Photoshop CC : ปรับคมด้วยฟิลเตอร์ Smart Sharpen

ปัญหาส่วนใหญ่ของเครื่องมือการปรับคมเป็นเรื่องเกี่ยวกับพื้นที่ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้ว่าตรงไหนควรถูกปรับคมหรือไม่ควรถูกปรับคม ยกตัวอย่างเช่นความจริงที่ว่าน้อยส์มักเกิดขึ้นในที่มืด แถมบริเวณก็ไม่ค่อยมีรายละเอียดที่มองเห็นได้ทำให้ไม่เกิดประโยชน์ที่จะไปปรับคมบริเวณดังกล่าว บทความเรื่องฟิลเตอร์ Smart Sharpen คือสิ่งที่เราจะเจาะลึกกันในตอนนี้ครับ

Smart Sharpen เปิดโอกาสให้จัดการกับความคมได้อย่างฉลาด

ฟิลเตอร์ Smart Sharpen ดูเหมือนว่าจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการปรับคมโดยแท้จริงเมื่อต้องเทียบกับฟิลเตอร์ Unsharp Mask เนื่องจากว่าฟิลเตอร์ Unsharp Mask มีสเกลให้จัดการค่อนข้างน้อยและบางผลลัพธ์ก็ไม่ถูกใจเท่าที่ควร เพราะปัจจัยในการปรับคมที่ถูกต้องของภาพแต่ละภาพมีสิ่งที่ละเอียดอ่อนกว่าการเพิ่มปริมาณเท่าๆกันทั้งหมด

Smart Sharpen ถูกใช้ในรูปแบบ Smart Object เพื่อแก้ไขซ้ำได้

อย่างไรก็ตามการตั้งค่าบางอย่างใน Smart Sharpen อาจจะใช้เวลาประมวลผลที่นานกว่าเพื่อคุณภาพ ทำให้เสียเวลากว่าการปรับคมด้วยฟิลเตอร์ Unsharp Mask ด้วยเช่นเดียวกัน

ผู้เรียนสามารถเรียกหน้าต่างฟิลเตอร์ Smart Sharpen ได้จาก Filter > Sharpen > Smart Sharpen

เกี่ยวกับฟิลเตอร์ Smart Sharpen

Preview : อนุญาตให้เปิดการแสดงผลลัพธ์กับภาพที่กำลังทำงานร่วมอยู่ด้วยโดยทันทีหากทำเครื่องหมายถูก และยกเลิกการแสดงผลเมื่อนำเครื่องหมายถูกออก

Basic & Advanced : โหมดการทำงานกับฟิลเตอร์ Smart Sharpen โดยที่ Basic จะมีเพียงตัวเลือกบางอย่างให้ปรับแต่ง แต่ Advanced เราจะได้ควบคุมปริมาณความคมในส่วนเงากับส่วนสว่างเพิ่มด้วย และด้านล่างนี้จะกล่าวถึงในโหมด Advanced ไปเลยเพื่อรายละเอียดที่มากที่สุดเกี่ยวกับการทำงานของฟิลเตอร์ดังกล่าว

Smart Sharpen

ตัวเลือกที่มาจากโหมด Advenced

Fade Amount : การเกลี่ยผลเอฟเฟกเพื่อเจือจางปริมาณความแข็งกระด้างจากการปรับคม

Tonal Width : ขอบเขตของโทนที่กำหนด เช่นถ้าเราปรับค่า Tonal Width ของส่วน Shadow มากขึ้น โซนจากดำมาขาวในภาพจะถูกนำมาคำนวนมากขึ้นเรื่อยๆในกระบวนการ

Radius : ค่ารัศมีที่วัดออกจากพิกเซลขอบสี ยิ่งมีค่ามากจะยิ่งนำมาคำนวนในการปรับคมมากขึ้น

ไอคอนฟันเฟือง (Settings) : เลือกพฤติกรรมการปรับคมมีสองแบบคือ Legacy (เท่ากันทั้งหมดอย่างไม่มีละเว้นโทนภาพ – อย่าไปเลือกเลย) และ More Accurate ที่จะได้เลือกต่อจากการทำเครื่องหมายที่ Legacy ก่อนเพื่อความแม่นยำมากขึ้น (ใช้เวลานานเข้าไปอีก)

Amount : ปริมาณความเปรียบต่างของพิกเซลบริเวณรอบขอบสีในภาพ ยิ่งมีค่ามากผลยิ่งเกิดขึ้นมากในภาพโดยเลื่อนได้ตั้งแต่ 1-500% ปกติก็ไม่ควรใช้เกิน 100% เพราะจะทำให้ภาพดูไม่สมจริง

Radius : ค่าความกว้างในหน่วยพิกเซลที่วัดออกจากขอบซึ่งได้รับผลกระทบจากการวิเคราะห์เพื่อปรับคมจากสเกล Amount ดังนั้นมันจึงไม่ทำงานถ้าไม่เริ่มใช้สเกล Amount ขึ้นมาก่อน กำหนดได้ตั้งแต่ 0.1-64 พิกเซลเลยทีเดียว สำหรับการใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับขนาดภาพด้วยเช่นกัน

(เทคนิค : เอาค่า ppi ของภาพที่กำลังทำงาน หารด้วย 150 คือค่า Radius ที่มีความเหมาะสมต่อภาพ)

Remove : โหมดการนำส่วนที่เกิดความเบลอจากการปรับคมภาพกรณีมีสิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่ในภาพแล้วส่วนนั้นจะถูกแสดงมากขึ้น มีอยู่สามโหมดด้วยกันคือ Gaussian Blur (ถูกใช้ใน Unsharp Mask ด้วย) ซึ่งเป็นโหมดที่กระจายเกลี่ยพิกเซลด้วยฟังก์ชันเกาเซียน, Lens Blur คือโหมดการเกลี่ยในแบบของการละลายแบบเลนส์ถ่ายภาพกรณีเกิดแสงหลอนแย่ๆจากการปรับคม และ Motion Blur ที่ช่วยเบลอส่วนดังกล่าวด้วยการเคลื่นพิกเซลเป็นริ้วอย่างมีทิศทางกำหนด

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า