เริ่มเรียน Lightroom อย่างไรให้เป็นเร็วที่สุด?

ถึงผู้สอนจะคลุกคลีกับโปรแกรม Adobe Lightroom มาตั้งแต่ปี 2014 แต่ก็ไม่เคยลืมวันแรกที่โหลดโปรแกรมแบบทดลองใช้จากอินเทอร์เน็ตแล้วเริ่มใช้งาน ใครก็บอกว่าการทำความรู้จักกับโปรแกรมอะไรสักอย่างที่มีระบบการทำงานต่างจากหน้าจอที่คุ้นชินเป็นฝันร้ายชัดๆ… (ใช่แล้วล่ะ ผู้สอนเองไม่อยากให้เป็นเหมือนอย่างที่เจอมาแน่ๆ) ดังนั้นบทความทั้งหมดนี้จึงเป็นคอนเซ็ปต์ในการเรียน Lightroom ตามรูปแบบฉบับของ DozzDIY ที่จะทำให้คนที่หลงทิศหลงทางกับโปรแกรมนี้ลุกขึ้นมาใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วภายในเวลาไม่นานครับ

ต้องรู้ก่อนนะว่า JPEG กับ RAW ต่างกันอย่างไร..

JPEG Format : ไฟล์ภาพที่ใช้โยนกันไปมาระหว่างคอมพิวเตอร์หรือบนโลกอินเทอร์เน็ตนั้นมีนามสกุลหรือเรียกประเภทไฟล์ภาพนี้ว่า JPEG ไฟล์นามสกุลนี้มีขนาดเล็กเพราะถูกตัดรายละเอียดของเม็ดสีออกไปมากมาย (แบบที่มือใหม่ทั้งหลายไม่ทันได้สังเกต) ข้อดีคือนำไปใช้ได้ทันทีหรือสั่งพิมพ์เลยก็ได้ แต่ด้วยความที่มันพร้อมใช้แล้วก็เลยไม่เหมาะที่จะเอาไปตกแต่งภาพนัก

RAW Format : ไฟล์ภาพดิบที่บรรจุข้อมูลอัดแน่นของแสงและศักยภาพทั้งหมดที่กล้องถ่ายรูปดิจิตอลจะเก็บเอาไว้ได้ (แต่ยังไม่เผยออกมาจนกว่าจะเอาไปแต่ง) เป็นไฟล์ที่ไม่สามารถเปิดดูหรือแชร์ไปยังโลกออนไลน์ได้ทันที ต้องเอาไปปรับแต่งหรือแปลงให้เป็นนามสกุลที่แลกเปลี่ยนกันได้ก่อน ไฟล์ภาพดิบนี้มีความยืดหยุ่นสูงมาก ในโปรแกรม Lightroom เราจะมาใช้ไฟล์นี้ในการเรียนครับ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมควรถ่ายภาพเป็นไฟล์ RAW

 

rawjpeg

รูปแบบการจัดเก็บและความเข้าใจเรื่องแคตตาล็อกของ Lightroom

Adobe Lightroom เป็นโปรแกรมที่เอาไว้ใช้จัดการเก็บไฟล์รูปภาพสุดรักให้เป็นระเบียบ พร้อมๆกับส่วนปรับแต่งแก้ไขที่ทรงประสิทธิภาพ เรียกได้ว่าแม้แต่ Photoshop ถ้าจะทำให้ได้แบบนี้อาจจะต้องผนึกกำลังเข้ากับ Adobe Bridge แถมด้วยการอัพเดทปลั๊กอิน Camera RAW ที่หน้าตาไม่ได้เริ่องได้ราวเข้าไปอีก (ถ้าไม่รู้จักโปรแกรม Photoshop ก็ข้ามๆไปนะ 555)

การทำงานของโปรแกรมดังกล่าวนี้จะต้องมีการสร้างไฟล์ชนิดหนึ่งขึ้นมาจดจำข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ เรียกว่า ‘แคตตาล็อก’ ไฟล์ที่ว่าเปรียบเสมือนฐานข้อมูลที่จดจำการเชื่อมโยงว่าไฟล์ภาพต้นฉบับจริงๆนั้นถูกเก็บอยู่ที่ไหนบ้าง เรียกได้ว่าทำงานอยู่ตลอดเวลาที่เรานั่งทำงานกับโปรแกรม Adobe Lightroom เลยล่ะ

ดังนั้นการเริ่มต้นการทำงานกับโปรแกรมดังกล่าวผู้ใช้จะได้ตั้งชื่อแคตตาล็อกนี้ก่อนเป็นอันดับแรก

importingScreen

ขั้นตอนที่ 1 : รู้ที่มาที่ไปของภาพก่อน

ที่มาที่ไปของภาพที่ผมกำลังกล่าวถึงนั้นมีความหมายโดยรวมทั้งระบบของภาพที่จะถูกส่งไปยังแหล่งจัดเก็บ และภาพตัวอย่างแสดงการแจกแจงว่า ‘ภาพมาจากไหน’ > ‘ใช้กระบวนการอะไรระหว่างทำการส่ง’ > ‘นำไปไว้ที่ไหน’

ยกตัวอย่างเช่นเมื่อมีการบันทึกภาพ ภาพทั้งหมดจะถูกบันทึกลงเมมโมรีการ์ดในกล้อง ดังนั้นเมื่อนำมาเสียบกับคอมพิวเตอร์ผ่าน Adobe Lightroom จึงต้องทำการระบุว่าจะใช้แหล่งที่มาเป็นเมมโมรี่การ์ด และขึ้นตอนต่อมานั้นเมื่อภาพทั้งหมดปรากฏในโปรแกรมแล้วจึงดำเนินการคัดภาพเบลอทิ้งไป และเลือกรูปแบบการคัดลอกไปยังตำแหน่งเป้าหมาย

แหล่งจัดเก็บสุดท้ายของผมเป็นฮาร์ดดิสก์ภายนอก เพราะถ้าหากวันหนึ่งคอมพิวเตอร์มีพื้นที่จัดเก็บไม่พอการจัดการแบบนี้จะต้องเป็นประโยชน์อยู่แล้ว ดังนั้นวางแผนให้รอบคอบนะครับ อย่างงกับการจัดเก็บและโยกย้ายไฟล์ล่ะ

fileTransfer

ขั้นตอนที่ 2 : แสดงความเป็นเจ้าของภาพทุกครั้ง

เรื่องของลิขสิทธิ์ภาพนั้นไม่ว่าใครก็ควรเอาจริงเอาจังกับสิ่งนี้ครับ เพราะไม่แน่หรอกว่าบางทีเราอาจจะไปเห็นภาพของตัวเองโผล่หราอยู่กลางเว็บไซต์ใครเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ สิ่งที่ต้องศึกษาต่อจากนี้ได้แก่การบันทึกข้อมูลลิขสิทธิ์ลงในภาพถ่ายให้เรียบร้อยพร้อมกับคิดถึงวิธีการปกป้องสิทธิ์ต่างๆ เช่นกำหนดการฝังข้อมูลลงไปทุกครั้งเมื่อนำเข้าภาพเพื่อที่จะได้ไม่ต้องมาเหนื่อยนั่งบันทึกบ่อยๆ

นอกจากนี้ก็ยังมีการวางลายน้ำลงไปในภาพถ่าย ส่วนตัวผมเห็นว่าลายน้ำนั้นดีที่สุดควรจะเป็นลายน้ำที่ใส่ลงไปแล้วทำให้ภาพถ่ายดูดีขึ้น พิถีพิถันสักหน่อยคงไม่เหลือบ่ากว่าแรงนะครับ

ข้อดีของการฝังลิขสิทธิ์ลงไปในภาพถ่ายนั้น เมื่อมีการฟ้องร้องเพื่อดำเนินคดีตามกฏหมายหรือมีการไต่สวนถึงผู้เป็นเจ้าของภาพที่แท้จริงข้อมูลทั้งหมดนั้นจะช่วยเหลือเราได้ แต่ถ้าภาพๆนั้นถูกลบข้อมูลดังกล่าวออกไปล่ะ? การเก็บต้นฉบับ RAW File ก็ยังเป็นวิธีการสุดท้ายที่ดีที่สุดครับ

 

metadata

ขั้นตอนที่ 3 : จัดระเบียบภาพถ่ายให้จดจำได้ง่าย

สมมติว่าวันหนึ่งผมออกไปถ่ายภาพมา 100 ภาพ เป็นไปได้ว่าภาพทั้งหมดอาจจะต้องมีกลุ่มที่เกี่ยวข้องกันอยู่ด้วย เช่นผมถ่ายภาพในจังหวัดพิษณุโลกและมีสถานที่ต่างๆที่ได้ไปถ่ายมา การคัดแยกว่าภาพใดเป็นของที่นั่นที่นี่จึงต้องทำอย่างเป็นระบบ คุณสมบัติในเรื่องการจัดระเบียบภาพถ่ายอย่างคอลเลคชั่นจึงต้องเข้ามารับหน้าที่นี้ เรียกว่าเป็นระบบที่ช่วยให้ช่างภาพไม่ต้องมาปวดหัวกับข้อมูลภาพถ่ายมหาศาลในอีกสองสามปีให้หลัง

 

collection

ขั้นตอนที่ 4 : เรียนรู้ทุกสเกลการทำภาพทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ

การแต่งภาพ Lightroom ให้จบนั้นทำได้ง่ายมาก แต่มีคนน้อยกว่านั้นที่รู้จักการใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วและเข้าใจอย่างแท้จริง ประสบการณ์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทบทวนข้อบกพร่องในการทำภาพ เรียนรู้สเกลไปพร้อมๆกับการฝึกฝนอย่างหนักเท่านั้นจึงจะช่วยขัดเกลาฝีมือทำภาพให้ดีและทำงานในครั้งต่อไปได้รวดเร็วขึ้นหลายเท่าตัว

imaHistogram

ขั้นตอนที่ 5 : การส่งออกสู่แหล่งภายนอก

Output สุดท้ายทำให้ช่างภาพหลายคนตกม้าตายตอนจบมาเยอะแล้ว สิ่งที่ต้องเรียนรู้ไม่แพ้การทำภาพเลยนั่นคือการรักษาคุณภาพของภาพไปจนกระบวนการสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็นการรักษารายละเอียดของภาพเมื่อต้องย่อขนาด หรือการลดคลื่นสัญญาณรบกวนจากภาพต้นฉบับ รวมไปถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสีสำหรับงานพิมพ์และสเปซสี

ยกตัวอย่างเช่นการย่อภาพลงสู่แหล่งต่างๆบนโลกออนไลน์ ผู้ใช้ก็ควรรู้ว่ามีข้อกำหนดของทางแหล่งนั้นไว้อย่างไร ควรกำหนดขนาดเท่าไรจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด การเซฟออกไปสู้แหล่งภายนอกนั้นเป็นไปได้ควรเซฟที่คุณภาพสูงสุดเพราะทำใจได้เลยว่าจะต้องถูกลดทอนอยู่แล้วเมื่ออัพโหลดภาพขึ้นไป

resizeforFB

ขั้นตอนที่ 6 : เรียนรู้ส่วนอื่นๆเพิ่มเติมในภายหลังเมื่อมีโอกาส

เมื่อเรียนรู้ส่วนต่างๆที่จำเป็นที่สุดหมดแล้วก็มาถึงเวลาที่จะต้องเก็บเกี่ยวความรู้เพิ่มเติม เพราะ Lightroom มีคุณสมบัติมากมายให้ได้ใช้งาน ทั้งสะดวกและมีประโยชน์เช่นการจัดทำอัลบั้มภาพ, สไลด์โชว์แบบเร่งด่วนเพื่อแสดงพอร์ทให้กับลูกค้าหรือเอาไว้โชว์เพื่อนๆ หรือแม้แต่การกำหนดพิกัดให้กับภาพถ่ายและการแชร์ไปยังแหล่งต่างๆได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องไปเข้าเว็บไซต์เลยก็ยังได้

 

11046879_1181257455222688_2296964412025176557_o

และนี่เป็นคอนเซ็ปต์การเรียนรู้โปรแกรม Adobe Lightroom CC อย่างง่ายที่จะช่วยให้การเรียนรู้ของเราไม่หลงทิศหลงทาง หรือมัวไปเสียเวลากับสิ่งที่ไม่จำเป็น การโฟกัสในสิ่งที่ต้องใช้งานจริงๆก่อนแล้วค่อยเก็บส่วนอื่นที่จำเป็นเพิ่มเติมทีหลังนั้นเป็นวิธีที่ผู้สอนใช้ในการเรียนรู้ทุกโปรแกรมไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นโปรแกรมนี้โปรแกรมเดียวด้วยนะ

 

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

เราจะตรวจสอบจุดล้นของภาพไปทำไม?

อุปกรณ์รับชมภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นหน้าจอหรือกระดาษต่างก็มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดสีสันรวมไปถึงจุดสว่างที่สุดไปยังจุดมืดที่สุดในภาพแตกต่างกัน การแสวงหาความถูกต้องที่สุดในการมองเห็นแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หาความเป้นมาตรฐานได้ยาก แต่เราก็ยังพอรับรู้ได้ว่าอะไรคือขีดสุดของรายละเอียดที่กำลังปรากฏในขณะนั้นก่อนจะนำไปสู่อุปกรณืหรือแหล่งเผยแพร่อื่น ดังที่เรียกว่า จุดล้นของภาพ หรือ Clipping Point ใน Adobe Camera RAW นี้

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า