ถ่ายภาพมาเป็นปี แต่ทำไมมันยังไม่ดีสักที

 

คิดว่าหลายท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้คงจะเคยอยู่ในจุดที่เจ็บปวดเมื่อตอนเริ่มต้นถ่ายภาพไปได้สักระยะหนึ่ง หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่า “เอ้ กล้องเราก็แพงนี่หว่า แต่ทำไมภาพออกมาไม่ได้ดั่งใจเลย” หรือ “ เราตั้งค่าตามเขาแล้วนี่นา ทำไมภาพออกมาไม่สวยเท่าเขาละ”  นั้นอาจจะเป็นเพราะเราไม่เข้าใจกระบวนการทั้งหมดของการถ่ายภาพ

 

ภาพที่สวย ภาพที่ดี เป็นอย่างไรกันล่ะ?

ก่อนจะเริ่มอ่านไปยังหัวข้อต่อๆไป ตัวผมเองอยากจะทำความเข้าใจกับผู้อ่านทุกท่านถึงคำว่า ภาพสวย ภาพดี นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าช่างภาพหลายๆคนให้คำนิยามแตกต่างกันออกไปอย่างเช่น ผู้ก่อตั้งของ dozzdiy.com มีความเห็นว่า “ความสวยของภาพถ่าย หมายถึงความสมบูรณ์ในแบบของวัตถุรูปทรง เส้นสาย สีสันเป็นรูปธรรมโดยหลัก สัมผัสได้ด้วยผัสสะขั้นพื้นฐานของมนุษย์” ส่วนของตัวผู้เขียนเองนั้นมองว่า “ภาพที่ดีคือภาพที่ผู้ถ่ายหรือผู้จ้างวานให้ถ่ายนั้นพอใจ” ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับเราแล้วว่าจะต้องการให้ภาพของเราเป็นเช่นไร

 


กระบวนการบันทึกภาพ

แน่นอนว่าสิ่งนี้เป็นกระบวนการแรกเริ่มสุด การบันทึกภาพให้ดี ให้ได้ดั่งใจอาจจะเริ่มตั้งแต่เรามีกล้องที่ดี เมื่อมีกล้องที่เปรียบเสมือนอาวุธแล้ว หากคุณไม่มีความรู้ความเข้าใจในการใช้งาน กล้องในมือคุณอาจจะไร้ประโยชน์ไปเลยทีเดียว แน่นอนผมต้องการจะสื่อว่า “การควบคุมและใช้งานกล้อง” นั้นเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆของการถ่ายภาพ

นอกเหนือจากการควบคุมกล้องแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ ศิลป์ ฟังดูยากใช่ไหมละ แน่นอนว่าว่าการที่คุณมีความรู้เรื่องศิลปะในการถ่ายภาพ ( การจัดองค์ประกอบของภาพ, การบอกเล่าเรื่องราว หรือ จิตวิทยาของสี ฯลฯ) ก็จะช่วยให้ภาพของคุณดีขึ้น

การควบคุมกล้องที่ดี ย่อมส่งผลให้เราสามารถใช้งานกล้องได้เต็มประสิทธิภาพ


กระบวนการปรับแต่ง

พอถึงหัวข้อนี้หลายคนอาจจะอุทานในใจว่า “อ้าวเห้ย ในเมื่อภาพที่ดีแล้วจะปรับแต่งไปทำไม (อีกวะ)” เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจส่วนบุคคลว่าอยากจะทำอะไรกับภาพที่เราถ่ายมาแล้ว บางคนอาจจะพอใจกับภาพที่ถ่ายมาหรือสำหรับคนที่มองเห็นข้อบกพร่องก็นำภาพเข้าสู่กระบวนการการแก้ไขหรือตกแต่งต่อไป

จากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนนั้นพบว่า ภาพแทบทุกภาพที่ถ่ายมาจะมีข้อบกพร่องเล็กๆน้อยๆ  อาจเป็นเพราะว่าเราไม่ใส่ใจรายละเอียดมากพอ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่มีตั้งแต่ เม็ดฝุ่นอยู่ในภาพถ่าย ถ่ายภาพแล้วออกมาเอียง หรือบางครั้งก็มืดเกินไป แต่หากเราทราบกระบวนการแก้ไขและตกแต่งรูปภาพ ก็จะเสริมในส่วนของตรงนี้ได้

 


กระบวนการส่งออก

นอกจาการบันทึกภาพ การปรับแต่ง เเล้ว กระบวนการส่งออกภาพเราไปยังสื่อต่างๆอย่าเช่น Facebook หรือ Instragram หรือแม้กระทั้งบนเว็บไซต์เองนั้น เราต้องทำความเข้าใจว่าแต่ละช่องทางไม่เหมือนกัน ในสมัยก่อนเทคโนโลยีการพิมพ์ภาพนั้นเราจะต้องเลือกสรรตั้งแต่กระดาษจนถึงสีที่ใช้ในการพิมพ์ ปัจจุบันก็เปลี่ยนไปกลายเป็นช่องทางต่างๆแทน ไม่ว่าเราจะถ่ายภาพมาดีแค่ไหนหากเราไม่ทราบถึงขั้นตอนนี้ ภาพที่ดีอาจจะกลายเป็นภาพที่ดูแย่ไปเลยละ


ศาสตร์และศิลป์คือสิ่งจำเป็น

จากข้างต้นเราคงสรุปได้ว่าการถ่ายภาพที่ดีนั้นควรมีทั้งศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์คือความเข้าใจในกระบวนการแก้ไขรูปภาพ ตกแต่งเนรมิตรมันตามที่ใจเราต้องการ การควบคุมกล้องให้เป็นไปดั่งใจคิด ส่วนศิลป์คือการรู้ถึงหลักของศิลปะที่นำมาประกอบในภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดองค์ประกอบ แสง หรือแม้กระทั้งเรื่องสี หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ว่าจะศาสตร์หรือศิลป์ ผลลัพธ์ของภาพถ่ายอาจจะออกมาไม่ได้ดั่งที่เราต้องการมากนัก

[bsa_pro_ad_space id=8]

SaveSave

SaveSaveSaveSave

SaveSave

SaveSave

SaveSave

SaveSave

SaveSave

บทความที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้
‘I’ Series เลนส์คุณภาพสูงขนาดเล็กจาก Sigma

เลนส์อนุกรม Contemporary ในซีรี่ย์​ ‘I’ ที่มุ่งเน้นไปยังศักยภาพรอบด้านแบบยกระดับการทำเลนส์เท่าที่ Sigma มีมา นี่คือก้าวสำคัญของเลนส์ยุคใหม่ที่ ‘ขนาด’ คือตัวแปรสำคัญในการเลือกใช้ในทุกๆวัน

Documentary Learning การเรียนการสอนแบบใหม่ในปี 2021

DozzDIY ผลิตเนื้อหาและสื่อการสอนออนไลน์ในวิชาที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพนิ่งมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2557 มีช่างภาพมากฝีมือเกิดขึ้นมามายจากที่นี่ ด้วยสื่อการสอนที่มีการปรับปรุงและรับผิดชอบต่อผู้เรียนทุกท่านเสมอมา

8 เรื่องใหม่ใน Lightroom Classic อัปเดต มิ.ย. 63

ในฐานะที่ DozzDIY เราเปิดหลักสูตรสอนโปรแกรม Adobe Lightroom Classic CC (ตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีคำว่า Classic ต่อท้าย) จนมาถึงตอนนี้ก็ถือว่าเป็นอัปเดตที่มากกว่าการอัปเดตก่อนหน้าพอสมควร เป็นเหตุผลที่ดีสำหรับผู้เรียนทุกท่านที่ลงเรียนกับเราจะต้องรู้ว่าอะไรมาใหม่และส่วนใดที่ช่วยให้งานตกแต่งภาพถ่ายของเราดีขึ้นได้บ้าง อัปเดต มิ.ย. 63 นี้มี 8 สิ่งที่ต้องทราบดังที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ครับ

ร้านค้าออนไลน์ภายใต้ชื่อผู้ก่อตั้ง ‘Dozzo Flamenco’ ที่นี่จะมีผลิตภัณฑ์สื่อการสอนและเทรนนิ่งคลาสระดับคุณภาพเท่านั้น

บทความล่าสุด >>
เกรนกับความคมชัดของภาพถ่าย

ถ้าเพิ่มเกรนน้อยเกินไปภาพก็ดูเหมือนจะไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้าใส่มากเกินไปภาพก็แข็งกระด้าง ดังนั้นควรมีเกรนในปริมาณเท่าใดในภาพจึงจะช่วยให้ภาพดูดีขึ้น และใช่ เรากำลังพูดถึงเกรนในมุมที่เกี่ยวข้องกับความคมชัดของภาพถ่ายครับ

การใช้งานคู่สีตรงข้าม

เรื่องของคู่สีรายล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา และ ‘คู่สีตรงข้าม’ (Complementary Colors) ก็จัดว่าเป็นการเข้าคู่ที่รุนแรงและทรงพลังอย่างมาก หากจะหยิบมาเพื่อใช้งานต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เชิงลบบางประการจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า