หลักคิดการตกแต่งภาพให้เหมือนกล้องฟิล์ม

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าถึงแม้เราจะอยู่ในยุคที่กล้องถ่ายภาพดิจิตอลมีประสิทธิภาพที่สูงมากกว่าสามสี่ปีที่แล้วอย่างเทียบไม่ติด แต่ก็ยังมีคนกลุ่มหนึ่งยังคงเล่นกล้องฟิล์ม นั่นอาจจะเพราะว่าเสน่ห์ของการใช้งานและภาพที่ได้ซึ่งมีรายละเอียดและเอกลักษณ์ที่ผู้ที่หลงรักมันเท่านั้นจึงจะเข้าใจ ในบทเรียนนี้เราจะมาจำแนกกันว่าถ้าอยากตกแต่งภาพถ่ายให้เหมือนฟิล์มจะต้องทำอย่างไรและต้องมีความรู้เรื่องใดกันบ้าง

มาดูภาพที่ได้จากกล้องฟิล์มกันก่อน

ก่อนที่เราจะทำภาพให้คล้ายกับภาพที่ได้จากกล้องถ่ายภาพฟิล์มนั้น ผู้เรียนจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจถึงเอกลักษณ์ของภาพถ่ายฟิล์มเสียก่อนโดยการหาดูภาพถ่ายตามหนังสือหรือเว็บไซต์ทั่วไปที่มีอยู่อย่างมากมาย จากนั้นเลือกภาพที่ให้ลักษณะโทนสีที่ชื่นชอบมาสักหนึ่งภาพ แล้วค่อยจับรายละเอียดว่ามีส่วนใดที่สามารถนำมาถอดเป็นขั้นตอนของการทำงานสเกลในโปรแกรมตกแต่งภาพถ่ายที่ใช้อยู่ได้บ้าง (เนื้อหานี้ยกตัวอย่างเครื่องมือมาจากโปรแกรม Lightroom CC และ Photoshop CC ครับ)

8432462783_f4d2564682_k

Kodak Portra 160 [ที่มา]

7408985592_acc372ad33_k

Kodak Gold 200 [ที่มา]

จินตนาการสำคัญพอๆกับความรู้นะ!

คงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากหากผู้เรียนมีแต่ความต้องการอยากทำสิ่งนั้นสิ่งนี้แต่กลับไม่มีความรู้ความชำนาญในเครื่องมือที่ใช้งานเลย ดังนั้นการกำหนดเป้าหมายสุดท้ายด้วยจินตนาการที่แจ่มชัดจากนั้นค่อยๆเดินตามความคิดเหล่านั้นอย่างมั่นคงด้วยทักษะประสบการณ์จากการฝึกฝนและการลองผิดลองถูกจะช่วยให้ผลงานออกมาตรงอย่างที่ใจต้องการมากขึ้นครับ

ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือคร่าวๆในการตกแต่งภาพแบบฟิล์ม

ฮิสโตแกรมของภาพถ่าย (Lightroom & Photoshop)

ฮิสโตแกรมคือแผนภูมิที่บ่งบอกปริมาณของสีที่ปรากฏอยู่ในช่วงแสงที่กล้องสามารถบันทึกได้ การอ่านพฤติกรรมสีได้อย่างแตกฉานจะช่วยให้การตกแต่งภาพนั้นง่ายขึ้นมาก (ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักจะละเลยเรื่องตรงนี้) และฮิสโตแกรมยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดสู่การตกแต่งภาพขั้นสูง ซึ่งแน่นอนว่ารวมไปถึงภาพถ่ายฟิล์มนี้ด้วย

เส้นเคิร์ฟ (Lightroom & Photoshop) 

เป็นเครื่องมืออีกตัวที่สำคัญซึ่งต้องใช้ความสามารถในการอ่านฮิสโตแกรมด้วยเช่นกัน โดยที่เครื่องมือดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมที่ด้านในกรอบนั้นบรรจุเอาข้อมูลฮิสโตแกรมแทรกไว้ลางๆ จากนั้นจะใช้เส้นทะแยงในการควบคุมพร้อมๆกับรักษาระดับความสมดุลของภาพเอาไว้

filmCurve-300x229@2x

เส้นเคิร์ฟกำหนดน้ำหนักภาพ

histogram

rgbCurve-940x367@2x

เส้นเคิร์ฟสำหรับการควบคุมแชนเนลสี RGB

วงล้อสี (ความรู้ทั่วไป)

สีที่ผู้เรียนใช้ทำงานบนจอมอนิเตอร์เป็นลักษณะของสีที่รวมตัวกันแบบบวก (สีทุกสีรวมกันแล้วได้สีขาว) การทำความเข้าใจของวงล้อสีที่เกิดขึ้นและคู่สีต่างๆจะช่วยให้เข้าใจการทำงานของเครื่องมือทั้งหมดที่เกี่ยวข้องด้วย หากสนใจสามารถอ่านต่อได้ที่นี่ >> “ทฤษฎีสีและสีในเชิงสัญลักษณ์

การตกแต่งภาพนั้นผู้เรียนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสีเป็นอย่างดี

การเพิ่มคลื่นสัญญาณรบกวนหรือเม็ดเกรน (Lightroom & Photoshop)

ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากได้สีและอารมณ์ภาพที่ตรงกับความต้องการเรียบร้อยแล้วก็มาถึงการใส่เม็ดเกรนซึ่งเป็นเอกลักษณ์แบบกล้องฟิล์มโดยที่ทั้งใน Lightroom CC และ Photoshop CC ต่างก็มีเครื่องมือสำหรับการใช้งานส่วนนี้ไว้โดยเฉพาะเพียงแต่ใน Photoshop เราจะมีอิสระในการใส่มากกว่าจากคุณสมบัติเรื่องเลเยอร์นะครับ

_DSF8697_film

เม็ดเกรนทำให้ภาพดูหยาบแต่ก็ละเอียดคล้ายฟิล์มมากขึ้น
Cr : Pongphop Chuanasa

ความรู้และความขยันฝึกฝนพร้อมกับการทำความเข้าใจพฤติกรรมต่างๆเพื่อเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนจากภาพถ่ายที่หลากหลายจะช่วยให้ผู้เรียนขยายขีดความสามารถได้เท่าทันจินตนาการอย่างไม่สิ้นสุด อย่าลืมฝึกฝนและหมั่นเรียนรู้เครื่องมืออื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ อย่าง Color Balance, Channel Mixer และอื่นๆใน Photoshop หรือ Split Toning และ Camera Calibration ใน Lightroom CC เพราะเครื่องมือพวกนี้ก็ประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายเช่นเดียวกันครับ สำหรับผู้ที่สนใจหลักสูตรของเราก็เข้าอ่านรายละเอียดได้ที่หลักสูตรที่เปิดสอนนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า