Photoshop CC : ย่อภาพลงเฟซบุ๊กให้ถูกต้อง

เกือบทุกโปรแกรมที่ใช้ตกแต่งภาพถ่ายบนคอมพิวเตอร์นั้นมีฟังก์ชั่นที่ใช้ในการปรับคมและย่อภาพ ถ้าผู้เรียนได้เรียนหลักสูตร Lightroom Classic ตัวพื้นฐานของ DozzDIY ก็จะเห็นว่ามีวิธีการย่อภาพอีกแบบ มาใน Photoshop CC ก็มีวิธีอีกแบบแต่ได้ผลลัพธ์ไม่ต่างกันหรอก มาดูกันเลยดีกว่า

ความละเอียดภาพขยายเต็มจอของปี 2018 จาก Facebook

บอกเลยว่ากฏนั้นไม่มีอะไรเปลี่ยน นั่นคือถ้าเป็นภาพแนวนอน ด้านความกว้างต้องเป็น 2048px หรือมากกว่า แต่ถ้าเป็นภาพแนวตั้งด้านยาวต้องเป็น 2048px หรือมากกว่า เราสามารถเรียกด้านที่ยาวที่สุดของภาพไม่ว่าจะเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนเป็นภาษาอังกฤษว่า ‘Long Edge’ แต่ Photoshop ไม่มีตัวเลือกที่ใช้รวมๆแบบนี้ ก็เลยต้องมาตั้งใหม่เอาแล้วกันนะ

การย่อภาพเพื่อใช้ใน Facebook บน Photoshop CC

ขั้นตอนที่ 1 : เปิดภาพขนาดเต็มขึ้นมาก่อน

ภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าเวลาย่อไปขนาดเล็ก รายละเอียดจะสูญเสียน้อยกว่าการขยายภาพจากขนาดเล็กกว่าไปใหญ่กว่าอยู่แล้ว (คงไม่มีใครทำแบบนั้นแหงๆกรณีไม่ใช่เวกเตอร์หรือพิกเซลขอบคม) เอาง่ายๆคือเปิดภาพตอนยังไม่ย่อขึ้นมานั่นล่ะดีที่สุด

เปิดไฟล์ภาพขนาดเต็มขึ้นมาเป็นอย่างแรก

ขั้นตอนที่ 2 : เปิดหน้าต่างย่อภาพขึ้นมา

ไปที่ Image > Image Size หรือใช้คีย์ Command + Alt + I (win)| Control + Opt + I (mac) เพื่อเรียกหน้าต่างการย่อภาพขึ้นมา เช็คให้แน่ใจว่าที่ Dimension ของกล่องตัวเลือกนี้มีหน่วยเป็นพิกเซลก่อนล่ะ แล้วก็ทำเครื่องหมายถูกที่จุดเชื่อมโยงระหว่างค่า Width กับ Height ว่าการย่อต่อไปนี้เราจะไม่ย่อเพียงด้านใดด้านหนึ่ง แต่จะให้ภาพลดขนาดลงเป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กัน

ภาพแนวนอนจะย่อตามดังนี้

ขั้นตอนที่ 3 : พิจารณาขนาดภาพแล้วกรอกเลข 2048 ลงไป

อย่างที่บอกว่าถ้าเป็นภาพแนวตั้ง ก็ให้กรอกที่ Height ว่า 2048 อย่างเดียว แต่ถ้าเป็นภาพแนวนอนก็กรอกที่ช่อง Width ว่า 2048 อย่างเดียว เพราะเลขของอีกด้านหนึ่งจะลดตามลงมาเอง ส่วน Resolution ก็ทิ้งไว้อย่างนั้นก็ได้ อาจจะมากกว่าเลข 72 ก็ดีเพราะเป็นค่าความละเอียดที่ใช้กับจอภาพทั่วไป ตรงตัวเลือก Resample เลือกเป็น Automatic ไว้

การเซฟภาพใน Photoshop

เพราะเฟซบุ๊กจะลดขนาดของไฟล์ลง 90% ทุกครั้งที่อัปโหลดขึ้นไป เราสามารถพิสูจน์กระบวนการนี้ได้โดยการเซฟกลับมาดูขนาด และกระบวนการนี้ใช้ป้องกันพวกลักไก่แม้จะเซฟเป็น PNG แล้วด้วย เป็นอันว่าถ้ายังเล่น Facebook คงหลีกหนีข้อเท็จจริงนี้ไปไม่ได้ สิ่งที่เราก็ทำได้ก็คือการเอาภาพที่คุณภาพสูงสุดเซฟจาก Photoshop ไปดีกว่า

ขั้นตอนที่ 1 : เรียกหน้าต่างเซฟภาพขึ้นมา

ไปที่ File > Save As … หรือใช้คีย์ Control + Opt + S [win]| Command + Opt + S [mac] เพื่อเรียกหน้าต่างการเซฟภาพมาก่อน จากนั้นเลือกตำแหน่งที่ต้องการจะเซฟให้เรียบร้อย เช่นถ้าจะเซฟไปที่หน้าจอก็เลือกเป้าหมาย Desktop ไว้ ตรง Format เลือก JPEG แล้วก็อย่าลืมแปลงรูปแบบสีให้อยู่ในรูปแบบ sRGB ล่ะ สีจะได้ไม่เพี้ยน

ขั้นตอนที่ 2 : ใช้คุณภาพสูงสุด

คงไม่ต้องบอกนะว่าเลขสูงสุดคือเลขอะไร ที่กล่อง JPEG Options ให้ลากสเกลบาร์ไปที่ Large File สูงสุดไปเลยหรือพิมพ์เลข 12 ที่ Quality ในส่วน Image Options เป็นอันเสร็จสมบูรณ์

ภาพขนาดจริงหลังจากย่อแล้ว
Photographer : Apichat Thanasiriphakdee
Hasselblad X1D + Hasselblad XCD 120mm f/3.5 Macro Lens

ตัวเลือก Resample คืออะไร..?

การย่อภาพหรือขยายภาพ จะหมายถึงการเพิ่มหรือลดปริมาณพิกเซลที่มีในภาพ ยกตัวอย่างเช่น พิกเซลที่มีเฉดสีแดง 4 พิกเซล เวลาย่อภาพลงสมมติว่าเหลือ 1 พิกเซล สีที่ถูกต้องคืออะไรก็คงไม่มีใครตอบได้ จึงต้องมาจากการคำนวนว่าสีที่ควรจะเป็นพิกเซลเพียงหนึ่งเดียวนั้นควรจะเป็นอะไร แนวคิดการ Resample จึงเกิดมา อันที่จริงไม่ได้จะอธิบายอะไรให้ลึกขนาดนั้นหรอกเพราะถ้าไม่เข้าใจ Adobe เขาก็เลือก Automatic เอาไว้ให้เป็นค่าตั้งต้นอยู่แล้ว (เนื้อหาส่วนนี้อย่างละเอียดอยู่ในส่วนสำหรับผู้เรียนกับ DozzDIY คอร์สออนไลน์ครับ)

ทั้งหมดนี้เป็นการย่อภาพเวลาจะเอาไปลง Facebook ที่ทำได้ง่ายๆใน Photoshop หวังว่าผู้เรียนทุกท่านจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และได้เห็นภาพของตัวเองคมชัดสวยงามตามที่เห็นเหมือนที่จอตัวเองครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า