มือใหม่เริ่มถ่ายภาพควรรู้อะไรบ้าง

ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกภาพได้แพร่ขยายไปยังกลุ่มผู้ใช้อย่างกว้างขวางทำให้การถ่ายภาพเป็นเรื่องที่ใครๆก็ทำได้ แต่ถึงอย่างนั้นคำว่า ‘ช่างภาพ’ ที่ถ่ายภาพได้สวยงามล้ำลึกก็ยังห่างไกลกับช่างภาพที่ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกเพื่อการผ่อนคลายอยู่ดี คำถามก็คือแล้วอะไรทำให้คนเหล่านี้ต่างไปจากช่างภาพทั่วไป แล้วคนที่กำลังเริ่มถ่ายภาพควรรู้อะไรบ้างเพื่อก้าวไปสู่จุดนั้นได้อย่างมีทิศทาง บทความนี้จะเป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้ที่กำลังสนใจตั้งแต่ยังไม่มีกล้องไปจนถึงเริ่มถ่ายภาพเลยทีเดียว

ระบบของกล้องถ่ายภาพดิจิตอล

กล้องถ่ายภาพดิจิตอลโดยหลักแล้วเป็นเรื่องของการรับแสง ไม่ว่าจะค่ายไหนก็จะมีระบบการบันทึกภาพที่คล้ายคลึงกันนั่นคือการใช้เซ็นเซอร์ในการรับแสงจากนั้นจึงมาประมวลผลเม็ดสีที่จุดต่างๆในเซ็นเซอร์ออกมาเป็นภาพ ทีนี้ปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เซ็นเซอร์รับแสงได้ดีมากหรือน้อยจึงเป็นประสิทธิภาพและอุปกรณ์ร่วมเช่นเลนส์ที่ปล่อยให้แสงผ่านได้มากหรือน้อย, การกำหนดระยะเวลาให้แสงไหลผ่าน หรือเทคโนโลยีต่างๆของค่ายผู้ผลิต ทั้งหมดนี้ถูกแยกออกเป็นสามเรื่องหลักที่ช่างภาพมือใหม่ควรรู้ นั่นคือ เรื่องของเซ็นเซอร์ (ความไวแสง, เวลาในการรับแสง ), เลนส์ (ทางยาวโฟกัส, รูรับแสง) และระบบการวัดแสงอย่างคร่าวๆ

กล้องถ่ายภาพดิจิตอล Sigma SD Quattro H กับเลนส์ Sigma 12-24mm f/4 DG HSM Art

เซ็นเซอร์รับภาพดิจิตอล

เซ็นเซอร์รับภาพดิจิตอลเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ามีหน้าที่รับแสงแล้วนำมาแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการบันทึกภาพ เซ็นเซอร์รับภาพที่มีขนาดใหญ่จะรับแสงได้ในปริมาณมากกว่าเซ็นเซอร์ขนาดเล็กกว่า แต่ทว่าคุณภาพของจุดเล็กๆ (พิกเซล) แต่ละจุดในเซ็นเซอร์รับภาพมีความสำคัญด้วยเช่นกัน

ขนาดของเซ็นเซอร์รับภาพ

เซ็นเซอร์รับภาพมีหลายขนาดให้เลือกใช้ โดยที่เซ็นเซอร์มีขนาดใหญ่จะทำให้อุปกรณ์ชิ้นนั้นมีขนาดใหญ่และราคาแพงขึ้น นอกจากนั้นก็ยังมีผลต่อคุณภาพของภาพที่บันทึกและการกำหนดระยะชัดให้กับภาพ รวมไปถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบอื่นๆอีกด้วยเช่น เซ็นเซอร์จะใช้เวลาน้อยลงในการบันทึกแสงทำให้บันทึกภาพในที่มืดได้ดีขึ้น หรือ ขนาดของเลนส์ที่ต้องใช้ก็ต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้อุปกรณ์ร่วมมีราคาแพงมากขึ้นกว่ากล้องถ่ายภาพดิจิตอลที่มีเซ็นเซอร์ขนาดเล็กกว่า

ความไวแสงของเซ็นเซอร์รับภาพ

ความไวแสงของเซ็นเซอร์รับภาพหมายถึงประสิทธิภาพที่เซ็นเซอร์รับภาพนั้นๆจะรับแสงได้ดีแค่ไหน ถ้าถูกพัฒนาให้ไวแสงมากก็มีโอกาสที่จะเก็บภาพเคลื่อนไหวสูงๆได้ง่ายกว่าเซ็นเซอร์ที่มีความไวแสงต่ำกว่า อย่างไรก็ตามในกล้องถ่ายภาพดิจิตอลจะเรียกความไวแสงว่า ISO โดยให้เราเลือกปรับเอาเองได้จากค่าน้อย (ซึ่งไวแสงน้อย) ไปจนค่าความไวแสงสูงๆ สิ่งที่ควรระวังก็คือยิ่งเซ็นเซอร์รับภาพถูกปรับความไวแสงมากขึ้น ภาพจะมีคุณภาพลดต่ำลง

เลนส์ถ่ายภาพดิจิตอล

เลนส์ถ่ายภาพดิจิตอลเกี่ยวข้องกับความสามารถในการรับรู้ด้วยลักษณะทางมุมมองในเชิงออปติก เป็นอุปกรณ์ที่มีกลไกในการสะท้อนแสงจากวัตถุมายังเซ็นเซอร์รับภาพ ซึ่งมีสิ่งที่เราสามารถปรับแต่งแก้ไขได้ในระหว่างการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนตำแหน่งหรือการซูม หรือการปรับลดขนาดช่องรูรับแสงที่ทำให้แสงผ่านเข้ามาในตัวเลนส์เพื่อวัตถุประสงค์ทางระยะชัดของภาพ

รูรับแสง

รูรับแสงหมายถึงขนาดของช่องที่แสงสามารถผ่านจากตัวเลนส์ไปยังเซ็นเซอร์รับภาพดิจิตอล ยิ่งรูรับแสงมีขนาดกว้างแสงยิ่งเข้าไปได้มากทำให้ความไวในการรับแสงของเซ็นเซอร์รับภาพเพิ่มขึ้น ‘ไอริส’ หรือ ‘ไดอะแฟรม’ คือชื่อของตัวกำหนดขนาดรูรับแสง ขนาดของรูรับแสงมีค่าเป็น 1/f หมายความว่ายิ่งค่า f น้อย รูรับแสงจะมีขนาดกว้าง ถ้าค่า f มากรูรับแสงจะแคบ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือรูรับแสงยังใช้กำหนดระยะชัดของภาพด้วย ดังนั้นจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการปรับค่าให้ดี

ทางยาวโฟกัส

หมายถึงระยะห่างใกล้ที่สุดที่เลนส์จะสามารถโฟกัสภาพได้ มีหน่วยเป็น มิลลิเมตร ให้จำง่ายๆว่ายิ่งมีทางยาวโฟกัสมากภาพจะยิ่งเหมือนถูกซูมเข้ามาเมื่อยกกล้องเล็งไปยังวัตถุชิ้นนั้น ถ้าทางยาวโฟกัสน้อยวัตถุจะดูห่างไกลออกไปมากขึ้น ทางยาวโฟกัสหรือระยะโฟกัสนี้มีชื่อเรียกในแต่ละระยะต่างกันไปเช่น เลนส์ไวด์หรือเลนส์มุมกว้างจะมีทางยาวโฟกัสต่ำ มุมรับภาพกว้างเหมาะกับถ่ายสิ่งที่ดูอลังการ หรือถ้าทางยาวโฟกัสแบบเทเล จะถ่ายภาพในระยะไกลๆให้ใกล้เข้ามาได้

กล้องมองโลกไม่เหมือนที่สายตาเราเห็นนะ

ช่วงเวลาที่เรามองเห็นทุกอย่างได้อย่างแจ่มชัดและเต็มไปด้วยรายละเอียด เมื่อลองส่องผ่านกล้องดิจิตอลแล้วความรู้สึกที่เห็นจากภาพซึ่งปรากฏในขณะนั้นกลับไม่ได้ตรงกับความเป็นจริงเลยแม้แต่น้อย นั่นก็เป็นเพราะว่าการตัดสินใจของกล้องต้องได้รับการยืนยันและต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นเนื่องจากขีดจำกัดทางเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่นการที่เราถ่ายภาพวิวแล้วท้องฟ้าหายไปหมด ไม่เหมือนกับการมองด้วยตาเปล่าซึ่งมีรายละเอียดปกติดี ทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมเราจึงต้องตกแต่งภาพ ก็เพราะว่ากล้องมองไม่เหมือนที่เรามองยังไงล่ะ

ช่วงความกว้างของการรับแสง หรือ ไดนามิกเรนจ์

ยกตัวอย่างมีกล้อง 2 ชนิด คือกล้อง A กับกล้อง B โดยที่กล้อง A สามารถเก็บสีได้เพียงสองสีเท่านั้น คือสีขาวกับสีดำ ภาพใดๆก็ตามที่กล้อง A บันทึกจะมีเพียงแค่สองสี ส่วนกล้อง B เก็บได้ 3 สี คือ ขาว-เทา-ดำ เป็นเรื่องที่ง่ายมากหากเราจะบอกว่ากล้อง B มีความสามารถในการไล่สีได้ดีกว่ากล้อง A ความสามารถในการไล่สีจากดำไปขาวนี้เราเรียกว่า ช่วงความกว้างของการรับแสง หรือ ไดนามิกเรนจ์ นั่นเองครับ

เราต้องชดเชยข้อบกพร่องในสิ่งกล้องดิจิตอลเห็น
ด้วยการตกแต่งแก้ไขภาพถ่าย นั่นคือสิ่งที่ถูกต้องแล้ว

ภาพถ่าย JPEG สามารถเก็บข้อมูลสีได้ 8 บิต เท่ากับ 2 ยกกำลัง 8 คือ 256 ช่อง (0-255) หมายความว่าจะเก็บสีตั้งแต่ดำไปขาวได้ 256 ช่อง คูณเข้ากับแสงในแต่ละแชนเนลคือ แดง, เขียว และน้ำเงิน ทำให้ได้สีสันจำนวนมาก แต่นั่นก็เป็นเพียงความรู้เบื้องต้นในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเนียนของโทนในภาพ

การวัดแสงของกล้องดิจิตอล

กล้องถ่ายภาพดิจิตอลพยายามที่จะทำให้ภาพที่เรากำลังบันทึกได้รับแสงที่พอดีตลอดเวลา คำว่า “พอดี” ไม่ได้แปลว่าถูกต้อง เพราะมันจะพยายามทำให้แสงที่สว่างมากเกินไปอย่างเช่นสีขาวหรือมืดมากจนเป็นสีดำกลายเป็นสีเทา เราจึงต้องเป็นคนกำหนดว่าภาพนั้นควรจะมืดหรือดำด้วยการชดเชยแสง หรือพูดง่ายๆว่าปรับเพิ่มให้สว่างขึ้นหรือมืดลง

โหมดการวัดแสงของกล้องดิจิตอลโดยหลักยกตัวอย่างเช่น การวัดแสงเฉพาะจุด (Spot Metering) ที่หมายถึงกล้องจะวัดแสงเฉพาะวัตถุหรือจุดเล็กๆตรงกลางเท่านั้น หรือ การวัดแสงเฉลี่ยกลาง (Matrix Metering หรือ Evaluate Metering) ที่คำนวนเอาแสงโดยรวมทั้งภาพมาหาค่าเฉลี่ย สังเกตได้ว่าไม่ว่าจะวัดแสงแบบใดก็ไม่ได้ให้ความถูกต้องที่แท้จริงเลยของแสงในภาพ

ฮิสโตแกรมของภาพถ่าย

ฮิสโตแกรมของภาพถ่ายมีลักษณะเป็นกราฟแท่งเรียงกันเพื่อแสดงปริมาณข้อมูลพิกเซลแสงในช่วงต่างๆของภาพไล่จากดำไปขาว ถ้าหลุดมากไปทางซ้ายเราจะเรียกว่ารายละเอียดส่วนนั้นมืดมากเกินจนไม่มีรายละเอียดหรือถ้าหลุดไปทางซ้ายเป็นสีขาวที่ไม่มีรายละเอียด

ความเข้าใจในหลักการจัดวางองค์ประกอบภาพ

คำกล่าวที่ว่า “เมื่อเทคโนโลยีในการบันทึกภาพมาถึงจุดที่เท่าเทียมกัน ภาพถ่ายจะวัดกันที่มุมมอง” เป็นความลุ่มลึกของทัศนคติการมองโลกที่สะท้อนออกมาจากช่างภาพหรือประสบการณ์รวมไปถึงเจตนาในการสื่อสาร ช่างภาพที่มีความเข้าใจในจิตวิทยาไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติความชอบไม่ชอบของมนุษย์ การแสดงออกของความรู้สึกเมื่อได้ชมสีสันเส้นสาย หรือการวางตำแหน่งอย่างจงใจในภาพล้วนมีที่มาที่ไปให้ได้ศึกษา เป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของอารมณ์ทั้งหมดในภาพซึ่งพิสูจน์ได้ในทางวิทยาศาสตร์ ล้วนไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด

การวางวัตถุที่โดดเด่นไว้กลางภาพ
เป็นการจัดองค์ประกอบที่เรามักเห็นได้โดยทั่วไป

หลักการทางจิตวิทยา

ช่างภาพที่เรียนรู้หลักการทางจิตวิทยาเกี่ยวกับอารมณ์เมื่อมนุษย์แสดงออกเมื่อมองเห็นสีสันหรือความหนักเบาของรายละเอียดในภาพ รวมไปถึงการกำหนดทิศทางของอารมณ์ในภาพได้อย่างชำนาญ และรู้ว่ามนุษย์โดยส่วนใหญ่มีความรู้สึกสามัญพื้นฐานต่อสิ่งต่างๆอย่างไร อาทิ ความรู้สึกรัก, อิจฉา, มีความสุข, หรือ โกรธ เป็นต้น ย่อมที่จะเข้าถึงการสร้างสรรค์ผลงานที่ทำให้คนส่วนใหญ่ยอมรับได้ง่าย

สีเหลืองท่ามกลางสีน้ำเงินรวมไปถึงเส้นที่วิ่งเข้าหาแบบ
ช่วยให้คนชมภาพโฟกัสง่ายขึ้น

เหตุและผลทางวิทยาศาสตร์

สิ่งที่อยู่เหนือหลักการแท้จริงแล้วสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น ศิลปินที่เข้าใจสัดส่วนร่างกายของมนุษย์โดยธรรมชาติ ย่อมที่จะวาดภาพมนุษย์ได้สมจริงกว่าศิลปินที่ไม่รู้ความจริงข้อนี้ หรือจุดกำเนิดทั้งหมดของกฏการจัดองค์ประกอบที่มาจากสัดส่วนทองคำหรือมาจากความนิยมของศิลปินในแต่ละยุคซึ่งมีกฏการจัดองค์ประกอบแบบพิเศษที่พิสูจน์ได้ในทางทฤษฎี

การเรียนรู้ที่มาที่ไปรวมไปถึงการพิสูจน์สิ่งต่างๆ
โดยการนำหลักการเหตุและผลอย่างคณิตศาสตร์สัดส่วน
เข้ามาช่วย ทำให้เราทราบที่มาที่ไปและการประยุกต์ใช้ได้ดีขึ้น

ความสามารถในการแก้ไขตกแต่งภาพถ่ายดิจิตอล

การตกแต่งภาพถ่ายนั้นมีความหมายครอบคลุมไปตั้งแต่การเลือกตั้งค่ากล้องไปจนถึงการใช้โปรแกรมตกแต่งแก้ไขภาพซึ่งจะทำได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของช่างภาพแต่ละคน เช่นการรู้ว่าภาพควรมีความคมชัดแค่ไหนเมื่อต้องส่งให้ดูทางอีเมล์หรือสั่งพิมพ์ (ซึ่งไม่เหมือนกัน) ความแม่นยำในการแก้ไขสีสันของภาพให้ตรงตามจินตนาการ เรียกว่าถ้าจินตนาการได้แต่ทักษะไม่ถึงก็จะทำให้ภาพถ่ายของเราไปไม่ถึงในจุดที่คาดหวังเอาไว้อย่างแน่นอน

เราต้องสูญเสียอะไรไปมากมายกว่าจะมาสิ้นสุดที่งานพิมพ์

การตกแต่งแก้ไขด้วยแอพพลิเคชั่นมือถือ

ปัจจุบันแอพพลิชั่นมือถือนั้นเปิดให้แก้ไขไฟล์ภาพในระดับเดียวกันกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้ความสามารถในการประมวลผลสูง อีกทั้งยังง่ายและพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกกว่ามาก แต่ก็ต้องใช้มือถือที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งในอนาคตทุกอย่างจะง่ายและแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างแอพพลิเคชั่นเช่น Snapseed, VSCO และอื่นๆอีกมากมาย

ภาพหน้าจอแอพพลิเคชั่น Snapseed บน iOS

การตกแต่งแก้ไขด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

สำหรับช่างภาพมือสมัครเล่นในปัจจุบันถ้าต้องการแก้ไขตกแต่งภาพในระดับที่สูงขึ้นอย่างการแก้ไขไฟล์ภาพดิบ (RAW) ยังไงก็คงไม่พ้นการใช้โปรแกรมแก้ไขของมืออาชีพโดยเฉพาะเช่น Adobe Lightroom CC, ปลั๊กอิน Adobe Camera RAW ใน Adobe Photoshop CC, Capture One Pro, Iridient Developer หรือ Sigma PhotoPro (สำหรับไฟล์กล้องจาก Sigma) โปรแกรมที่กล่าวมาดังกล่าวนี้เอื้อประโยชน์ในการแก้ไขภาพให้กับผู้แก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรแกรม Adobe Lightroom CC

การถ่ายภาพคือวิธีการสื่อสารอย่างหนึ่ง

เริ่มต้นจากการที่ผู้เรียนกำลังมือหาอะไรที่น่าสนใจสักอย่างเพื่อบันทึกภาพ เช่น จังหวะที่นกกำลังบินมาโฉบเอาเหยื่อซึ่งกำลังเดินอยู่บนพื้น การมองหาจังหวะบันทึกให้ได้ช่วงเวลาที่ดีที่สุด จากนั้นจึงนำไปตกแต่งต่อเพื่อแสดงถึงสัญชาตญาณของสัตว์ในภาพด้วยเลนส์ในทางยาวที่เหมาะสม จนไปถึงการสั่งพิมพ์ภาพหรืออัปโหลดขึ้นบนสื่อออนไลน์ สิ่งสุดท้ายที่จะตัดสินได้ว่าดีหรือไม่ดีนั้นเป็นเรื่องที่ภาพสามารถสื่อสารอารมณ์เหล่านั้นได้อย่างตรงไปตรงมาหรือไม่ ทักษะในการถ่ายทอดเช่นการตกแต่งภาพถ่าย, มุมกล้อง, และอื่นๆคือส่วนประกอบที่ทำให้คุณค่าของภาพเหล่านั้นชัดเจนขึ้นมา

ผู้บันทึกภาพนั้นเป็นบุคคลสำคัญต่อกระบวนการทั้งหมด
ตั้งแต่การเริ่มบันทึกภาพไปจนถึงผลลัพธ์สุดท้ายของภาพถ่าย

การเริ่มต้นได้เป็นอย่างดีช่วยให้กระบวนการถัดมาง่ายขึ้นมาก

จะเห็นได้ว่ามีปัจจัยรบกวนมากมายพร้อมจะทำให้ภาพถ่ายของเราไปไม่ถึงฝัน เช่น ไม่รู้ว่าจะตั้งค่ากล้องยังไงเพื่อให้จับภาพด้วยความเร็วขนาดนั้นได้ ไหนจะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบไฟล์ภาพหรือการตกแต่งด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของสีและอื่นๆอีรุงตุงนังไปหมด การเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก

หลักสูตรถ่ายภาพและตกแต่งภาพถ่ายออนไลน์จาก DozzDIY

หลักสูตรคุณภาพเรียนจากเว็บไซต์และคลิปวิดีโอ
เรามีการจัดสารบัญเนื้อไว้ให้อย่างชัดเจนเป็นขั้นตอน ได้ผลลัพธ์จริง
กรุณาติดต่อทางเพจ facebook.com/dozzdiy หรือทาง LineID : @DozzDIY
โทรศัพท์ : 08-8753-5742, 08-7730-0981 และ 08-0782-4423 ตั้งแต่เวลา 6:00 – 22:00 น ทุกวันไม่มีวันหยุด

The Art of Composition
เข้าเรียนเฉพาะผู้เรียนระบบเก่า
แก่นแท้ของการจัดองค์ประกอบจากหลักจิตวิทยามนุษย์

Mobile Photography
แนะนำหลักสูตร | เข้าเรียน
ติดต่อ ‘เพจ‘ เท่านั้น
หลักสูตร ‘ถ่ายภาพสวยด้วยมือถือ’
สำหรับการถ่ายภาพด้วยมือถือ

Color Theory in Digital Photography
(ติดต่อเพจเท่านั้น)
หลักสูตรทฤษฎีสีในการถ่ายภาพดิจิตอล 

เมื่อเราวางแผนหาปัจจัยที่จำเป็นเพื่อก้าวไปสู่สิ่งที่ต้องการโดยจำแนกถึงความรู้ในการพัฒนาตัวเองจึงเรียกว่าเป็นการเรียนถอยหลัง เราอาจจะเริ่มจากการวางเป้าหมายง่ายๆสักอย่างแล้วกระจายแผนผังสิ่งที่แตกย่อยลงมา เรียกว่าการศึกษาทักษะย่อยเพื่อไปยังทักษะใหญ่ หลักการนี้ใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพมากในการเรียนรู้ศาสตร์ทุกแขนงดังที่กล่าวไว้ในตัวอย่างต่างๆจากบทความนี้ครับ

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

ฝึกฝนนิสัยถ่ายภาพด้วยเลนส์ไพร์ม

สิ่งที่ได้จากการใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวไปสักระยะจะส่งผลต่อช่างภาพมือใหม่เพื่อฝึกฝนความอดทนและทลายขีดจำกัดของเลนส์ตัวนั้นได้อย่างไร เราจะได้เจาะลึกถึงการเติบโตด้วยข้อจำกัดเหล่านี้กัน

จัดการน้อยส์อย่างมีประสิทธิภาพสูง

หลายครั้งที่คุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์อย่าง Denoise ปิดกั้นหนทางลดน้อยส์เกินไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะลดน้อยส์ด้วยธีที่ละเอียดมากกว่าอย่าง Manual Noise Reduction

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า