Photoshop CC : เครื่องมือระบายภาพ

เครื่องมือระบายภาพนั้นผู้สอนเห็นว่ามีเนื้อหาสาระที่เยอะและค่อนข้างละเอียดเนื่องจากว่าไม่ได้หมายถึงพู่กัน (Brush Tool) เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงเครื่องมือที่มีการใช้งานในลักษณะระบายที่เกี่ยวข้องค่อนข้างมาก บทเรียนนี้จึงต้องกล่าวความหมายให้ครอบคลุมแบบคร่าวๆเพื่อทำความเข้าภาพรวมของการทำงานไว้ก่อน

เครื่องมือสำหรับการระบาย (Painting Tools)

เครื่องมือที่ใช้ในการระบายภาพนั้นนอกจากจะใช้วาดแล้วยังใช้ลงสีในลักษณะการปาดไปปาดมา เครื่องมือสำหรับระบายภาพใน Photoshop CC ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 9 เครื่องมือ ซึ่งผู้สอนขอยกตัวอย่างการใช้งานอย่างคร่าวๆเป็นแกลเลอรีมาพอสังเขปดังนี้ครับ

Brush Tool (B)
การใช้งานจะเป็นการปัดหรือลากระบาย

Pencil Tool (B)
ใช้งานลักษณะการสร้างเส้นขอบกระด้าง

Color Replacement Tool (B)
แทนที่สีเดิมด้วยสีใหม่

Mixer Brush Tool (B)
ใช้จำลองการปะปนของสีในงานศิลปะบนผืนผ้าใบจริงๆ

History Brush Tool (Y)
พู่กันระบายแบบการคัดลอกค่าที่เคยตั้งเอาไว้

Art History Brush Tool (Y)
พู่กันจำลองเทคนิคการระบายที่ใช้ในงานศิลปะแบบต่างๆ

Gradient Tool (G)
เครื่องมือไล่สีในแบบต่างๆ เช่นแบบสี่เหลี่ยม, วงกลม, องศา, สะท้อน และอื่นๆ

Paint Bucket Tool (G)
เทสีแบบสีเดียวลงในเส้นขอบปิดที่กำหนด

3D Material Drop Tool (G)
ใช้เทพื้นผิวให้กับวัตถุสามมิติ

แม่แบบของเครื่องมือระบายภาพ

คุณสมบัติของเครื่องมือสำหรับการระบายช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างเอฟเฟกให้กับภาพในแบบที่แปลกตาออกไปได้อย่างมากมาย และ Photoshop ก็อนุญาตให้ปรับแต่งเครื่องมือระบายภาพได้ทันทีในส่วนของบาร์ตัวเลือก (Option Bar) เมื่อเครื่องมือระบายภาพถูกเรียกใช้งานอีกทั้งมันยังสามารถบันทึกเอาไว้เป็นแม่แบบสำหรับเรียกใช้งานในครั้งต่อๆไปได้อีกด้วย แม่แบบของเครื่องมือระบายภาพนี้จะสร้างขึ้นใช้เองหรือดาวน์โหลดตามเว็บที่ทำขายหรือทำแจกฟรีก็ตามสะดวก >> คลิกเพื่อไปยัง วิธีการสร้างและใช้แม่แบบเครื่องมือ

Brush Presets
(Window > Brush Presets)

แม่แบบพู่กันมีให้โหลดทั้งแบบฟรีและไม่ฟรี
(ตัวอย่างภาพคือเว็บ Deviantart.com)

ตัวเลือกลูกเล่นเพิ่มเติมของเครื่องมือระบายภาพ

ในระหว่างที่ตั้งค่าเบื้องต้นที่บาร์ตัวเลือกของเครื่องมือระบายภาพ เรายังสามารถกำหนดคุณลักษณะเพิ่มเติมได้อีกด้วยว่าจะให้แม่แบบเครื่องมือระบายภาพนี้มีการไล่สีแบบไหน, ขอบของการระบายนุ่มหรือแข็งกระด้าง, ความหนักเบาไม่เท่ากัน, มีการผสานเข้ากันกับพื้นที่ซ้อนทับ หรือจะใส่พื้นผิวเข้าไป ทั้งหมดนี้ทำได้ในส่วนของพาเนลเครื่องมือระบายภาพ คลิกที่ข้อความเพื่อไปยังตอน “การปรับแต่งพาเนลเครื่องมือระบายภาพ” (ลิงก์ยังไม่เปิดใช้งาน)

บาร์ตัวเลือก (Options Bar) ของกลุ่มเครื่องมือประเภทพู่กัน (Brush Tools – B)

การใช้งานเครื่องมือพู่กันและดินสอมีการใช้งานที่คล้ายกัน

1 กำหนดสีเส้นขอบ (Foreground Color) ที่จะระบาย

2 เลือกเครื่องมือสำหรับการระบายอย่างใดอย่างหนึ่ง (พู่กันหรือดินสอก็ได้)

3 เลือกประเภทหัวแปรงจากกล่องแม่แบบเครื่องมือระบาย

4 กำหนดโหมดสำหรับการระบายหรือตัวเลือกต่างๆที่บาร์ตัวเลือกจนพอใจ

5 จากนั้นจึงเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

คลิกลากไปตามพื้นที่การทำงานเพื่อระบาย
– ถ้าจะลากเป็นเส้นตรง ให้กำหนดจุดลากแล้วกด Shift ค้างไว้ จากนั้นลากไปยังจุดปลายที่ต้องการแล้วค่อยปล่อยปุ่ม
– หากต้องการใช้งานในลักษณะของแปรงพ่นสี ให้คลิกเป็นจุดๆเดียวค้างโดยไม่ต้องลากแล้วสังเกตผลดู

Brush Preset Picker สำหรับการใช้แม่แบบที่มีอยู่แล้วทันที
(ไม่ได้กล่าวถึงมากนักในตอนนี้)

ตัวเลือกเครื่องมือระบายภาพ

ตัวเลือกดังกล่าวนี้มีให้ตั้งค่าที่บาร์ตัวเลือก (Options Bar) ซึ่งจะส่งผลไปยังเครื่องมือที่มีการใช้งานในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย

โหมด (Mode) : โหมดการระบายภาพจะข้องเกี่ยวกับความรู้เรื่องการผสานเลเยอร์ในหมวดที่ 9 ของหลักสูตร Photoshop CC for Photographer ซึ่งเป็นความจำเป็นอย่างมากไม่ว่าผู้เรียนจะใช้ Photoshop ไปเพื่ออะไรก็ตาม อย่างไรก็ดีถ้ายังใช้ไม่เป็นก็ให้เลือกโหมด Normal ไปก่อน หรือจะลองเปลี่ยนโหมดเล่นๆแล้วดูเอฟเฟกที่เกิดขึ้นขณะระบายก็ได้ครับ

ความโปร่งใส (Opacity) : ค่าความโปร่งใส กำหนดให้ 0 คือความโปร่งใสสูงสุด และ 100 คือค่าความทึบของสีสูงสุด โดยที่การระบายลงในพื้นที่สีขาวจะแปรผลไปตามเอฟเฟกตัวเลขที่กำหนด สมมติว่ากำหนดไว้ 50 ค่าความโปร่งใส่ของสีจะมีเพียงครึ่งหนึ่ง ซึ่งถ้าหากระบายซ้ำในพื้นที่เดิม ความทึบที่ได้จะเป็นอีก 50% ของสีเดิมที่ทาทับลงไปก่อนหน้า (ไม่ใช่ 100% นะ)

การพ่นกระจาย (Flow) : อัตราการพ่นกระจายของเอฟเฟกที่กำหนด ค่านี้จะส่งผลในขณะที่ใช้งานเครื่องมือการระบายโดยไปลดผลความเข้มทึบ (มีผลสัมพันธ์กับค่า Opacity ด้วยควรแยกให้ออก) ของสีระหว่างการลากระบาย เช่น ที่สีเดียวกันซึ่งมีค่า Opacity เดียวกัน ค่า Flow ที่ต่ำกว่าจะมีการกระจายตัวของสีจากจุดศูนย์กลางเส้นระบายที่จางตัวมากกว่า

เพิ่มเติม : การกำหนดค่าความโปร่งใส (Opacity) อย่างรวดเร็วทำได้โดยการกดแป้นตัวเลขที่คีย์บอร์ด โดยที่การกดตัวเลขเพียงครั้งเดียว ความโปร่งใสจะมีค่าเป็น 10 เท่า เช่น กด 1 จะได้ค่าความโปร่งใส 10% (กด 0 ได้ 100% นะ) แต่ถ้ากดต่อเนื่องด้วยตัวเลขอีกครั้ง จะได้ค่าความโปร่งใส่หลักหน่วยตามมา เช่น การกด 1 แล้วตามด้วย 2 จะได้ค่าความโปร่งใสเท่ากับ 12% เป็นต้น

แปรงพ่น (Airbrush) : จำลองการระบายให้เป็นเหมือนแปรงพ่นสี การกดลงบนปุ่มดังกล่าวเป็นเหมือนการ เปิด-ปิดโหมด โดยที่เมื่อเปิดโหมดดังกล่าว การกดเมาส์ค้างเอาไว้สีจะกระจายตัวเหมือนกำลังทำการพ่น

โหมดลบอัตโนมัติ (Auto-Erase) : โหมดนี้ใช้ได้เฉพาะดินสอเท่านั้น โดยที่หากมีการทาทับไปยังสี Foreground สีดังกล่าวจะถูกลบแล้วแทนที่ด้วยสี Background แบบอัตโนมัติ

แรงกดของปากกาแสง (Tablet Pressure Button) : เป็นการเปิดให้ปรับน้ำหนักตามแรงกดของปากกาแสง หรือพวกสไตลัส

การปรับแต่งแก้ไขเคอร์เซอร์

ปกติแล้วรูปลักษณ์ของลูกศรตอนใช้เครื่องมือพู่กันใน Photoshop CC ก็มีการแสดงความหมายที่ดีอยู่แล้ว แต่ถ้าผู้เรียนรู้สึกหงุดหงิดหรือสังเกตยากว่าตัวเองกำลังใช้เครื่องมืออะไรอยู่ ด้านล่างนี้คือวิธีการเปลี่ยนเครื่องมือให้เป็นแบบที่ตัวเองชอบครับ

Preference ส่วนของเคอร์เซอร์

1 ไปที่ Edit > Preferences > Cursors [win] หรือไปที่ Photoshop > Preferences > Cursors [mac]

2 กำหนดการแสดงผลของเคอร์เซอร์ในขณะใช้งานได้ เช่น ขณะที่กำลังใช้พู่กันจะใช้สัญลักษณ์ของเอฟเฟกแบบวงใน หรือ วงนอก (Full Size Brush Tip) หรือจะให้แสดงเครื่องหมายกากบาทระหว่างแปรง หรือแสดงตลอดเวลาก็ยังได้

เพิ่มเติม : เอาเป็นว่าในส่วนนี้ไปปรับแต่งกันเอาเองนะครับผู้สอนคงไม่ลงรายละเอียดมากนักเพราะมันไม่ค่อยจำเป็นในการใช้งานเท่าไหร่เนื่องจากคนส่วนมากก็มักจะใช้ค่าการปรับแต่งแบบดั้งเดิมที่ Photoshop CC มีมาให้แต่แรกอยู่แล้วล่ะเนอะ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า