Lightroom CC : การย่อภาพลงบน Facebook

การย่อภาพลงบนเฟซบุ๊กนับเป็นกรณีศึกษาที่ดีในการที่จะอธิบายให้ผู้เรียนทราบถึงการส่งออกไฟล์ภาพไปยังแหล่งต่างๆที่มีความต้องการขนาดที่ต่างกัน ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับขอบเขตของกลุ่มผู้ใช้งานขนาดหน้าจอที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย แล้วขนาดเท่าไหร่จึงจะครอบคลุมกลุ่มผู้ที่ชมภาพมากที่สุดเนื้อหาและการตั้งค่าคือสิ่งที่ผู้เรียนจะได้ไปจากบทเรียนนี้ครับ

สถิติความละเอียดหน้าจอที่นิยมในเดือน กรกฏาคม 2016

สาเหตุที่ผู้สอนยกตัวอย่างสถิติการสำรวจผู้ที่ใช้ความละเอียดหน้าจอขึ้นมานี้เหตุผลก็เพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้ทราบว่า ณ เวลานี้ความนิยมหน้าจอของโลกกำลังไปในทิศทางใด เพื่อที่จะทำให้การส่งออกภาพถ่ายไปยังแหล่งต่างๆได้ครอบคลุมทุกความละเอียดมากที่สุด หากไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์ของขนาด ซึ่งผลในทางสถิติจากข้อมูลผู้ใช้มีดังนี้stat2016resolution

ข้อกำหนดขนาดภาพถ่ายของ Facebook

พอดีว่าบทเรียนนี้กำลังพูดถึงการอัพโหลดขึ้นไปยัง Facebook ดังนั้นการเข้าไปดูกฏข้อบังคับหรือข้อแนะนำในการเลือกไฟล์ภาพเพื่ออัพโหลดขึ้นไปนั้นมีความเป็นไปได้ว่าจะไม่เหมือนกับที่อื่นอย่างเช่น Pinterest, Instagram, Tumblr และอื่นๆ ซึ่งข้อกำหนดของ Facebook มีอยู่ว่า…

ภาพถ่ายขนาดใหญ่ที่มีความเหมาะสม ด้านที่ยาวกว่าของภาพควรอยู่ที่ 2,048 พิกเซล และภาพขนาดเล็กที่ยังดูดี ด้านที่ยาวกว่าภาพควรอยู่ที่ 960 พิกเซล..

ด้านที่ยาวที่สุด” หมายความว่าหากเป็นภาพแนวนอนค่าความกว้างจะมากกว่าค่าความยาว และค่าความยาวจะมากกว่าค่าความกว้างในกรณีเป็นภาพแนวตั้ง เราจะไม่อัพโหลดภาพที่มีขนาดด้านยาวสุดที่ 960 พิกเซลเพื่อคุณภาพสูงสุดของภาพถ่ายหากถูกรับชมบนหน้าจอที่มีความละเอียดสูงอย่างจอเรติน่าครับ

Untitled-1

desktopFace

ขนาดที่ลดลงอย่างชัดเจนเมื่อลองเซฟภาพกลับมาดู

อัพโหลดที่คุณภาพสูงสุดทุกครั้ง

สำหรับ Facebook จะมีคำสั่งให้บีบอัดภาพของผู้เรียนมากราวๆเกือบ 90% ของขนาดไฟล์ที่อัพโหลดขึ้นไป เหตุผลง่ายๆที่ทำแบบนี้ก็คือใน 1 วันมีคนอัพโหลดภาพขึ้นบนสังคมออนไลน์ดังกล่าวมากกว่า 100 ล้านรูปต่อวัน การลดขนาดไฟล์ดังกล่าวช่วยลดภาระของทาง Facebook ได้มากมายมหาศาล (ฟังก์ชั่นนี้ครอบคลุมการอัพโหลดภาพแบบ PNG แล้ว)

ถ้าหากผู้เรียนพอสังเกตได้ในบริเวณที่มีการไล่สีของภาพถ่าย จะมีลักษณะเป็นปื้นๆ เช่น ริ้วของท้องฟ้า หรือการไล่สีในลักษณะต่างๆ เราไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้นอกเสียจากไปอัพโหลดภาพกับแหล่งเผยแพร่อื่นที่ไม่มีสคริปต์การบีบอัดไฟล์อย่าง 1x.com หรือ 500px.com เป็นต้น

จำนวนพิกเซลต่อ 1 นิ้ว (ppi)

มีผู้เรียนหลายท่านสงสัยว่าควรใช้ค่า ppi ที่เท่าไหร่กันแน่จึงจะเหมาะสม ค่า ppi (pixel per inch) หรือความหนาแน่นของพิกเซลใน 1 นิ้ว หมายถึงในความยาวทุกๆ 1 นิ้วจะมีเม็ดพิกเซลนับได้ 72 จุด สำหรับมาตรฐานจอภาพทั่วไปคือ 72ppi ส่วน 144ppi เป็นความละเอียดที่ดูได้คมชัดบนจอภาพเรติน่า ทั่วไปแล้วการกำหนดขนาดไว้ที่ 72 ppi นั้นก็เพียงพอเหมาะสมต่อการรับชม แต่ใครจะกันเหนียวไว้มากกว่านี้ก็ไม่ว่ากันครับ

resolution

กำหนดค่าการส่งออกอย่างถูกต้องที่ Lightroom CC

ไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะส่งออกไปยังเฟซบุ๊ก ดังนั้นการสร้างแม่แบบเอาไว้ใช้เพื่อที่จะได้ไม่ต้องกลับมาตั้งค่าใหม่ทุกครั้งจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เริ่มได้จากการเปิดหน้าต่างส่งออก (Export) หลังจากเลือกภาพที่ต้องการหรือตกแต่งเรียบร้อยแล้วให้ไปที่ File > Export หรือใช้คีย์ Control + Shift + E (win) | Command + Shift + E (mac)

exportTable

หน้าต่างการส่งไฟล์ภาพออกแบบคร่าวๆ

Export to : เราจะกำหนดพื้นที่ส่งออกหลักคือตำแหน่ง Desktop บนคอมพิวเตอร์ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวอยู่ภายในฮาร์ดดิสก์ของเราเอง ให้เลือก ที่ Export to > Hard Drive

Export Location : จะเป็นตำแหน่งย่อยหลังจากที่เราได้กำหนดตำแหน่งหลักเรียบร้อยแล้วให้หาตำแหน่ง Desktop แล้วไม่ต้องทำเครื่องหมายถูกที่ Put in Subfolder เพราะไม่ได้จะเอาไว้ในตำแหน่งโฟลเดอร์ย่อย และไม่ต้องทำเครื่องหมายถูกที่ Add to This Catalog ด้วย

existingFile

ถ้าไฟล์นั้นมีชื่ออยู่ในตำแหน่งที่ระบุแล้วจะให้ทำอะไร > เปลี่ยนชื่อใหม่, เขียนทับ หรือ ไม่ต้องส่งออก

File Naming : ส่วนของการจัดการชื่อไฟล์ ถ้าหากว่าต้องการพ่วงท้ายชื่อเอาไว้เพื่อจดจำว่าไฟล์นั้นๆจะเอาไปใช้กับอะไรก็ให้ตั้งคำพ่วงเอาไว้ก็ได้ อย่างผู้สอนจะชอบพ่วงท้ายชื่อไฟล์ด้วย “_fb” เพื่อให้เข้าใจว่าภาพดังกล่าวจะนำเอาไปใช้บนเฟซบุ๊กเท่านั้น

Video : ส่วนนี้เราไม่ยุ่งเกี่ยวกับวิดีโอและรหัสสัญญาณต่างๆ จึงจะไม่มีการพูดถึงในขณะนี้

File Setting : ที่ Image Format เลือก JPEG คุณภาพ 100% (เพราะยังไงก็โดนลดทอนอยู่แล้ว) และรูปแบบสีสำหรับการแสดงบนหน้าจอมาตรฐานทั่วโลก คือ sRGB (ส่วน File Size ถ้าเรากำหนด จะควบคุมคุณภาพไฟล์ไม่ได้)

Image Sizing : อย่างที่บอกว่าด้านที่ยาวที่สุดของภาพ ถ้าแนวนอนคือความกว้างแต่ถ้าเป็นแนวตั้งคือความยาว เราจึงต้องเลือก Long Edge ที่ 2048px ไว้เพื่อความสะดวก จะได้ไม่ต้องมาเลือกสลับไปสลับมาบ่อยๆ ส่วนตรง Resolution ตั้งไว้ที่ 72 หรือมากกว่า

fileNaming

กำหนดชื่อแบบที่ LR เตรียมให้ ไม่พอใจก็เลือก Edit เอง

filenameTemplate

กำหนดรูปแบบชื่อเอาเองไปเลย

Output Sharpening : การปรับคมให้เหมาะสมกับแหล่งส่งออก ถ้าไม่ปรับคมในกระบวนการแต่งภาพเลยให้เลือกแบบ Screen แต่ถ้าปรับคมเป็นอยู่แล้วส่วนนี้จะละไว้ก็ได้

Metadata : ชุดข้อมูลลิขสิทธิ์อัตโนมัติ สำหรับการส่งออกภาพแบบฝังค่าคำเฉพาะเช่นกรณีส่งขายที่ Stock

Watermarking : ส่วนของการจัดการลายน้ำ ถ้ามีก็เลือกแม่แบบลายน้ำที่ตั้งค่าเอาไว้ใส่เข้าไปได้เลย

Post-Process : ขั้นตอนที่รับช่วงต่อหลังจากส่งออกภาพ ว่าจะใช้โปรแกรมอะไรมารับต่อไปหรือไม่ เช่น Photoshop ซึ่งถ้าไม่ก็ไม่ต้องเลือกครับ

fileSttingImgSize

ขนาดและคุณภาพไฟล์กำหนดที่นี่ครับ

outputmetadatawatermarkpostprocess

ส่วนนี้กำหนดประบวนการช่วงท้ายอย่างการปรับคม, ข้อมูลลิขสิทธิ์, ลายน้ำ และ การตกแต่งที่รับช่วงต่อ

เซฟแม่แบบไว้ใช้ในครั้งต่อไป

ถ้าหากว่าต้องส่งออกไปที่ Facebook บ่อยๆแล้วไม่อยากกลับมาตั้งค่าซ้ำก็ให้กดที่ Add ตรงส่วนของแม่แบบด้านซ้ายล่าง แล้วกำหนดชื่อ Folder ว่า Social Networks โดยที่มีคำสั่งแม่แบบภายในว่า Facebook หรือเอาตามที่เข้าใจไว้ก็ได้ เพื่อเรียกการตั้งค่าส่งออกดังกล่าวกลับมาใช้ได้อย่างสะดวก

newFolder

ตรง Folder เลือก > New Folder ก่อน เพื่อที่จะตั้งชื่อ Folder

newPreset

เมื่อตั้งชื่อโฟลเดอร์เสร็จให้ตั้งชื่อแม่แบบไว้ใช้ได้เลย

ทั้งหมดนี้เป็นการทำความเข้าใจการส่งออกทั้งหมดของ Lightroom ซึ่งอาจจะไม่ได้พูดกันถึงแม่แบบลายน้ำและข้อมูลลิขสิทธิ์อัตโนมัติ รวมไปถึงขั้นตอนการกำหนดชื่อไว้อย่างเป็นระเบียบ ไว้จะมาพูดถึงกันต่อในหลักสูตร Lightroom สำหรับผู้เรียนพื้นฐานที่ลงทะเบียนครับ เจอกันบทเรียนหน้าครับ ขอให้สนุกกับการแต่งภาพ Lightroom

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า