ฮิสโตแกรมของภาพถ่าย

ฮิสโตแกรม เป็นแผนภูมิแสดงแท่งกราฟชนิดหนึ่งที่ใช้วัดความถี่ของสิ่งที่เรากำลังสนใจ ฮิสโตแกรมของภาพถ่าย จึงเป็นแผนภูมิกราฟที่ใช้วัดความถี่ของเม็ดสีในรูปแบบของปริมาณพิกเซลที่ปรากฏในภาพ ประโยชน์จากแผนภูมิดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถคาดเดาพฤติกรรมของภาพนั้นๆได้ รวมไปถึงการดูรายละเอียดที่ปรากฏอยู่ในภาพว่าเป็นไปตามต้องการหรือไม่ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการ แต่งภาพ Lightroom

ความเข้าใจโดยง่ายเกี่ยวกับฮิสโตแกรมของภาพถ่าย

ภาพถ่ายภาพหนึ่งประกอบด้วยเม็ดสีกระจายตัวไปตามตำแหน่งต่างๆจนก่อเกิดให้เป็นภาพถ่าย ซึ่งเมื่อนำมาจัดเรียงกันภายใต้ข้อกำหนดของแผนภูมิ โดยที่เม็ดสีที่มีความสว่างต่ำสุดจะอยู่ทางด้ายซ้ายไล่ไปจนถึงเม็ดสีที่มีความสว่างสูงสุดจนเป็นสีขาวจะอยู่ทางด้านขวา (แกน X คือ ความเข้มข้นพิกเซล) และความสูงของข้อมูลนั้นหมายถึงปริมาณความหนาแน่นของพิกเซล (แกน Y คือ ปริมาณของพิกเซล) 

ฮิสโตแกรมของภาพถ่ายโมโนโครม

จากภาพตัวอย่างเป็นภาพที่มีช่องสี่เหลี่ยมแบบ 4×4 ซึ่งถ้านับสี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่เป็นสีขาวและสีดำแล้ว จะได้สีขาวจำนวน 12 ช่องและสีดำ 4 ช่อง เมื่อนำมาแสดงให้อยู่ในรูปของฮิสโตแกรมแบบ 1 บิต (สองยกกำลัง 1) ด้วยคำจำกัดความด้านบนก็จะได้ดังภาพ

ทีนี้ลองเปลี่ยนเป็นตัวอย่างที่ยากขึ้นมาอีกนิด เราจะยังคงอยู่กับตารางแบบ 4×4 เหมือนเดิม แต่คราวนี้สิ่งที่เปลี่ยนไปคือจะมีสีที่อยู่ระหว่างสีดำกับสีขาว อย่างสีเทาดำและสีเทาขาวเพิ่มขึ้นมา กำหนดให้ภาพตารางนี้มีลักษณะการแสดงผลแบบ 8 บิต (2 ยกกำลัง 8 เท่ากับ 256 คือ 0-255 ไล่จากดำไปขาว) ก็จะได้ภาพดังตัวอย่าง (หมายเหตุ : มีสีที่ไม่ได้แสดงอยู่ในช่วงด้วยไม่ต้องงงนะ)

ฮิสโตแกรมของภาพถ่ายสี

แสงในธรรมชาติประกอบไปด้วยแม่สีแสงสามแม่สีด้วยกัน ได้แก่ แดง, เขียว และน้ำเงิน แต่ละแม่สีแสงเมื่อแปลงให้อยู่ในลักษณะภาพขาวดำ (ที่กำหนดโดยสีขาวหมายถึงมีการปะปนของแม่สีแสงในส่วนนั้น และสีดำหมายถึงไม่มีแม่สีแสงในส่วนนั้น) การแสดงฮิสโตแกรมของแม่สีแสงในแต่ละแม่สีแสงจึงต้องแยกออกเป็นสามส่วนด้วยกันดังตัวอย่าง

การวิเคราะห์ฮิสโตแกรมของภาพถ่ายโมโนโครม

ฮิสโตแกรมของภาพความเปรียบต่างต่ำ และ ความเปรียบต่างสูง

แนวทางการวิเคราะห์ฮิสโตแกรมจะเน้นไปในการมองตามแกนของฮิสโตแกรมซึ่งวิเคราะห์ได้ 4 แนวทาง ดังนี้

1. จำนวนรวมของพิกเซล (The Total Number of Pixel) : วิเคราะห์ว่าจำนวนทั้งหมดของพิกเซลที่ปรากฏในภาพมีแนวโน้มเป้นอย่างไรในแต่ละช่วงสเกลของความเข้มพิกเซล

2. ความสว่าง (Brightness) : วิเคราะห์ถึงความสมบูรณ์ของความสว่างที่ปรากฏในภาพตามปริมาณพิกเซลที่แสดงผลออกมาผ่านกราฟฮิสโตแกรม

3. ความเปรียบต่าง (Contrast) : วิเคราะห์ถึงน้ำหนักปริมาณพิกเซลในช่วงสว่างและช่วงมืดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงพร้อมๆกัน

4. ปฏิกิริยาความอิ่มตัวของสี (Saturation Effects) : วิเคราะห์ส่วนล้นของความอิ่มตัวสีในช่วงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพุ่งขึ้นของกลุ่มสีที่อาจก่อให้เกิดการล้นอย่างมีนัยสำคัญ

การใช้ประโยชน์จากความรู้เกี่ยวกับฮิสโตแกรมของภาพถ่าย

ฮิตโตแกรมของภาพถ่ายนั้นมีประโยชน์ในระบบการถ่ายภาพอย่างมาก เพราะจะช่วยให้ผู้บันทึกภาพได้กำหนดหรือควบคุมพฤติกรรมภาพให้เป็นไปตามต้องการ อีกทั้งยังช่วยในการคาดเดาพฤติกรรมต่างๆของภาพหรือเฝ้าระวังส่วนที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นในภาพได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

การถ่ายภาพ

กล้องถ่ายภาพโดยส่วนใหญ่ สามารถกำหนดให้ส่วนเครื่องมือช่วยเหลือหน้าจอระหว่างการบันทึกภาพนั้นมีฮิสโตแกรมปรากฏได้ด้วย ส่วนนี้จะช่วยให้ผู้บันทึกภาพตรวจสอบจุดของพิกเซลที่สว่างล้นไปทางด้านซ้ายหรือด้านขวา หรือความหนักเบาและอารมณ์ของภาพอันจะเกิดขึ้นได้และจัดการโดยการชดเชยได้แบบทันทีทันใด

การตกแต่งภาพ

ทักษะส่วนหนึ่งนอกเหนือไปจากการใช้เครื่องมือได้อย่างคล่องแคล่ว การสังเกตพฤติกรรมของกราฟฮิสโตแกรมนั้นจะช่วยให้ภาพถ่ายเป็นไปในทิศทางที่ผู้ตกแต่งต้องการได้ง่าย อีกทั้งยังใช้ตรวจสอบได้ว่าภาพที่บันทึกมานั้นมีส่วนใดต้องจัดการเพิ่มเติม​

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นอย่างไร?

ปัจจัยชี้วัดว่าช่างภาพใช้รูปของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับหรือกลเม็ดต่างๆที่ได้ศึกษามา บทความนี้จะได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของศิลปศาสตร์สาขาการถ่ายภาพนิ่งในมุมของของกลไกการเล่าเรื่องที่ผลักดันด้วยวิทยาศาตร์เพื่อชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วองค์ความรู้นั้นท้ายที่สุดมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมด

แนวคิดการแต่งภาพ ตอนที่ 02/99

แนวคิดในกระบวนการตั้งแต่เริ่มถ่ายภาพไปจนถึงการตกแต่งภาพถ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายโดยจะกล่าวถึงในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้นอย่างง่าย

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า