย วางบนขาตั้งและกำหนดค่าตัวแปรทุกอย่างแบบกำหนดเอง (Manual Mode) ไม่ว่าจะเป็นค่าระยะชัดหรือรูรับแสง เนื่องจากว่าภาพนี้เป็นภาพถ่ายในระยะใกล้จึงให้ความคมชัดไม่พอ การถ่ายภาพแบบล็อกทุกอย่างแบบนี้เพื่อที่จะให้มั่นใจได้ว่าภาพทุกภาพจะได้แสงที่เหมือนกันและมีการเคลื่อนตำแหน่งน้อยที่สุด และเปลี่ยนแค่ระยะโฟกัสเท่านั้น

คมชัดบริเวณท้ายกระบอกเลนส์ (ภาพต้นฉบับ)

คมชัดบริเวณกระบอกเลนส์ด้านหน้า (ภาพต้นฉบับ)

คมชัดด้านหน้าสุดของเลนส์ (ภาพต้นฉบับ)

ขั้นตอนที่ 1 : เปิดไฟล์ภาพแล้วเรียงซ้อนเลเยอร์ให้หมด

ถ้าผู้เรียนใช้ Lightroom CC ก็ให้เลือกภาพทั้งหมดใน Film Strip แล้ว Edit in > Open as Layers in Photoshop หรือถ้าไม่ใช้ Lightroom CC ก็ไปเปิดเอาเอง 555 เอ้ย ไปที่ File > Open แล้วค่อยๆ Place Embedded เอานะครับ คือไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามทำให้ภาพทั้งสามภาพข้างต้นนี้มาซ้อนกันเป็น 3 เลเยอร์ให้ได้ คือมันมีหลายวิธีอ่ะนะเอาตามถนัดก็แล้วกัน

ภาพต้นฉบับไม่จำเป็นต้องเป็นต้องใช้นามสกุล Tiff นะครับ (ใช้ JPEG ก็ได้นะ)

ขั้นตอนที่ 2 : ประกบรอยต่อด้วยการทาบขอบอัตโนมัติ

ต่อให้การถ่ายภาพทุกภาพจะควบคุมตำแหน่งอย่างไรก็ตาม จะมั่นใจได้อย่างไรว่ากล้องจะไม่มีการเคลื่อนไหวทำให้ภาพต่างกัน (ถึงจะ 1 พิกเซลก็เป็นปัญหาได้) ดังนั้นให้ทำการคลิกเลือกทีละภาพโดยการกด Control (win)/ Command (mac) ค้างไว้ก่อน หรือจะ เลือกเลเยอร์ภาพบนสุดแล้ว กด Shift ค้างไว้จากนั้นเลือกภาพล่างสุดก็ได้ผลลัพธ์เหมือนกัน (เอาสักวิธีนะ) แล้วไปที่ Edit > Auto-Align Layers… จากนั้นเลือกโหมดประกบแบบอัตโนมัติ (Projection > Auto) สำหรับค่าตัวเลือกแก้ไขขอบดำหรือจะแก้ไขค่าผิดเพี้ยนอันนี้แล้วแต่ครับ

ไปที่ Edit > Auto-Align Layers…

กำหนดรูปแบบทาบขอบอัตโนมัติ (Projection > Auto)

ขั้นตอนที่ 3 : ขยายระยะโฟกัสด้วย Stack Images

หลังจากกดตกลงเพื่อประกบภาพตามรอยขอบให้แนบสนิทเรียบร้อยแล้ว ต่อมาให้เลือกเลเยอร์ภาพทั้งหมดเหมือนเดิมแล้วไปที่ Edit > Auto-Blend Layers… โหมดดังกล่าวนี้มีรูปแบบการรวมภาพแบบผสมด้วยโหมดต่างๆซึ่งในกรณีนี้เราจะใช้การผสมภาพขยายระยะโฟกัสจึงต้องเลือกโหมด Stack Images โดยที่ตัวเลือกสองตัวเลือกด้านล่างคือการผสมภาพโดยคำนึงถึงโทนและสี (Seamless Tones and Colors) กับ ทดแทนพื้นที่ใหม่หากมีการขาดหายของรายละเอียด (Content Aware Fill Transparent Areas) กำหนดค่าตามต้องการแล้วกดตกลง

Edit > Auto Blend Layers…

Blend Method > Stack Images

จะเห็นว่ามีพื้นที่เหลื่อมจากการผสมอยู่ที่ขอบภาพด้วย จำเป็นต้องครอปออกไปเล็กน้อย

ขั้นตอนที่ 4 : รวมภาพแล้วจัดการส่วนที่เหลือ

สุดท้ายแล้วผู้เรียนจะทำการรวมภาพทั้งสามเลเยอร์เข้าไว้ด้วยกันด้วยการเลือกเลเยอร์ทั้งหมดแล้วคลิกขวาจากนั้นเลือก Faltten Image จากนั้นค่อยครอปส่วนเกินภาพ หรือจะเอาไปตกแต่งต่อก็ตามแต่ เราก็จะได้ภาพผลลัพธ์สุดท้ายที่ระยะโฟกัสถูกขยายจนครอบคลุมตามเท่าที่เราเก็บไฟล์ภาพเอาไว้ครับ

ภาพที่เกิดจากการขยายระยะโฟกัสเรียบร้อยแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า