การทำภาพถ่ายให้มีลักษณะเหมือนถ่ายกับฟิล์มหรือบางคนเรียกว่า “โทนฟิล์ม” เป็นแนวการตกแต่งภาพถ่ายที่ได้รับความนิยมในหลายปีที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือมีพรีเซ็ตมากมายให้ดาวน์โหลดได้ฟรีทั่วไปสำหรับ Lightroom แต่นั่นก็มีทั้งพรีเซ็ตที่ใช้งานได้พอใช้จนไปถึงใช้งานจริงแทบไม่ได้เลย เนื้อหาส่วนนี้ผู้สอนจึงจัดทำขึ้นมาถึงวิธีการและการปรับแต่งที่ต้องใช้สำหรับกระบวนการดังกล่าว

คำจำกัดความ “โทนฟิล์ม”

คำจำกัดความง่ายๆคือภาพที่มีลักษณะเหมือนถ่ายด้วยกล้องฟิล์ม ถึงภาพถ่ายที่ได้จากกล้องฟิล์มจะมีความไม่สมบูรณ์แบบในตัวของมันเองแต่นับว่าให้เสน่ห์และอารมณ์ของภาพที่ไฟล์ภาพจากกล้องถ่ายภาพดิจิตอลลอกเลียนแบบได้ยาก ความไม่สมบูรณ์แบบที่ว่านี้เกิดจากปฏิกิริยาของเนื้อฟิล์มเอกลักษณ์ที่ทำปฏิกิริยากับตัวแปรที่สามารถแปรเปลี่ยนไปตามผู้ควบคุมระบบสามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าการรับแสงหรือน้ำยาเคมีในกระบวนการล้างอัดและอื่นๆอีกหลายประการ

เม็ดเกรนละเอียดในภาพเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของฟิล์ม
Credit : Alice Green [Canon MG 5200]

สีและแสงของภาพที่สื่ออารมณ์จากฟิล์ม
Credit : Miguel Palhinha [Canon AE-1 + Fuji Superia 200]

ศึกษาและเตรียมข้อมูล

ก่อนที่เราจะเริ่ม แต่งภาพด้วย Lightroom หรือแม้แต่ Photoshopให้เหมือนกับภาพที่ถูกถ่ายด้วยกล้องฟิล์มจึงต้องมีการค้นคว้าข้อมูลแนวทางในเบื้องต้นให้เรียบร้อยเสียก่อนว่ากระบวนการมีแนวโน้มไปในทิศทางใด เพราะฟิล์มที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นต่างมีสไตล์ที่ไม่เหมือนกัน เช่น ฟิล์มจาก Ilford Delta, Kodak Gold, Fuji Provia, Agfa Vista เป็นต้น

กลุ่มผู้ใช้ฟิล์มสี Agfa Vista ที่ Flickr

แหล่งข้อมูลชั้นดีสำหรับผู้สอนในการตระเตรียมข้อมูลเพื่อสร้างสเกลแม่แบบพรีเซ็ตอันดับต้นๆคือเว็บไซต์ Flickr ที่นี่เป็นทั้งแหล่งพบปะของผู้รักการถ่ายภาพและกลุ่มที่ชื่นชอบหลงไหลในการบันทึกภาพลักษณะต่างๆก็ถูกรวมเอาไว้ในนี้

ตัวอย่างการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากฟิล์ม Agfa Vista

ภาพถ่ายด้านล่างนี้จากกล้องถ่ายภาพ Pentax MV ฟิล์มสี Agfa Vista 200 เป็นค่าความไวแสงที่ถ่ายในสภาพแสงนอกอาคารทั่วไปให้ลักษณะของสีที่ครอบคลุมทั้งภาพด้วยโทนลักษณะอุ่น สังเกตได้จากสีขาวที่เป็นเส้นกำกับถนนแทนที่จะเป็นสีขาวกลับเป็นสีขาวออกส้มและลดลงมาทางสีขาวเทา ส่วนของสีดำสุดในภาพไม่มีแต่เป็นการขยับโซนเข้ามายังสีดำเทาที่มีสีเขียวปะปนอยู่ในโซนเงา

Porche 911 Classic 2.7 Impact
Pentax MV + Agfa Vista 200
Credit : Kenny Milton Freeland

การเริ่มต้นกระบวนการทำภาพของภาพในลักษณะข้างต้นจึงต้องเริ่มจากวัตถุดิบที่เป็นไฟล์ภาพดิบที่มีสีต้นฉบับถูกต้องที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อน แล้วจึงเริ่มกระบวนการทำภาพ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นไฟล์ภาพแบบ RAW หรือ JPEG เพียงเท่านั้น

จำลองสเกลเพื่อเลียนเสมือนภาพจากกล้องฟิล์ม

การตกแต่งภาพถ่ายให้เหมือนกล้องฟิล์มหรือการสร้างพรีเซ็ตใดๆสำหรับ Lightroom CC ผู้เรียนจำเป็นที่จะต้องมีพื้นฐานสเกลที่ดีพอสมควรเนื่องจากว่าจะต้องมีการผสมแสงสีในส่วนของเส้นเคิร์ฟ และความเข้าใจของลิมิตในแต่ละสี นอกจากนี้ก็ยังมีความเหมาะสมที่เปิดกว้างสำหรับการนำไปใช้กับภาพจากกล้องในหลายๆค่ายที่ให้สีต้นฉบับแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามเรื่องต่างๆแบ่งออกเป็นรายละเอียดปลีกย่อยได้ดังนี้

 

ตัวอย่างสีในระบบที่ตรงกันข้ามสำหรับความเข้าใจการใช้งานเส้นเคิร์ฟ

เส้นเคิร์ฟ (Tone Curve)

เส้นเคิร์ฟเป็นเครื่องมือผสมแม่สีแสงในแต่ละแชนเนลที่ง่ายที่สุด แชนเนลสีแดงควบคุมสี แดง-น้ำเงิน แชนเนลสีเขียวควบคุมสี เขียว-ม่วงแดง และแชนเนลสีน้ำเงินควบคุม สีน้ำเงิน-เหลือง สำหรับฟิล์มสี Agfa Vista ที่ ISO200 ให้ความเปรียบต่างตามลำดับดังภาพด้านล่าง

RGB Channel —-

กำหนดน้ำหนักแสงสีขาวดำในภาพ โดยให้ค่าแสงสีดำถูกยกขึ้นมาประมาณ 25% ของความสูงที่กรอบซ้ายล่างและลดส่วนสว่างสุดของสีขาวสุดในภาพลงมาเล็กน้อย สีเทากลางยกตัวขึ้นเพื่อความสว่างโดยรวมของภาพ

Red Channel —-

สีกลางจะอมน้ำเงินเล็กน้อยเพื่อเตรียมผสมกับแชนเนลสองแชนเนลที่เหลือ ภาพรวมเคิร์ฟจะคอนทราสต์ส่วนสีเงาค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบกับลิมิตสีกลางไปยังสว่าง ถึงตอนนี้เราจะได้สีอมแดงที่โซนสว่างและสีน้ำเงินที่โซนเงา

Green Channel —-

กำหนดลิมิตสีกลางยกตัวกว่าสีแดงเล็กน้อย เส้นเคิร์ฟมีความต่างจากแชนเนลสีแดงไม่มากนักแต่ก็พอแยกแยะได้ว่าจะมีสีม่วงแดงที่ผสมทำให้โซนสว่างมีสีแดงที่หวานขึ้น สีเขียวส่วนสีเงาที่โค้งลงมากกว่าแชนเนลแดง

Blue Channel —-

แชนเนลน้ำเงินคอนทราสของสีส่วนเงาจะแรงมากขึ้นอีก และเพิ่มความอุ่นของภาพลงในสีส่วนสว่างเพื่อแสดงความอมเหลืองออกมาให้ภาพตามระดับที่ต้องการ

ฮิสโตแกรมอัจฉริยะ (Interactive Histogram) และ สมดุลแสงขาว (White Balance)

จริงๆแล้วค่า 5 สเกลหลักในการกำหนดระดับการรับแสงไม่ใช่อะไรที่ต้องใส่ใจมากนักหากภาพมีน้ำหนักที่ดี จึงเป็นส่วนที่ให้อิสระในการปรับแต่งมากกว่า ซึ่งอย่างไรก็ตามค่าที่เห็นเป็นเพียงการกำหนดตัวแปรตั้งต้นที่ปรับเพิ่มเติมเองได้ตามความเหมาะสมของสภาพแสงให้ประยุกต์เข้ากับความเป็นดิจิตอล

สมดุลแสงขาวเองก็เป็นตัวแปรอิสระที่ทำให้ภาพในแม่แบบของสีที่มาจากโทนเคิร์ฟมีความหลากหลาย เมื่อเรากำหนดค่าสีตั้งต้นไว้ได้แล้วความยืนหยุ่นจาก RAW จะช่วยให้ค่าแสงในช่วงต่างๆมีความเป็นเอกลักษณ์ตามไปด้วย

ความคมชัด (Sharpening) และ ความชัดเจน (Clarity)

ฟิล์มสีบางตัวให้เอกลักษณ์ของแสงที่ฟุ้งฝ้า ทั้งนี้ปรับได้ด้วยการให้ Clarity มีค่าเป็นลบ ขึ้นอยู่กับค่า f ที่มาจากการกำหนดแสงวิ่งผ่านเลนส์ด้วย ส่วนค่าความชัดเจนเองให้พิจารณาจากความคมชัดเบื้องต้นของภาพเป็นหลัก

คลื่นสัญญาณรบกวน (Noise) และเม็ดเกรน (Grain Effect)

คลื่นสัญญาณรบกวนเราจะไม่ค่อยได้ใช้เนื่องจากว่าภาพโดยส่วนใหญ่หากยึดหลักการถ่ายภาพต้นฉบับมาให้ดีที่สุดค่า ISO ย่อมต่ำจนไม่เกิดปัญหาคลื่นสัญญาณรบกวนในไฟล์ภาพดิบอยู่แล้ว แต่ถ้าหากถ่ายภาพต้นฉบับมาไม่ดีก็ปรับลดแล้วพิจารณาลำดับต่อไปคือการใส่เม็ดเกรน

การใส่เม็ดเกรนใน Lightroom CC มีสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่ 3 ตัวแปรด้วยกัน นั่นคือค่าปริมาณของเม็ดเกรน (Amount) ที่จะเกิดขึ้นในภาพ, ขนาดของเม็ดเกรน (Size) และการกระจายตัวแบบไร้ระเบียบของเม็ดเกรน (Roughness) สามอย่างนี้ช่วยเพิ่มเอกลักษณ์ให้ภาพได้เป็นอย่างดี

ภาพต้นฉบับต้องรายละเอียดเคลียร์มาก่อน

สร้างเองด้วยเม็ดเกรน

การปรับค่าสีกล้องเบื้องต้น (Camera Calibration)

ส่วนนี้เป็นได้ทั้งตัวปรับจูนสีกล้องให้ได้ค่าหลัก หรือใช้ตกแต่งโทนภาพก็ได้แต่จะไม่สามารถเน้นหนักในโซนแสงแต่ละโซนได้ละเอียดเทียบเท่าเส้นเคิร์ฟ ดังความจริงที่ว่าพรีเซ็ตแบบเดียวกันเมื่อใช้กับภาพของกล้องที่มาต่างค่ายกันผลลัพธ์ย่อมไม่เหมือนกัน ทางที่ดีที่สุดควรทำแยกเอาไว้ว่าพรีเซ็ตนี้จะใช้กับกล้องค่ายไหนเพื่อความละเอียดในอีกระดับหนึ่ง หรือถ้าไม่ซีเรียสจะข้ามไปเลยก็ได้

สีที่ไม่ตรงกันเมื่อลองกล้องอื่น (Nikon Df)

เมื่อแก้เรียบร้อยแล้ว

ภาพจากพรีเซ็ต DozzDIY : Agfa Vista 200

คอลเลกชันนี้ถูกทำสีคละกันไปเนื่องจากมีภาพจากกล้องที่ถูกทดสอบไม่กี่รุ่น ลองดูแล้วเทียบกับภาพรถเอานะครับว่ามีความคล้ายคลึงมากน้อยแค่ไหน (มีการปรับเพิ่มเติมเนื่องจากว่ากล้องต่างกันนะครับ)


0 Comments

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า