Lightroom CC : พฤติกรรมของพรีเซ็ตและวิธีการใช้งาน

พรีเซ็ตใน Lightroom CC ที่ถูกสร้างขึ้นแต่ละตัวต่างมีวัตถุประสงค์จำเพาะในการใช้งานสำหรับภาพที่ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ดังนั้นการจะบอกว่าภาพนั้นภาพนี้ควรใช้พรีเซ็ตอะไรจึงไม่มีคำตอบที่ตายตัว วิธีที่ง่ายที่สุดคือการแยกแยะพรีเซ็ตโดยแบ่งออกตามพฤติกรรมสเกลซึ่งจะมีประโยชน์มากในการจดจำและเลือกใช้งาน

แม่แบบชุดสี หรือ พรีเซ็ต ใน Lightroom CC คืออะไร?

แม่แบบชุดสี หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า ‘พรีเซ็ต’ สำหรับโปรแกรม Lightroom CC นั้น คือชุดคำสั่งอัตโนมัติที่ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบไฟล์ .lrtemplate เพื่อจดจำการกำหนดค่าต่างๆที่ผู้ใช้งานเรียกใช้บ่อยโดยไม่ต้องกลับมาตั้งค่าสเกลการทำงานซ้ำๆ ไฟล์ดังกล่าวสามารถส่งออกเพื่อเผยแพร่แจกจ่ายให้กับผู้ใช้งานโปรแกรม Lightroom CC ได้ทั้งหมด เราจึงพบกับแหล่งที่นำเสนอพรีเซ็ตมากมายซึ่งมีทั้งแบบฟรีและไม่ฟรี

พาเนลพรีเซ็ตอยู่ทางด้านซ้ายของโมดูล Develop

การนำเข้าพรีเซ็ตลงในโปรแกรม

ขณะที่กำลังอยู่ในโมดูล Develop ให้มองหาพาเนล Presets ซึ่งอยู่ตรงแท็บทางด้านซ้ายของโปรแกรม เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังบริเวณใดๆแล้วคลิกขวา จากนั้นเลือก Import แล้วชี้ไปยังตำแหน่งที่เก็บไฟล์พรีเซ็ตเอาไว้เพื่อนำเข้ามายังโปรแกรม

การส่งออกหรือนำไปใช้ที่อื่น

ทำได้สองทางคือเลือกเฉพาะพรีเซ็ตนั้นๆเพื่อส่งออกหรือจะส่งออกแบบเข้าไปยังแหล่งเก็บพรีเซ็ตทั้งโฟลเดอร์ก็ได้ วิธีแรกให้คลิกขวาที่ชื่อของพรีเซ็ตที่กำหนดเอาไว้ในพาเนลพรีเซ็ต จากนั้นคลิกขวาที่ชื่อพรีเซ็ตแล้วเลือก Export เพื่อส่งออกเฉพาะไฟล์นั้น หรือวิธีที่สองจะเลือก Show in Finder (mac) เพื่อไปยังแหล่งเก็บพรีเซ็ตนั้นๆ

การจัดระเบียบพรีเซ็ตในโปรแกรม Lightroom CC

เพื่อความง่ายในการแยกประเภทในการเลือกใช้งานพรีเซ็ตที่ส่วนของพาเนลพรีเซ็ตทางด้านแท็บซ้ายของ Lightroom CC ในส่วนของโมดูล Develop นั้นผู้เรียนสามารถกำหนดโฟลเดอร์พรีเซ็ตแยกได้ตามความชอบหรือให้ง่ายต่อการจดจำ ทำได้ดังนี้

อันดับแรกให้สร้างโฟลเดอร์โดยการคลิกขวาแล้วเลือก New Folder แล้วกำหนดชื่อขึ้นมาก่อน เช่น โฟลเดอร์ดังกล่าวต่อไปนี้จะมีไว้บันทึกพรีเซ็ตประเภทขาวดำเท่านั้นก็ทำการสร้างโฟลเดอร์แล้วอาจจะระบุชื่อที่เกี่ยวข้องกับพรีเซ็ต เช่น B&W Presets แล้วจึงค่อยสร้างพรัเซ็ตเพื่อเก็บไว้ในโฟลเดอร์

การใช้งานพรีเซ็ต

การใช้งานพรีเซ็ตในโปรแกรม Lightroom CC แบ่งการทำงานออกเป็น 2 ลำดับขั้นตอน กล่าวคือขั้นตอนแรกจะเป็นการเตรียมไฟล์ภาพที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับพรีเซ็ตนั้นๆ และขั้นตอนการตกแต่งเพิ่มเติมซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนจบงานเพื่อส่งออก

ตัวอย่างภาพชุดตั้งต้นที่มีสภาพแสงไม่แรงเกินไป

การเตรียมไฟล์ภาพ

ไฟล์ที่ดีที่สุดสำหรับคำแนะนำของ DozzDIY ในการใช้งานพรีเซ็ตทุกประเภทให้ดูจากแสงในภาพเป็นหลัก โดยที่ภาพวัตถุดิบที่ดีควรมีแสงที่นุ่มอยู่ในภาพเสมอ (ไม่ทุกครั้งไป) หรือกล่าวง่ายๆก็คือการบันทึกภาพตั้งต้นมาให้ดีที่สุดทุกครั้ง เพราะภาพถ่ายที่ดีจะทำให้การทำงานตกแต่งใช้เวลาลดลงและมีคุณภาพที่ดี

การปรับแต่งเพิ่มเติม

ไม่มีพรีเซ็ตไหนให้ความสมบูรณ์แบบ 100% กับภาพทุกภาพโดยไม่มีการตกแต่งเพิ่มเติม เพราะผู้สร้างจะรู้ได้อย่างไรว่าโปรไฟล์ของภาพดังกล่าวนั้นจะตรงกับสเกลพรีเซ็ต ยกตัวอย่างเช่นไฟล์กล้องจาก Nikon กับ Sony ที่สีไม่เหมือนกัน ไฟล์จากพรีเซ็ตที่ได้ก็ต่างกันแล้ว ยังไม่รวมเรื่องความคมชัดหรือมิติส่วนต่างๆของภาพอีก

ประเภทของพรีเซ็ต

ผู้สอนได้ทำการแบ่งประเภทของพรีเซ็ตออกตามลักษณะพฤติกรรมการทำงานซึ่งในประเภทดังกล่าวอาจจะเกี่ยวข้องกันมากกว่า 2 กรณี ผู้ใช้จะต้องพิจารณาแยกแยะด้วยตัวเองว่าพรีเซ็ตดังกล่าวนั้นให้ลักษณะที่โดดเด่นในด้านใดเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ

แบ่งตามประเภทของความเปรียบต่าง

พรีเซ็ตประเภทความเปรียบต่างสูง

พรีเซ็ตที่ใช้แล้วภาพจะมีความเข้มข้นของสีมากขึ้น มีผลทำให้รายละเอียดของภาพขยายขอบเขตของช่วงแสงซึ่งมีความเสี่ยงที่จะทำให้รายละเอียดหลุดออกในด้านใดด้านหนึ่งของฮิสโตแกรม ข้อดีของพรีเซ็ตคือการเพิ่มความรุนแรงให้ภาพ

พรีเซ็ตประเภทความเปรียบต่างต่ำ

ผลลัพธ์ของพรีเซ็ตกลุ่มดังกล่าวจะตรงกันข้ามกับพรีเซ็ตความเปรียบต่างสูงทั้งหมด ไฟล์ภาพดิบที่มีคอนทราสต์สูงจะสามารถใช้งานได้ค่อนข้างดี รายละเอียดในภาพจะเพิ่มเข้ามาพร้อมๆกับความซีดของสีในภาพที่ลดลง

แบ่งตามประเภทของฟิลเตอร์เอฟเฟก

พรีเซ็ตประเภทฟิล์มเกรน

การใช้สเกลเม็ดเกรนในภาพมักจะเหมาะกับภาพที่ไม่มีเกรนหรือน้อยซ์แล้วมาใส่เพิ่มเอาทีหลัง ถึงอย่างไรก็ตามก็ต้องมีการปรับแต่งเพิ่มเติมอยู่ดีตามขนาดไฟล์ภาพเพื่อความเหมาะสมด้วย

พรีเซ็ตประเภทฟิลเตอร์เพิ่มเติม

เป็นพรีเซ็ตที่เหมาะสำหรับภาพที่มีทิศทางเหมาะสมกับตำแหน่งฟิลเตอร์เท่านั้น เช่นพรีเซ็ตที่บันทึกค่าของฟิลเตอร์ประเภทแถบสีเพื่อลดความสว่างของท้องฟ้า หรือแสงสว่างแบบวงกลมทางด้านขวา เป็นฟิลเตอร์ที่เพิ่มสิ่งเกินความจำเป็นดังนั้นต้องพิจารณาและแก้ไขให้ดีๆ

พรีเซ็ตประเภทลักษณะเส้นเคิร์ฟ

มีหลายประเภทรวมไปถึงแบบคอนทราสต์ด้วย ยกตัวอย่างเส้นการกำหนดเส้นเคิร์ฟแบบเฟดภาพให้ดูเก่าก็ยังแทรกการมีคอนทราสต์สูงเพื่อเรียกความสนใจในภาพกลับคืนมา นอกจากนี้ยังพลิกแพลงระดับสูงด้วยการใช้ควบคู่กับแชนเนล

พรีเซ็ตประเภทพู่กันปรับแต่ง

เนื่องจากเป็นการปรับแต่งด้วยพู่กันจึงต้องอาศัยความละเอียดในการทำงานค่อนข้างมาก พรีเซ็ตจึงเป็นประเภทพู่กันแยกออกไปเลยมากกว่าไม่เกี่ยวกับพาเนลพรีเซ็ต

แบ่งตามลักษณะการควบคุมสเกล

พรีเซ็ตประเภทควบคุมทั้งหมด

หมายถึงพรีเซ็ตที่ไม่สนใจว่าเบื้องต้นจะถูกปรับแต่งมาเป็นอย่างไร เมื่อกดใช้อล่วทุกสเกลจะถูกรีเซ็ตทิ้งหมด วิธีการใช้งานพรีเซ็ตดังกล่าวจึงควรกดใช้งานก่อนปรับแต่งแก้ไข

พรีเซ็ตประเภทควบคุมบางอย่าง

ผู้ใช้งานควรทราบประเภทการตกแต่งแก้ไขของพรีเซ็ตประเภทนี้ให้ดีเนื่องจากว่าจะทำการรื้อแก้ไขให้ในกลุ่มสเกลที่กำหนดไว้เท่านั้น โดยปกติมักมาเป็นชุดแบบลำดับขั้นตอนการทำงานมากกว่า

เพราะมีผู้ใช้งานมากมายที่ไม่เข้าใจว่าพรีเซ็ตนั้นทำงานอย่างไรหรือแก้ไขอย่างไรให้เข้ากับงานของตัวเอง จึงมักมีปัญหาเวลาที่ตัวเองต้องใช้งานจริงขึ้นมาจึงไม่เข้าใจว่าทำไมพรีเซ็ตให้ผลลัพธ์ไม่ดีดังโฆษณา หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้เรียนไม่มากก็น้อยนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

การใช้งาน Masking Tools ฉบับสมบูรณ์

บทความสอนการใช้งานเครื่องมือกลุ่ม Masking Tools ทุกตัวอย่างละเอียดในแบบของ DozzDIY ที่กระชับและเข้าใจง่ายและครอบคลุมการเลือกพื้นที่ทุกรูปแบบ

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า